กรอบมาตรฐานฯ อาเซียน เสร็จไม่ทันใช้เปิดประชาคมอาเซียนปี 58 ฝาก สมศ.จับมือหน่วยงานประเมินต่างชาติ ยกระดับประเมินมหาวิทยาลัยไทยและอาเซียน ด้าน เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน แนะผลิตบัณฑิตให้เป็นสมบัตินานาชาติ พร้อมชวนเข้าร่วมประเมิน AUN QA รู้อันดับของมหาวิทยาลัยตนเอง
ดร.ฉันทวิทย์ สุชาตานนท์ กรรมการประเมินคุณภายนอกระดับอุดมศึกษา กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา กรอบมาตรฐานการศึกษาอาเซียน:ASEAN QA FRAMWORK ในงาน “การประชุมนานาชาติ ประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2556 คุณภาพศิษย์ สะท้อนคุณภาพครู” จัดโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา ได้มีการหารือและกำหนดกรอบ นโยบาย แนวทางในการประเมินเพียงกว้างๆ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดลงลึกว่าจะมีเกณฑ์ มาตรฐาน และตัวบ่งชี้ แต่ได้ขอให้แต่ละประเทศไปดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีความอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงเหมือนเช่นทุกวันนี้ เพราะจะเกิดจุดอ่อนว่าไม่กล้าประเมินหน่วยงานภายในของประเทศตัวเอง ทำให้ไม่โปร่งใส
“คาดว่ากรอบมาตรฐานฯ อาเซียน จะยังไม่แล้วเสร็จก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะการกำหนดตัวบ่งชี้ต่างๆ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของประเทศสมาชิกทั้งหมด ต้องมีความยืดหยุ่น และเมื่อกำหนดรายละเอียดตัวบ่งชี้ต่างๆ แล้วไม่ใช่ทุกประเทศจะใช้เหมือนกันหมด แต่ให้เลือกเอาเฉพาะบางตัวที่เหมาะสมกับลักษณะของประเทศนั้นๆ” ดร.ฉันทวิทย์ กล่าวและว่า ในส่วนของประเทศไทย สมศ.จะต้องทำหน้าที่นี้ ซึ่งต้องปรับการทำงาน พยายามสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานประเมินมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อจะได้มีกรอบการประเมินมาตรฐานเดียวกันกับอาเซียน เพราะปัจจุบัน สมศ.ทำหน้าที่เพียงประเมินมหาวิทยาลัยในประเทศ ประเมินเฉพาะคณะ หลักสูตร แต่ไม่ได้รับรอง
ด้าน รศ.ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย กรรมการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ร่วมมือด้านวิชาการต่างๆ กับมหาวิทยาลัยในประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าถามถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัยไทย นักศึกษาไทย ต้องยอมรับว่าเรื่องอื่นๆ เราอาจจะแข่งขันได้ แต่เรื่องภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเรายังด้อยกว่าหลายๆ ประเทศ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ควรสอนนักเรียนช่วงระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ให้เป็นสมบัติในประเทศ แต่พอขึ้นระดับอุดมศึกษาควรผลิตให้เป็นสมบัตินานาชาติ ไม่ใช่สมบัติในประเทศแล้ว ทุกหลักสูตรควรพัฒนาเปิดเป็นหลักสูตรสองภาษา เพื่อฝึกฝนภาษา ให้บัณฑิต อาจารย์มีความพร้อม ซึ่งถ้าการศึกษาไทยทำได้ เชื่อว่าอันดับการศึกษาไทยจะขึ้นเป็นอันดับ 2 หรือ3 อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยไทยต้องการรู้ว่าตัวเองอยู่ในอันดับไหนของอาเซียน หรือของโลก สามารถเข้าร่วมเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) ซึ่งเป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยอิงตามมาตรฐานอาเซียน
“ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยไทยที่เข้าร่วมการประเมิน AUN QA เพียง 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งที่มหาวิทยาลัยไทยมี 100 กว่าแห่ง ฉะนั้น ถ้ามหาวิทยาลัยไทยจะเข้าสู่อาเซียนจริงๆ ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องของหลักสูตรให้มากกว่านี้ ต้องตระหนักถึงเกณฑ์ และผู้บริหารสถาบันต้องเอาจริงเอาจังเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมา ผมได้เข้าไปติดต่อกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งให้เข้ามาเป็นเครือข่าย AUN แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่ายังไม่พร้อม อาจารย์ยังไม่เชี่ยวชาญทักษะภาษาอังกฤษในการกรอกข้อมูล ซึ่งผมเชื่อว่าอาจารย์ไทย ไม่ได้ด้อยเรื่องนี้ สามารถเข้าร่วมการประเมินได้อยู่แล้ว แต่ถ้าอาจารย์กลัวภาระงานเพิ่มนั้นคงต้องทำความเข้าใจกันต่อไป” รศ.ดำรงค์ กล่าว
ดร.ฉันทวิทย์ สุชาตานนท์ กรรมการประเมินคุณภายนอกระดับอุดมศึกษา กล่าวตอนหนึ่งในการเสวนา กรอบมาตรฐานการศึกษาอาเซียน:ASEAN QA FRAMWORK ในงาน “การประชุมนานาชาติ ประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2556 คุณภาพศิษย์ สะท้อนคุณภาพครู” จัดโดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษา ได้มีการหารือและกำหนดกรอบ นโยบาย แนวทางในการประเมินเพียงกว้างๆ ไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดลงลึกว่าจะมีเกณฑ์ มาตรฐาน และตัวบ่งชี้ แต่ได้ขอให้แต่ละประเทศไปดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานรับรองและประเมินคุณภาพการศึกษาที่มีความอิสระ ไม่ขึ้นตรงต่อกระทรวงเหมือนเช่นทุกวันนี้ เพราะจะเกิดจุดอ่อนว่าไม่กล้าประเมินหน่วยงานภายในของประเทศตัวเอง ทำให้ไม่โปร่งใส
“คาดว่ากรอบมาตรฐานฯ อาเซียน จะยังไม่แล้วเสร็จก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เพราะการกำหนดตัวบ่งชี้ต่างๆ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของประเทศสมาชิกทั้งหมด ต้องมีความยืดหยุ่น และเมื่อกำหนดรายละเอียดตัวบ่งชี้ต่างๆ แล้วไม่ใช่ทุกประเทศจะใช้เหมือนกันหมด แต่ให้เลือกเอาเฉพาะบางตัวที่เหมาะสมกับลักษณะของประเทศนั้นๆ” ดร.ฉันทวิทย์ กล่าวและว่า ในส่วนของประเทศไทย สมศ.จะต้องทำหน้าที่นี้ ซึ่งต้องปรับการทำงาน พยายามสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานประเมินมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อจะได้มีกรอบการประเมินมาตรฐานเดียวกันกับอาเซียน เพราะปัจจุบัน สมศ.ทำหน้าที่เพียงประเมินมหาวิทยาลัยในประเทศ ประเมินเฉพาะคณะ หลักสูตร แต่ไม่ได้รับรอง
ด้าน รศ.ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย กรรมการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศไทยมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ร่วมมือด้านวิชาการต่างๆ กับมหาวิทยาลัยในประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าถามถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัยไทย นักศึกษาไทย ต้องยอมรับว่าเรื่องอื่นๆ เราอาจจะแข่งขันได้ แต่เรื่องภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเรายังด้อยกว่าหลายๆ ประเทศ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ควรสอนนักเรียนช่วงระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ให้เป็นสมบัติในประเทศ แต่พอขึ้นระดับอุดมศึกษาควรผลิตให้เป็นสมบัตินานาชาติ ไม่ใช่สมบัติในประเทศแล้ว ทุกหลักสูตรควรพัฒนาเปิดเป็นหลักสูตรสองภาษา เพื่อฝึกฝนภาษา ให้บัณฑิต อาจารย์มีความพร้อม ซึ่งถ้าการศึกษาไทยทำได้ เชื่อว่าอันดับการศึกษาไทยจะขึ้นเป็นอันดับ 2 หรือ3 อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยไทยต้องการรู้ว่าตัวเองอยู่ในอันดับไหนของอาเซียน หรือของโลก สามารถเข้าร่วมเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN) ซึ่งเป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และมีการประเมินคุณภาพการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยอิงตามมาตรฐานอาเซียน
“ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยไทยที่เข้าร่วมการประเมิน AUN QA เพียง 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งที่มหาวิทยาลัยไทยมี 100 กว่าแห่ง ฉะนั้น ถ้ามหาวิทยาลัยไทยจะเข้าสู่อาเซียนจริงๆ ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องของหลักสูตรให้มากกว่านี้ ต้องตระหนักถึงเกณฑ์ และผู้บริหารสถาบันต้องเอาจริงเอาจังเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมา ผมได้เข้าไปติดต่อกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายแห่งให้เข้ามาเป็นเครือข่าย AUN แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่ายังไม่พร้อม อาจารย์ยังไม่เชี่ยวชาญทักษะภาษาอังกฤษในการกรอกข้อมูล ซึ่งผมเชื่อว่าอาจารย์ไทย ไม่ได้ด้อยเรื่องนี้ สามารถเข้าร่วมการประเมินได้อยู่แล้ว แต่ถ้าอาจารย์กลัวภาระงานเพิ่มนั้นคงต้องทำความเข้าใจกันต่อไป” รศ.ดำรงค์ กล่าว