“สุทธศรี” มอบ ก.ค.ศ.ศึกษาความเป็นไปได้นำเงินทุนแก้ปัญหาหนี้สินครู มาต่อยอดเป็นกองทุนครูตั้งตัวได้ ส่งเสริมช่องทางสร้างธุรกิจขนาดเล็กสำหรับครูที่มีใจรักการลงทุน ชี้เป็นหนทางใช้เงินกองทุนคุ้มค่า พร้อมให้สร้างภาพลักษณ์ ก.ค.ศ.ยุคใหม่ ให้บริการที่รวดเร็วแบบ One Stop Service จ้างบริษัทเอกชนดำเนินการแทนในบางภาระกิจ เพื่อลดปัญหาคอขวดงาน
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า เนื่องจาก ก.ค.ศ.เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญในการบริหารและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีจำนวนกว่า 6 แสนคน ขณะที่โครงสร้างขององค์กรมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่เพียง 300 คนเท่านั้น ซึ่งทาง ก.ค.ศ.ได้รายงานว่ากำลังดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.คณะกรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ... เพื่อแก้ไขโครงสร้างรองรับภาระงานนำไปสู่การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นขณะเดียวกันยังเอื้อประโยชน์แก่บุคลากรให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้วย อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบนโยบายไปว่าอยากให้ลองไปหาวิธีการก้าวไปสู่ภาพลักษณ์ของ ก.ค.ศ.ยุคใหม่ โดยให้ไปศึกษาดูว่าในภารกิจต่างๆ ที่มีอยู่นั้นภารกิจใดบ้างที่สามารถจะดำเนินการพร้อมกันหรือให้บริการในรูปแบบ One Stop Service ได้ใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงแล้วเสร็จซึ่ง ก.ค.ศ.อาจจะใช้วิธีการจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินการแทน เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัวลดปัญหาคอขวดที่เป็นอยู่ในเวลานี้
นอกจากนี้ ก.ค.ศ.ยังดูแลกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ซึ่งขณะนี้มีเงินประมาณ 1,600 ล้านบาท ซึ่งตนอยากให้มีการใช้ดอกผลของกองทุนนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ครูในทางอื่นนอกเหนือจากปล่อยกู้เพื่อใช้หนี้ เช่น ส่งเสริมให้ครูที่มีหัวใจในการลงทุน มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการลงทุน เป็นเสมือนกองทุนครูตั้งตัวได้ ที่ช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจ SMEs ของครู ที่จะสร้างรายได้และมีมาชำระหนี้ ซึ่งเลขาธิการ ก.ค.ศ.ก็เห็นด้วยจึงได้มอบให้ไปศึกษาความเป็นไปได้ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ขณะเดียวกัน ในส่วนของ กองทุนครูแห่งแผ่นดิน ที่เคยมีการเปิดรับบริจาคได้รับเงินประเดิมกองทุน 100 ล้านบาทนั้น แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ได้เพราะอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ.กองทุนฯ และต้องรอให้มีผลบังคับใช้ซึ่งคาดว่าต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น ขอให้ ก.ค.ศ.ไปดำเนินการจัดทำระเบียบ ศธ.หรือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีคู่ขนานกันไปเพื่อนำเงินมาใช้ประโยชน์ในการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครู
“ทาง ก.ค.ศ.ได้รายงานด้วยว่า ขณะนี้ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า ก.พ.7 เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของครูรายบุคคลตั้งแต่อายุ วุฒิการศึกษา สาขาที่สอน ปีที่เกษียณอายุราชการ รวมทั้งโรงเรียนที่สังกัดอยู่ซึ่งขณะนี้รวบรวมได้กว่า 4.4 แสนคน เกือบครบ 100% แล้ว จึงได้ขอให้ ก.ค.ศ.ได้จัดทำรายละเอียดและกำหนดให้ชัดเจนว่าใน 3-5 ปีข้างหน้าจะมีครูรวมทั้งผู้บริหารเกษียณอายุราชการเท่าใด สาขาใดบ้าง โดยอาจจะทำเป็นเขตสีแดง สีเหลือง สีเขียว เพื่อให้ชี้ชัดว่าในพื้นที่ใดจะประสบปัญหาขาดแคลนที่สุด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการผลิตครูให้ตรงกับความต้องการในอนาคต” นางสุทธศรี กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 ธ.ค.คณะกรรมการ ก.ค.ศ.และคณะอนุ ก.ค.ศ.ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จะครบวาระดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ก.ค.ศ.ต้องเตรียมการสรรหาครั้งใหญ่จึงกำชับให้เร่งดำเนินการโดยเร็วด้วย
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า เนื่องจาก ก.ค.ศ.เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญในการบริหารและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีจำนวนกว่า 6 แสนคน ขณะที่โครงสร้างขององค์กรมีบุคลากรและเจ้าหน้าที่เพียง 300 คนเท่านั้น ซึ่งทาง ก.ค.ศ.ได้รายงานว่ากำลังดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.คณะกรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ... เพื่อแก้ไขโครงสร้างรองรับภาระงานนำไปสู่การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นขณะเดียวกันยังเอื้อประโยชน์แก่บุคลากรให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้วย อย่างไรก็ตาม ตนได้มอบนโยบายไปว่าอยากให้ลองไปหาวิธีการก้าวไปสู่ภาพลักษณ์ของ ก.ค.ศ.ยุคใหม่ โดยให้ไปศึกษาดูว่าในภารกิจต่างๆ ที่มีอยู่นั้นภารกิจใดบ้างที่สามารถจะดำเนินการพร้อมกันหรือให้บริการในรูปแบบ One Stop Service ได้ใช้เวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงแล้วเสร็จซึ่ง ก.ค.ศ.อาจจะใช้วิธีการจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินการแทน เพื่อให้การทำงานเกิดความคล่องตัวลดปัญหาคอขวดที่เป็นอยู่ในเวลานี้
นอกจากนี้ ก.ค.ศ.ยังดูแลกองทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ซึ่งขณะนี้มีเงินประมาณ 1,600 ล้านบาท ซึ่งตนอยากให้มีการใช้ดอกผลของกองทุนนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ครูในทางอื่นนอกเหนือจากปล่อยกู้เพื่อใช้หนี้ เช่น ส่งเสริมให้ครูที่มีหัวใจในการลงทุน มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการลงทุน เป็นเสมือนกองทุนครูตั้งตัวได้ ที่ช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจ SMEs ของครู ที่จะสร้างรายได้และมีมาชำระหนี้ ซึ่งเลขาธิการ ก.ค.ศ.ก็เห็นด้วยจึงได้มอบให้ไปศึกษาความเป็นไปได้ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ขณะเดียวกัน ในส่วนของ กองทุนครูแห่งแผ่นดิน ที่เคยมีการเปิดรับบริจาคได้รับเงินประเดิมกองทุน 100 ล้านบาทนั้น แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกองทุนนี้ได้เพราะอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ.กองทุนฯ และต้องรอให้มีผลบังคับใช้ซึ่งคาดว่าต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้น ขอให้ ก.ค.ศ.ไปดำเนินการจัดทำระเบียบ ศธ.หรือ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีคู่ขนานกันไปเพื่อนำเงินมาใช้ประโยชน์ในการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครู
“ทาง ก.ค.ศ.ได้รายงานด้วยว่า ขณะนี้ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า ก.พ.7 เป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของครูรายบุคคลตั้งแต่อายุ วุฒิการศึกษา สาขาที่สอน ปีที่เกษียณอายุราชการ รวมทั้งโรงเรียนที่สังกัดอยู่ซึ่งขณะนี้รวบรวมได้กว่า 4.4 แสนคน เกือบครบ 100% แล้ว จึงได้ขอให้ ก.ค.ศ.ได้จัดทำรายละเอียดและกำหนดให้ชัดเจนว่าใน 3-5 ปีข้างหน้าจะมีครูรวมทั้งผู้บริหารเกษียณอายุราชการเท่าใด สาขาใดบ้าง โดยอาจจะทำเป็นเขตสีแดง สีเหลือง สีเขียว เพื่อให้ชี้ชัดว่าในพื้นที่ใดจะประสบปัญหาขาดแคลนที่สุด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการผลิตครูให้ตรงกับความต้องการในอนาคต” นางสุทธศรี กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 ธ.ค.คณะกรรมการ ก.ค.ศ.และคณะอนุ ก.ค.ศ.ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ จะครบวาระดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ก.ค.ศ.ต้องเตรียมการสรรหาครั้งใหญ่จึงกำชับให้เร่งดำเนินการโดยเร็วด้วย