คนไทยไม่ปลื้มหวยรัฐบาล 4 ปัจจัย ระบุมีปัญหาการสร้างภาพลักษณ์ต่อประชาชน โดยเฉพาะความโปร่งใส แนะควรนำกำไรไปทำประโยชน์มากกว่าเดิม
วันนี้ (18 พ.ย.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน จัดเวทีเสวนา “ทำไมต้องปฏิรูปสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสลากเพื่อสังคม?” ทั้งนี้ภายในงานได้มีการเปิดตัว “เครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายลอตเตอรี ภาคีเครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว และภาคประชาสังคมต่างๆ จาก 4 ภาคทั่วประเทศ ที่มีเจตนารมณ์ร่วมให้เกิดการปฏิรูประบบสลากในปัจจุบันเป็นสลากเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก เปิดเผยผลสำรวจเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาเรื่อง “10 คำถามคนไทยคิดอย่างไรกับหวย” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,746 ราย จากทุกภาคทั่วประเทศ พบว่ารายได้จากการขายสลากที่เข้ารัฐส่วนใหญ่มาจากเงินผู้ที่มีรายน้อยถึงปานกลาง ถึง 96.3% และปัญหาที่คนไม่พอใจมากที่สุด คือ สลากแพง รองลงมา การใช้สำนักงานสลากฯ เป็นแหล่งแสวงประโยชน์ของนักการเมือง อันดับ 3ความไม่โปร่งใสในการบริหารงานของสำนักงานสลากฯ และสุดท้ายคือความคลางแคลงใจเรื่องหวยล็อก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมองว่าระบบการขายสลากผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่เรียกว่า “ยี่ปั๊วซาปั๊ว” เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สลากแพง และสำนักงานสลากฯคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยกลุ่มตัวอย่างถึง 70.5% เชื่อว่าหวยล็อกได้ และ 67.8% ไม่เห็นด้วยกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของกองสลาก เช่น หวยออนไลน์ หวยกีฬา ฯลฯ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเพิ่มการมอมเมาประชาชนให้หวังลมๆแล้งๆ กับการพนัน และไม่เชื่อว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกแก่ส่วนรวม หากแต่จะเป็นการอาศัยกิจการสลากแสวงประโยชน์แก่บุคคลบางกลุ่ม ซึ่งคงไม่พ้นนักการเมืองและกลุ่มผู้มีอิทธิพล ดังนั้นผลสำรวจสะท้อนชัดว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีปัญหาด้านภาพลักษณ์ในสายตาประชาชน โดยเฉพาะความไม่โปร่งใส ขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา และยังขาดความน่าเชื่อถือเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหวยแพงคำถามคือ เพราะเหตุใดที่ผ่านมาหลายสิบปีปัญหานี้จึงแก้ไม่ตก เป็นปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงาน การขายขาดไม่รับคืน หรือปัญหาด้านความละเลยเพิกเฉย เพราะได้ประโยชน์จากการที่สลากแพง หรือเป็นการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีอิทธิพลบางกลุ่มผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก ยังเปิดเผยถึงผลสำรวจความเห็นประชาชนต่อการปฏิรูปสลาก พบว่า 95.5% คิดว่ารายได้จากการขายสลากไม่ควรเข้ารัฐทั้งหมด ในจำนวนนี้ 60.1% เห็นว่าควรเข้ารัฐเพียงบางส่วน เช่น เป็นภาษีเงินได้จากการขายสลาก ซึ่งไม่น่าจะเกิน 10% ที่เหลือนำไปส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม กว่า 35.4% เห็นว่าไม่ควรเข้ารัฐเลย แต่ควรนำเงินมาจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสังคม ขณะที่ 66.1% เห็นว่าควรแยกอำนาจในการเป็นผู้ออกสลากผู้กำกับดูแล และผู้จัดสรรเงิน ออกจากกัน
ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า สลากหรือลอตเตอรี เป็นผลิตภัณฑ์ที่รัฐบาลนำเสนอขึ้นมาให้เป็นสินค้า ภายใต้ พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มียอดจำหน่ายแต่ละงวด 72 ล้านฉบับ รายได้จากสลากแต่ละปีเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จากจำนวนสลากที่ขายได้ 7 หมื่นล้านบาทต่อปี สัดส่วนเงินจากการขายสลากแบ่งเป็นเงินรางวัล 60% ส่วนแบ่งของรัฐบาล 28% ค่าบริหารจัดการและนำไปใช้การกุศล12% ในส่วนนี้ไม่เกิน 5% นำไปจัดสรรให้เป็นสาธารณประโยชน์ กลายเป็นว่าเงินที่ผู้เล่นสลาก 100 บาท คืนกลับไปให้พวกเขาไม่ถึง 5 บาท โดยหลักการบริหารจัดการสลากดังกล่าว ในโลกที่เจริญแล้วเขาไม่ทำกัน เห็นได้จากการศึกษาแนวทางปฏิรูปกองสลากในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฮ่องกง สิงคโปร์ คือเงินที่ได้จากสลากจะไม่ถือว่าเป็นเงินรายได้ของรัฐ แต่เขาจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ทำประโยชน์ ช่วยกลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มคนเปราะบางในสังคม แต่สลากของไทยถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งบันเทิงมอมเมาคนในสังคมแล้วเอากำไรดอกผลจากสิ่งบันเทิงนี้กลับคืนสู่กิจการของรัฐ
ดร.วิเชียร กล่าวต่อว่า สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาว่าควรมีการปฏิรูปสลากเพื่อนำเงินที่ได้กลับคืนสู่สังคม เพราะเมื่อเปรียบเทียบถือว่าประเทศไทยล้าหลังที่สุด แม้จะมีความพยายามปรับปรุงสลาก แต่คงเป็นเพียงการเปลี่ยนเสื้อ เพราะเนื้อหนังมังสายังเหมือนเดิม พื้นฐานยังไม่ได้รับการปรับปรุงซึ่งต้นทางหลักคือรัฐบาลและกระทรวงการคลัง หากยังไม่เข้าใจโอกาสที่จะพัฒนาเหมือนประเทศอื่นๆ ก็คงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปสลากจะสำเร็จได้นั้น ประชาชนต้องรับรู้รับทราบข้อมูลโครงสร้างสลาก เงินใช้อะไรไปบ้าง ส่วนการประชุมเอเชียแปซิฟิกลอตเตอรีที่เชียงใหม่ครั้งนี้นั้น ตนไม่แน่ใจว่าจะมีการหยิบยกเรื่องผลกระทบทางสังคมมาพูดคุยกันบ้างหรือไม่ หรือจะพูดเฉพาะเรื่องผลิตภัณฑ์สลากแบบใหม่ๆ นำรายได้สู่รัฐอย่างไร เอาเศรษฐกิจใต้ดินขึ้นมาบนดินอย่างไร
ด้านนายกิตติพงษ์ สุทธิ ผู้อำนวยการสถาบันคนตาบอดแห่งชาติ ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับผู้ค่าสลาก กล่าวว่า ปัญหาเชิงระบบที่ผู้ค้าสลากรายย่อย เช่น ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ต้องเผชิญ คือ 1.เงินทุน คนเหล่านี้ต้องหาเงินลงทุน ส่วนใหญ่กู้นอกระบบ ที่สำคัญไม่มีโอกาสรู้เลยว่าแต่ละงวดจะได้รับโควตาสลากหรือไม่ 2.ปัญหาความเสี่ยงจากการขายสลากไม่หมด เพราะสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่รับคืน และ 3.ไม่มีระบบประกันด้านสวัสดิการสุขภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยถูกแก้ไขให้ตรงจุด แต่กลับมีการดึงคนมาสู่ปัญหามากขึ้น ส่วนแนวทางแก้ไขที่จะช่วยผู้ค้าสลากรายย่อยได้ คือ 1.จัดสรรโควต้าสลากให้ถึงมือผู้จำหน่ายตัวจริง ตัดวงจรพ่อค้าคนกลาง โดยเฉพาะผู้พิการต้องจัดสรรเพียงพอต่อการยังชีพ 2.รับซื้อคืนสลากที่ขายไม่หมด จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ค้าสลากรายย่อย 3.สร้างระบบสวัสดิการให้ผู้ค้ารายย่อย
“สลากเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ออกมาเท่าไหร่ก็ขายหมด โดยที่กองสลากไม่ขาดทุน จึงต้องมาดูว่าเม็ดเงินที่เกิดขึ้นตรงนี้ไปอยู่ในส่วนไหนบ้าง และทำไมไม่เอามูลค่าเหล่านี้มาพัฒนาสังคม พัฒนาผู้ด้อยโอกาส พัฒนาผู้ที่ประสบปัญหาต่างๆ ในสังคม ถึงเวลาหรือยังที่ทุกคนจะต้องช่วยกันปฏิรูปสลากเพื่อสังคม ทำให้คุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ในชนชั้นที่ถูกทอดทิ้ง ให้ได้รับโอกาสในสังคม และส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืนขึ้นกว่าที่เป็นอยู่” นายกิตติพงษ์ กล่าว
วันนี้ (18 พ.ย.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน จัดเวทีเสวนา “ทำไมต้องปฏิรูปสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นสลากเพื่อสังคม?” ทั้งนี้ภายในงานได้มีการเปิดตัว “เครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของเครือข่ายรณรงค์หยุดพนัน กลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายลอตเตอรี ภาคีเครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว และภาคประชาสังคมต่างๆ จาก 4 ภาคทั่วประเทศ ที่มีเจตนารมณ์ร่วมให้เกิดการปฏิรูประบบสลากในปัจจุบันเป็นสลากเพื่อสังคมอย่างแท้จริง
นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก เปิดเผยผลสำรวจเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาเรื่อง “10 คำถามคนไทยคิดอย่างไรกับหวย” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,746 ราย จากทุกภาคทั่วประเทศ พบว่ารายได้จากการขายสลากที่เข้ารัฐส่วนใหญ่มาจากเงินผู้ที่มีรายน้อยถึงปานกลาง ถึง 96.3% และปัญหาที่คนไม่พอใจมากที่สุด คือ สลากแพง รองลงมา การใช้สำนักงานสลากฯ เป็นแหล่งแสวงประโยชน์ของนักการเมือง อันดับ 3ความไม่โปร่งใสในการบริหารงานของสำนักงานสลากฯ และสุดท้ายคือความคลางแคลงใจเรื่องหวยล็อก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมองว่าระบบการขายสลากผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่เรียกว่า “ยี่ปั๊วซาปั๊ว” เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สลากแพง และสำนักงานสลากฯคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหานี้ โดยกลุ่มตัวอย่างถึง 70.5% เชื่อว่าหวยล็อกได้ และ 67.8% ไม่เห็นด้วยกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของกองสลาก เช่น หวยออนไลน์ หวยกีฬา ฯลฯ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการเพิ่มการมอมเมาประชาชนให้หวังลมๆแล้งๆ กับการพนัน และไม่เชื่อว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกแก่ส่วนรวม หากแต่จะเป็นการอาศัยกิจการสลากแสวงประโยชน์แก่บุคคลบางกลุ่ม ซึ่งคงไม่พ้นนักการเมืองและกลุ่มผู้มีอิทธิพล ดังนั้นผลสำรวจสะท้อนชัดว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีปัญหาด้านภาพลักษณ์ในสายตาประชาชน โดยเฉพาะความไม่โปร่งใส ขาดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา และยังขาดความน่าเชื่อถือเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหวยแพงคำถามคือ เพราะเหตุใดที่ผ่านมาหลายสิบปีปัญหานี้จึงแก้ไม่ตก เป็นปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงาน การขายขาดไม่รับคืน หรือปัญหาด้านความละเลยเพิกเฉย เพราะได้ประโยชน์จากการที่สลากแพง หรือเป็นการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีอิทธิพลบางกลุ่มผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก ยังเปิดเผยถึงผลสำรวจความเห็นประชาชนต่อการปฏิรูปสลาก พบว่า 95.5% คิดว่ารายได้จากการขายสลากไม่ควรเข้ารัฐทั้งหมด ในจำนวนนี้ 60.1% เห็นว่าควรเข้ารัฐเพียงบางส่วน เช่น เป็นภาษีเงินได้จากการขายสลาก ซึ่งไม่น่าจะเกิน 10% ที่เหลือนำไปส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม กว่า 35.4% เห็นว่าไม่ควรเข้ารัฐเลย แต่ควรนำเงินมาจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสังคม ขณะที่ 66.1% เห็นว่าควรแยกอำนาจในการเป็นผู้ออกสลากผู้กำกับดูแล และผู้จัดสรรเงิน ออกจากกัน
ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า สลากหรือลอตเตอรี เป็นผลิตภัณฑ์ที่รัฐบาลนำเสนอขึ้นมาให้เป็นสินค้า ภายใต้ พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มียอดจำหน่ายแต่ละงวด 72 ล้านฉบับ รายได้จากสลากแต่ละปีเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จากจำนวนสลากที่ขายได้ 7 หมื่นล้านบาทต่อปี สัดส่วนเงินจากการขายสลากแบ่งเป็นเงินรางวัล 60% ส่วนแบ่งของรัฐบาล 28% ค่าบริหารจัดการและนำไปใช้การกุศล12% ในส่วนนี้ไม่เกิน 5% นำไปจัดสรรให้เป็นสาธารณประโยชน์ กลายเป็นว่าเงินที่ผู้เล่นสลาก 100 บาท คืนกลับไปให้พวกเขาไม่ถึง 5 บาท โดยหลักการบริหารจัดการสลากดังกล่าว ในโลกที่เจริญแล้วเขาไม่ทำกัน เห็นได้จากการศึกษาแนวทางปฏิรูปกองสลากในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฮ่องกง สิงคโปร์ คือเงินที่ได้จากสลากจะไม่ถือว่าเป็นเงินรายได้ของรัฐ แต่เขาจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ทำประโยชน์ ช่วยกลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มคนเปราะบางในสังคม แต่สลากของไทยถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งบันเทิงมอมเมาคนในสังคมแล้วเอากำไรดอกผลจากสิ่งบันเทิงนี้กลับคืนสู่กิจการของรัฐ
ดร.วิเชียร กล่าวต่อว่า สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาว่าควรมีการปฏิรูปสลากเพื่อนำเงินที่ได้กลับคืนสู่สังคม เพราะเมื่อเปรียบเทียบถือว่าประเทศไทยล้าหลังที่สุด แม้จะมีความพยายามปรับปรุงสลาก แต่คงเป็นเพียงการเปลี่ยนเสื้อ เพราะเนื้อหนังมังสายังเหมือนเดิม พื้นฐานยังไม่ได้รับการปรับปรุงซึ่งต้นทางหลักคือรัฐบาลและกระทรวงการคลัง หากยังไม่เข้าใจโอกาสที่จะพัฒนาเหมือนประเทศอื่นๆ ก็คงเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปสลากจะสำเร็จได้นั้น ประชาชนต้องรับรู้รับทราบข้อมูลโครงสร้างสลาก เงินใช้อะไรไปบ้าง ส่วนการประชุมเอเชียแปซิฟิกลอตเตอรีที่เชียงใหม่ครั้งนี้นั้น ตนไม่แน่ใจว่าจะมีการหยิบยกเรื่องผลกระทบทางสังคมมาพูดคุยกันบ้างหรือไม่ หรือจะพูดเฉพาะเรื่องผลิตภัณฑ์สลากแบบใหม่ๆ นำรายได้สู่รัฐอย่างไร เอาเศรษฐกิจใต้ดินขึ้นมาบนดินอย่างไร
ด้านนายกิตติพงษ์ สุทธิ ผู้อำนวยการสถาบันคนตาบอดแห่งชาติ ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับผู้ค่าสลาก กล่าวว่า ปัญหาเชิงระบบที่ผู้ค้าสลากรายย่อย เช่น ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ต้องเผชิญ คือ 1.เงินทุน คนเหล่านี้ต้องหาเงินลงทุน ส่วนใหญ่กู้นอกระบบ ที่สำคัญไม่มีโอกาสรู้เลยว่าแต่ละงวดจะได้รับโควตาสลากหรือไม่ 2.ปัญหาความเสี่ยงจากการขายสลากไม่หมด เพราะสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไม่รับคืน และ 3.ไม่มีระบบประกันด้านสวัสดิการสุขภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยถูกแก้ไขให้ตรงจุด แต่กลับมีการดึงคนมาสู่ปัญหามากขึ้น ส่วนแนวทางแก้ไขที่จะช่วยผู้ค้าสลากรายย่อยได้ คือ 1.จัดสรรโควต้าสลากให้ถึงมือผู้จำหน่ายตัวจริง ตัดวงจรพ่อค้าคนกลาง โดยเฉพาะผู้พิการต้องจัดสรรเพียงพอต่อการยังชีพ 2.รับซื้อคืนสลากที่ขายไม่หมด จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ค้าสลากรายย่อย 3.สร้างระบบสวัสดิการให้ผู้ค้ารายย่อย
“สลากเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ออกมาเท่าไหร่ก็ขายหมด โดยที่กองสลากไม่ขาดทุน จึงต้องมาดูว่าเม็ดเงินที่เกิดขึ้นตรงนี้ไปอยู่ในส่วนไหนบ้าง และทำไมไม่เอามูลค่าเหล่านี้มาพัฒนาสังคม พัฒนาผู้ด้อยโอกาส พัฒนาผู้ที่ประสบปัญหาต่างๆ ในสังคม ถึงเวลาหรือยังที่ทุกคนจะต้องช่วยกันปฏิรูปสลากเพื่อสังคม ทำให้คุณภาพชีวิตของคนที่อยู่ในชนชั้นที่ถูกทอดทิ้ง ให้ได้รับโอกาสในสังคม และส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืนขึ้นกว่าที่เป็นอยู่” นายกิตติพงษ์ กล่าว