รองเลขาฯ สปสช.ชี้ปฏิรูป สธ.ปี 2556 เน้นเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้เกิดการแข่งขัน และการรวมศูนย์ ทำให้กลุ่มรากหญ้าเข้าถึงบริการยากขึ้น ต่างจากสมัย “พ่อแม้ว” เน้นระดับภูมิภาค แนะปัดฝุ่นโครงการยกระดับโรงพยาบาลเป็นองค์การมหาชน มีความยั่งยืนกว่าแบ่งเขตบริการสุขภาพ
วันนี้ (22 ต.ค.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การปฏิรูประบบสาธารณสุขในปี 2556 แตกต่างจากปี 2544 ซึ่งสมัยนั้นพรรคไทยรักไทยมีแนวคิดปฏิรูประบบโดยให้ความสำคัญในระดับภูมิภาค มีการสร้างโรงพยาบาลชุมชน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เน้นความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ในปีนี้ จะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของตัวระบบให้สามารถแข่งขันได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินของประเทศ ที่ชัดเจนคือ การจัดเขตบริการสุขภาพ ที่เน้นการบริหารจัดการพื้นที่ในแง่การแบ่งปันทรัพยากร ซึ่งความเป็นจริงทำได้ยาก รวมถึงให้ความสำคัญกับการรวมศูนย์ของกระทรวงมากกว่า
"การรวมศูนย์เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ส่วนกลาง หรือในเมืองที่มีประชากรเยอะ ทำให้คนในชนบทเข้าถึงบริการยาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนชั้นกลางที่เข้าถึงบริการง่าย ที่สำคัญแนวคิดในการปฏิรูปปี 2556 จะให้ความสำคัญกับการแข่งขันมุ่งสู่ตลาดเสรี ซึ่งหากบริหารไม่รัดกุมก็อาจเกิดปัญหา แทนที่จะกระจายการบริการได้ทุกระดับ อาจได้เพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้าถึง" รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ทางที่ดีที่สุดแทนที่จะตั้งเขตบริการสุขภาพ ควรให้โอกาสโรงพยาบาลพัฒนาตัวเองเป็นองค์การมหาชน มีการตั้งคณะกรรมการในระดับพื้นที่บริหารจัดการ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโรงพยาบาล จะทำให้โรงพยาบาลอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่ปัญหาคือ ฝ่ายบริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะดำเนินการหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีแผนจะทำตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว หลังจากมี รพ.บ้านแพ้ว โดยมีการร่างระเบียบและขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการร่างระเบียบยกระดับ รพ.ราชวิถี และโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปเป็นองค์การมหาชน ซึ่งสมัยนั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งร่างระเบียบกลับมา เพื่อให้ สธ.ปรับแก้ไขเล็กน้อย แต่กลับไม่มีการขับเคลื่อนอีกเลย
วันนี้ (22 ต.ค.) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การปฏิรูประบบสาธารณสุขในปี 2556 แตกต่างจากปี 2544 ซึ่งสมัยนั้นพรรคไทยรักไทยมีแนวคิดปฏิรูประบบโดยให้ความสำคัญในระดับภูมิภาค มีการสร้างโรงพยาบาลชุมชน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เน้นความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ในปีนี้ จะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของตัวระบบให้สามารถแข่งขันได้ และไม่เป็นภาระทางการเงินของประเทศ ที่ชัดเจนคือ การจัดเขตบริการสุขภาพ ที่เน้นการบริหารจัดการพื้นที่ในแง่การแบ่งปันทรัพยากร ซึ่งความเป็นจริงทำได้ยาก รวมถึงให้ความสำคัญกับการรวมศูนย์ของกระทรวงมากกว่า
"การรวมศูนย์เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ส่วนกลาง หรือในเมืองที่มีประชากรเยอะ ทำให้คนในชนบทเข้าถึงบริการยาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนชั้นกลางที่เข้าถึงบริการง่าย ที่สำคัญแนวคิดในการปฏิรูปปี 2556 จะให้ความสำคัญกับการแข่งขันมุ่งสู่ตลาดเสรี ซึ่งหากบริหารไม่รัดกุมก็อาจเกิดปัญหา แทนที่จะกระจายการบริการได้ทุกระดับ อาจได้เพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่เข้าถึง" รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า ทางที่ดีที่สุดแทนที่จะตั้งเขตบริการสุขภาพ ควรให้โอกาสโรงพยาบาลพัฒนาตัวเองเป็นองค์การมหาชน มีการตั้งคณะกรรมการในระดับพื้นที่บริหารจัดการ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโรงพยาบาล จะทำให้โรงพยาบาลอยู่ได้อย่างยั่งยืน แต่ปัญหาคือ ฝ่ายบริหารกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะดำเนินการหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีแผนจะทำตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว หลังจากมี รพ.บ้านแพ้ว โดยมีการร่างระเบียบและขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการร่างระเบียบยกระดับ รพ.ราชวิถี และโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปเป็นองค์การมหาชน ซึ่งสมัยนั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งร่างระเบียบกลับมา เพื่อให้ สธ.ปรับแก้ไขเล็กน้อย แต่กลับไม่มีการขับเคลื่อนอีกเลย