“นาฏศิลป์” หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายดัวยท่าทางที่ประดิษฐ์คิดค้นออกมาเป็นแบบแผนงดงาม โดยอาศัยการขับร้องและการบรรเลงดนตรีร่วมด้วย เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ชมมีอารมณ์คล้อยตาม ซึ่งนาฏศิลป์ของไทยเรา ได้แก่ 1.ฟ้อนรำ ระบำ 2.ละคร 3.โขน 4.การแสดงพื้นเมือง
การเรียนนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร
1.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านร่างกาย ธรรมชาติของเด็กนั้นไม่ชอบอยู่นิ่ง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกายในการเดิน วิ่ง กระโดด ยักย้ายร่างกายไปมา ดังนั้น การที่เด็กได้ร่ายรำ ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ให้สอดคล้องกับทำนอง จังหวะและเสียงดนตรี ซึ่งเป็นเหมือนการออกกำลังกายไปในตัว ส่งผลให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงสมส่วน คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง
2.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ ขณะที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการฟ้อนรำหรือเต้นระบำประกอบเพลงนั้น เด็กจะมีความสนุกสนาน ได้ปลดปล่อยความเครียด ส่งผลให้เด็กๆมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง
3.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสังคม กิจกรรมนาฏศิลป์เป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพราะการที่เด็กๆ ได้ร่ายรำ เล่นละคร แสดงการละเล่นพื้นเมืองร่วมกับเพื่อน เป็นการที่เด็กๆ ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการเป็นผู้นำผู้ตาม และการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบท่าทางที่พรัอมเพรียงไปกับเพื่อนๆ นั้น ก็เป็นการหล่อหลอมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในตัวของเด็กอีกด้วย
4.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เช่น ในการฝึกให้เด็กๆ ฟ้อนรำนั้น เด็กๆ ต้องจดจำและแยกแยะท่าทางการรำแบบไทยให้ถูกตัอง เช่น ท่าจีบหงาย จีบคว่ำ ตั้งวง ตีไหล่ อีกทั้งต้องจดจำท่าทางต่างๆ ให้เข้ากับเนื้อร้องและจังหวะของเพลงอย่างถูกต้องแม่นยำและพรัอมเพรียงกับผู้อื่น จึงเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาในเรื่องของความจำและการคิดวิเคราะห์โดยตรง
ในปัจจุบันสำนักงานพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ โดยลดหมวดหมู่วิชาเรียนจาก 8 หมวด คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาซีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ เหลือเพียง 6 หมวด โดยยกเลิกหมวดศิลปะ/ดนตรี/นาฏศิลป์ โดยเอาวิชาเหล่านี้ไปรวมอยู่ในหมวดสังคมและความเป็นมนุษย์
ซึ่งตามความคิดเห็นของผู้เขียนเห็นว่า การจัดหมวดหมู่ของสาระวิชาเรียนใหม่อาจไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญเท่ากับการที่ “ยังคง” จัดให้เด็กๆ ได้เรียนวิชานาฏศิลป์อยู่ในโรงเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา เพราะนอกจากการเรียนนาฏศิลป์จะมีประโยชน์ต่อเด็กๆในการช่วยพัฒนาในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาดังที่กล่าวในข้างต้นแล้ว วิชานาฏศิลป์ยังช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสถึงความเป็นไทยที่นับวันจะหาได้ยากมากขึ้นผ่านการเรียนนาฏศิลป์ อันได้แก่ การร่ายรำทำจังหวะแบบไทยเดิม การขับร้องแบบไทย การบรรเลงดนตรีไทย การแต่งกายแบบไทย ซึ่งคือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจที่ควรอนุรักษ์ให้ดำรงอยู่คู่กับประเทศชาติของเราสืบไป
เพลง “รำไทย” (2548) คำร้อง/ทำนอง ดร.แพง ชินพงศ์
เกิดมาบนแผ่นดินนี้ พวกเราน้องพี่ล้วนเป็นคนไทย
มีท่ารำไม่เหมือนชาติใด เป็นแบบไทยๆ ของเรานานมา
มาซิมาฟ้อนรำ มาซิมาฟ้อนเรา
พวกเราคนไทยชอบรำไทยเอย
รำไทยไม่ใช่เรื่องยาก
จีบหงาย จีบคว่ำ เอาละวา
ตั้งวง ตีไหล่ ยักซ้าย ย้ายขวา
ยกเท้าออกไปข้างหน้า
เชิญเพื่อนหญิงชายรำไทยด้วยกัน
ข้อมูลอ้างอิง: เพลง “รำไทย” ดร.แพง ชินพงศ์, ร้องเล่นเต้นสนุก, บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์, 2548
การเรียนนาฏศิลป์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร
1.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านร่างกาย ธรรมชาติของเด็กนั้นไม่ชอบอยู่นิ่ง แต่ชอบการเคลื่อนไหวร่างกายในการเดิน วิ่ง กระโดด ยักย้ายร่างกายไปมา ดังนั้น การที่เด็กได้ร่ายรำ ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ให้สอดคล้องกับทำนอง จังหวะและเสียงดนตรี ซึ่งเป็นเหมือนการออกกำลังกายไปในตัว ส่งผลให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงสมส่วน คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง
2.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ ขณะที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการฟ้อนรำหรือเต้นระบำประกอบเพลงนั้น เด็กจะมีความสนุกสนาน ได้ปลดปล่อยความเครียด ส่งผลให้เด็กๆมีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส กล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเอง
3.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสังคม กิจกรรมนาฏศิลป์เป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพราะการที่เด็กๆ ได้ร่ายรำ เล่นละคร แสดงการละเล่นพื้นเมืองร่วมกับเพื่อน เป็นการที่เด็กๆ ได้มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในการเป็นผู้นำผู้ตาม และการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบท่าทางที่พรัอมเพรียงไปกับเพื่อนๆ นั้น ก็เป็นการหล่อหลอมความสามัคคีให้เกิดขึ้นในตัวของเด็กอีกด้วย
4.การเรียนนาฏศิลป์ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เช่น ในการฝึกให้เด็กๆ ฟ้อนรำนั้น เด็กๆ ต้องจดจำและแยกแยะท่าทางการรำแบบไทยให้ถูกตัอง เช่น ท่าจีบหงาย จีบคว่ำ ตั้งวง ตีไหล่ อีกทั้งต้องจดจำท่าทางต่างๆ ให้เข้ากับเนื้อร้องและจังหวะของเพลงอย่างถูกต้องแม่นยำและพรัอมเพรียงกับผู้อื่น จึงเป็นการช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาในเรื่องของความจำและการคิดวิเคราะห์โดยตรง
ในปัจจุบันสำนักงานพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ โดยลดหมวดหมู่วิชาเรียนจาก 8 หมวด คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาซีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ เหลือเพียง 6 หมวด โดยยกเลิกหมวดศิลปะ/ดนตรี/นาฏศิลป์ โดยเอาวิชาเหล่านี้ไปรวมอยู่ในหมวดสังคมและความเป็นมนุษย์
ซึ่งตามความคิดเห็นของผู้เขียนเห็นว่า การจัดหมวดหมู่ของสาระวิชาเรียนใหม่อาจไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญเท่ากับการที่ “ยังคง” จัดให้เด็กๆ ได้เรียนวิชานาฏศิลป์อยู่ในโรงเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา เพราะนอกจากการเรียนนาฏศิลป์จะมีประโยชน์ต่อเด็กๆในการช่วยพัฒนาในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาดังที่กล่าวในข้างต้นแล้ว วิชานาฏศิลป์ยังช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสถึงความเป็นไทยที่นับวันจะหาได้ยากมากขึ้นผ่านการเรียนนาฏศิลป์ อันได้แก่ การร่ายรำทำจังหวะแบบไทยเดิม การขับร้องแบบไทย การบรรเลงดนตรีไทย การแต่งกายแบบไทย ซึ่งคือสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจที่ควรอนุรักษ์ให้ดำรงอยู่คู่กับประเทศชาติของเราสืบไป
เพลง “รำไทย” (2548) คำร้อง/ทำนอง ดร.แพง ชินพงศ์
เกิดมาบนแผ่นดินนี้ พวกเราน้องพี่ล้วนเป็นคนไทย
มีท่ารำไม่เหมือนชาติใด เป็นแบบไทยๆ ของเรานานมา
มาซิมาฟ้อนรำ มาซิมาฟ้อนเรา
พวกเราคนไทยชอบรำไทยเอย
รำไทยไม่ใช่เรื่องยาก
จีบหงาย จีบคว่ำ เอาละวา
ตั้งวง ตีไหล่ ยักซ้าย ย้ายขวา
ยกเท้าออกไปข้างหน้า
เชิญเพื่อนหญิงชายรำไทยด้วยกัน
ข้อมูลอ้างอิง: เพลง “รำไทย” ดร.แพง ชินพงศ์, ร้องเล่นเต้นสนุก, บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์, 2548