คสรท.นัดถก10 พ.ย.สรุปท่าทีเคลื่อนไหวต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กระแสขรก.แรงงานค้าน ชี้ทำผิดให้เป็นถูกทำลายกฎหมาย-ชาติ ห่วงส่งเสริมคนกล้าทำผิด
วันนี้ (5 พ.ย.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า คสรท.และเครือข่ายแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบทั่วประเทศรวม 30 องค์กร ต่างไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมและก่อนหน้านี้ได้ออกแถลงการณ์ไปแล้ว เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวมีเจตจำนงแอบแฝง ซ่อนเร้น เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองให้พ้นผิดจากการสั่งฆ่าประชาชน และการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในการทุจริตต่อชาติบ้านเมืองและประชาชน แต่ขณะนี้ คสรท.และเครือข่ายแรงงานยังไม่ได้มีมติใดๆ ในการออกไปร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและยื่นหนังสือคัดค้านต่อวุฒิสภา
“คสรท.และเครือข่ายแรงงานจะประชุมหารือกันในวันที่ 10 พ.ย.นี้ เพื่อกำหนดท่าทีว่าจะไปร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและจะไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อวุฒิสภาหรือไม่ ขณะนี้เป็นสิทธิของแรงงานแต่ละคน แต่ละองค์กรที่จะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มผู้คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะไปร่วมกับกลุ่มใดก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล” ประธาน คสรท.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของข้าราชการกระทรวงแรงงานนั้น แม้ไม่ได้ออกมารวมกลุ่มคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ข้าราชการบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยเห็นว่า เมื่อนักการเมืองมีการกระทำทุจริต ก็ควรต้องถูกดำเนินคดีไปตามกฎหมาย ไม่ใช่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้พ้นจากความผิด จะเป็นการทำลายความถูกต้องชอบธรรมของกฎหมายและสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง ต่อไปคนจะกล้ากระทำผิดกฎหมาย เช่น ทุจริตคอร์รัปชัน ฆ่าคน โดยไม่ต้องเกรงกลัวใดๆ เนื่องจากเมื่อกระทำผิดแล้วก็สามารถออกกฎหมายมาลบล้างความผิดได้ ขณะที่ข้าราชการบางส่วนเห็นว่าหากจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อให้เกิดความปรองดองขึ้นในชาติอย่างแท้จริงก็ควรนิรโทษกรรมให้เฉพาะคดีความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น แต่ในส่วนของคดีทุจริตต่างๆ เช่น คดีที่ดินรัชดาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ศาลพิพากษาจำคุก คดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงของ กทม.ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องด้วยเพราะเป็นคนละเรื่องกัน และควรดำเนินการไปตามกฎหมาย หากนักการเมืองผู้กระทำผิดเห็นว่าตนเองไม่ผิด ก็ต้องออกมาสู้คดีในชั้นศาล ไม่ควรออกกฎหมายเพื่อให้ตัวเองพ้นจากความผิดโดยทำให้เรื่องของการทุจริตกลายเป็นการกระทำที่ถูกต้อง จะส่งผลให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย
วันนี้ (5 พ.ย.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมว่า คสรท.และเครือข่ายแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบทั่วประเทศรวม 30 องค์กร ต่างไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมและก่อนหน้านี้ได้ออกแถลงการณ์ไปแล้ว เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวมีเจตจำนงแอบแฝง ซ่อนเร้น เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองให้พ้นผิดจากการสั่งฆ่าประชาชน และการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบในการทุจริตต่อชาติบ้านเมืองและประชาชน แต่ขณะนี้ คสรท.และเครือข่ายแรงงานยังไม่ได้มีมติใดๆ ในการออกไปร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและยื่นหนังสือคัดค้านต่อวุฒิสภา
“คสรท.และเครือข่ายแรงงานจะประชุมหารือกันในวันที่ 10 พ.ย.นี้ เพื่อกำหนดท่าทีว่าจะไปร่วมชุมนุมเคลื่อนไหวกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและจะไปยื่นหนังสือคัดค้านต่อวุฒิสภาหรือไม่ ขณะนี้เป็นสิทธิของแรงงานแต่ละคน แต่ละองค์กรที่จะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มผู้คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะไปร่วมกับกลุ่มใดก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล” ประธาน คสรท.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของข้าราชการกระทรวงแรงงานนั้น แม้ไม่ได้ออกมารวมกลุ่มคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ข้าราชการบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยกับการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยเห็นว่า เมื่อนักการเมืองมีการกระทำทุจริต ก็ควรต้องถูกดำเนินคดีไปตามกฎหมาย ไม่ใช่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้พ้นจากความผิด จะเป็นการทำลายความถูกต้องชอบธรรมของกฎหมายและสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง ต่อไปคนจะกล้ากระทำผิดกฎหมาย เช่น ทุจริตคอร์รัปชัน ฆ่าคน โดยไม่ต้องเกรงกลัวใดๆ เนื่องจากเมื่อกระทำผิดแล้วก็สามารถออกกฎหมายมาลบล้างความผิดได้ ขณะที่ข้าราชการบางส่วนเห็นว่าหากจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อให้เกิดความปรองดองขึ้นในชาติอย่างแท้จริงก็ควรนิรโทษกรรมให้เฉพาะคดีความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น แต่ในส่วนของคดีทุจริตต่างๆ เช่น คดีที่ดินรัชดาของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ศาลพิพากษาจำคุก คดีทุจริตการจัดซื้อรถดับเพลิงของ กทม.ไม่ควรนำมาเกี่ยวข้องด้วยเพราะเป็นคนละเรื่องกัน และควรดำเนินการไปตามกฎหมาย หากนักการเมืองผู้กระทำผิดเห็นว่าตนเองไม่ผิด ก็ต้องออกมาสู้คดีในชั้นศาล ไม่ควรออกกฎหมายเพื่อให้ตัวเองพ้นจากความผิดโดยทำให้เรื่องของการทุจริตกลายเป็นการกระทำที่ถูกต้อง จะส่งผลให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย