รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล
ประธานศูนย์เบาหวานศิริราช
เชื่อมั้ย โรคเบาหวานเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย
เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และมีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย
จากข้อมูลล่าสุดของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ พบว่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกยังเพิ่มขึ้น ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 371 ล้านคน รวมถึงประเทศไทย และที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่านั้นไม่พอ ยังพบในคนอายุน้อยลง น้อยที่สุดเป็นเด็กอายุ 2-3 เดือน และเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พบในผู้ใหญ่ ปัจจุบันกลับพบในเด็กวัย 8-9 ขวบที่น้ำหนักเกิน ซึ่ง 1 ใน 3 ของเด็กและวัยรุ่นที่อ้วน พบว่า เริ่มมีการเผาผลาญน้ำตาลผิดปกติ และตรวจพบระดับน้ำตาลสูงเข้าเกณฑ์เป็นเบาหวานร้อยละ 4 ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แสดงอาการ คาดว่าหากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี 2573 ผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นประชากรในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา
ดังที่ทราบโดยทั่วกันว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดำรงชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคบาหวานสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลสุขภาพตนเอง อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกิน ดำรงชีวิตด้วยหลัก “3 อ.2 ส.”
1. อ.แรก อาหาร เลือกรับประทานอาหารไม่หวานจัด มันน้อย เค็มน้อย รับประทานปริมาณเหมาะสมมีผักและผลไม้พอเหมาะ ตามพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ในผู้ใหญ่ 1,600-2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน และในเด็ก จำนวนพลังงานจะสัมพันธ์กับอายุ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
2. อ.สอง ออกกำลังกาย ประมาณ 50-60 นาที อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์
3. อ.สาม อารมณ์ ไม่ตึงเครียด จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ทำจิตให้สงบ มีสมาธิ
4. ส.แรก งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่
5. ส.สอง งดดื่มสุรา
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงแนะนำ ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ถ้าน้ำหนักเกิน ให้ลดลง 5-10% ของน้ำหนักเดิม ปฏิบัติตาม “3 อ.2 ส.” และควรตรวจหาว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ทุกปี เพราะการรักษาระยะเริ่มแรกทำได้ง่าย และเมื่อควบคุมได้จะเกิดประโยชน์สูงสุดคือ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องทำความรู้จักและเข้าใจโรค ปฏิบัติตาม “3 อ.2 ส.” โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ ด้วยการใช้ยากินและการฉีดอินซูลินควบคู่ไปกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและไม่ประมาท รวมถึงควรตรวจประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ให้เกิดความเข้าใจค่าระดับน้ำตาลปกติ-สูง-ต่ำที่เกิดตามมาหลังกินอาหาร หรือทำกิจกรรมบางอย่างหรือทั้งสองอย่าง ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
ตรงกันข้ามหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในระยะยาวจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ อันนำไปสู่ภาวะแทรก ซ้อนที่เกิดกับตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือที่เท้ารวมทั้งแผลเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความพิการทาง ร่างกายและผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และที่รุนแรงกว่านั้นคือ การสูญเสียชีวิต
-------------------------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
27-29 พ.ย.นี้ ศูนย์บริรักษ์ศิริราช ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจเข้าร่วมงาน Siriraj
Palliative Care Day 2013 “การดูแลระยะท้าย : คุณค่าเหนือความคาดหมาย” ที่ห้องราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 รพ.ศิริราช และร่วมฟัง “ปาฏิหาริย์แห่งการเยียวยา” โดย แม่ชี ศันสนีย์ เสถียรสุต (29 พ.ย. 10.00-12.00 น.) สอบถาม โทร.02419 9679-80
27 พ.ย.นี้ ขอเชิญร่วมแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด ในพิธีมอบรางวัลปาฐกถาสุด
แสงวิเชียร พร้อมฟังการบรรยาย “Proteomics ; นักวิจัยสู่เวทีโลก” เวลา 13.30-15.00 น.ที่ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช
ประธานศูนย์เบาหวานศิริราช
เชื่อมั้ย โรคเบาหวานเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย
เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และมีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย
จากข้อมูลล่าสุดของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ พบว่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกยังเพิ่มขึ้น ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 371 ล้านคน รวมถึงประเทศไทย และที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่านั้นไม่พอ ยังพบในคนอายุน้อยลง น้อยที่สุดเป็นเด็กอายุ 2-3 เดือน และเบาหวานชนิดที่ 2 ที่พบในผู้ใหญ่ ปัจจุบันกลับพบในเด็กวัย 8-9 ขวบที่น้ำหนักเกิน ซึ่ง 1 ใน 3 ของเด็กและวัยรุ่นที่อ้วน พบว่า เริ่มมีการเผาผลาญน้ำตาลผิดปกติ และตรวจพบระดับน้ำตาลสูงเข้าเกณฑ์เป็นเบาหวานร้อยละ 4 ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แสดงอาการ คาดว่าหากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี 2573 ผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 552 ล้านคน โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นประชากรในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา
ดังที่ทราบโดยทั่วกันว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดำรงชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม โรคบาหวานสามารถป้องกันได้ โดยการดูแลสุขภาพตนเอง อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกิน ดำรงชีวิตด้วยหลัก “3 อ.2 ส.”
1. อ.แรก อาหาร เลือกรับประทานอาหารไม่หวานจัด มันน้อย เค็มน้อย รับประทานปริมาณเหมาะสมมีผักและผลไม้พอเหมาะ ตามพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ในผู้ใหญ่ 1,600-2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน และในเด็ก จำนวนพลังงานจะสัมพันธ์กับอายุ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
2. อ.สอง ออกกำลังกาย ประมาณ 50-60 นาที อย่างน้อย 3 วัน ต่อสัปดาห์ หรือให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์
3. อ.สาม อารมณ์ ไม่ตึงเครียด จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ทำจิตให้สงบ มีสมาธิ
4. ส.แรก งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงจากสถานที่ที่มีควันบุหรี่
5. ส.สอง งดดื่มสุรา
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงแนะนำ ควบคุมน้ำหนักให้คงที่ ถ้าน้ำหนักเกิน ให้ลดลง 5-10% ของน้ำหนักเดิม ปฏิบัติตาม “3 อ.2 ส.” และควรตรวจหาว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ทุกปี เพราะการรักษาระยะเริ่มแรกทำได้ง่าย และเมื่อควบคุมได้จะเกิดประโยชน์สูงสุดคือ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องทำความรู้จักและเข้าใจโรค ปฏิบัติตาม “3 อ.2 ส.” โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ ด้วยการใช้ยากินและการฉีดอินซูลินควบคู่ไปกับการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและไม่ประมาท รวมถึงควรตรวจประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ ให้เกิดความเข้าใจค่าระดับน้ำตาลปกติ-สูง-ต่ำที่เกิดตามมาหลังกินอาหาร หรือทำกิจกรรมบางอย่างหรือทั้งสองอย่าง ทำให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
ตรงกันข้ามหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในระยะยาวจะส่งผลต่อเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนปลาย และอวัยวะอื่นๆ อันนำไปสู่ภาวะแทรก ซ้อนที่เกิดกับตา ไต เส้นประสาทและสมอง หัวใจ หรือที่เท้ารวมทั้งแผลเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความพิการทาง ร่างกายและผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และที่รุนแรงกว่านั้นคือ การสูญเสียชีวิต
-------------------------------------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
27-29 พ.ย.นี้ ศูนย์บริรักษ์ศิริราช ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์และผู้สนใจเข้าร่วมงาน Siriraj
Palliative Care Day 2013 “การดูแลระยะท้าย : คุณค่าเหนือความคาดหมาย” ที่ห้องราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 รพ.ศิริราช และร่วมฟัง “ปาฏิหาริย์แห่งการเยียวยา” โดย แม่ชี ศันสนีย์ เสถียรสุต (29 พ.ย. 10.00-12.00 น.) สอบถาม โทร.02419 9679-80
27 พ.ย.นี้ ขอเชิญร่วมแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด ในพิธีมอบรางวัลปาฐกถาสุด
แสงวิเชียร พร้อมฟังการบรรยาย “Proteomics ; นักวิจัยสู่เวทีโลก” เวลา 13.30-15.00 น.ที่ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช