วิศวะ จุฬาฯ จับมือ กฟผ.สร้างสรรค์โครงการ “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง แอมบาสเดอร์” มุ่งเสริมสร้าง “ตัวจริง” วิศวกรไทย สู่ตลาดโลก
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนแบรนด์ให้เป็น “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง” (Chula Engineering) เพื่อพร้อมรับกับการก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล โดยมีสโลแกน “Foundation towards Innovation” อันหมายถึงรากฐานที่มั่นคงของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีมากว่า 100 ปีในการเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพผลิตบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศอีกทั้งยังเป็นแหล่งอ้างอิงความรู้ของแผ่นดินและรากฐานที่มั่นคงนี้จะนำไปสู่ การสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) เพื่อสังคม
โดยสิ่งหนึ่งที่คณะฯ ให้ความสำคัญคือการสร้างต้นแบบของ “Innovative Engineers” หรือ “วิศวกรยุคใหม่” ดังนั้น จึงได้จัดตั้งโครงการ “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง แอมบาสเดอร์” (Chula Engineering Ambassador) ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานิสิตของคณะ ให้มีศักยภาพและมีความรู้ความสามารถทั้งในด้านศาสตร์ทางวิศวกรรมและในด้านอื่นๆ รวมถึงค้นหาตัวแทนนิสิตที่จะมีบทบาทในการขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์สู่สังคมภายนอกในฐานะ “Innovative Engineers หรือวิศวกรยุคใหม่” เพื่อให้พร้อมต่อการก้าวไปสู่สังคมและการพัฒนาประเทศ โดยได้ร่วมมือกับทางบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ใน “กิจกรรม 100 คูณ 100” เพื่อร่วมฉลองในโอกาส ที่ทั้งสององค์กรครบรอบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2556 นี้ นอกจากนี้ ยังได้รับทุนสนับสนุนโครงการ 1,000,000 บาท จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ 400,000 บาท จากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ทางคณะจะเปิดโอกาสให้นิสิตชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ส่วนระยะเวลาดำเนินโครงการจะครอบคลุมตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 กันยายน 2557
นายบุญมาก สมิทธิลีลา รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญที่วิศวกรจะต้องตระหนักถึงคือเรื่องของการติดตามเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต กฟผ.จึงเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาวิศวกรของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมยุคใหม่ มุ่งเน้นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนิสิตให้ก้าวไปสู่การเป็นวิศวกรยุคใหม่ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม อันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมในอนาคต จึงได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ซึ่ง กฟผ.ได้มอบเงินทุนสนับสนุนจำนวน1,000,000 บาท ให้แก่คณะวิศวะฯ จุฬาฯ เพื่อนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของโครงการ
สำหรับรายละเอียดการดำเนินการโครงการ “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง แอมบาสเดอร์” (Chula Engineering Ambassador) ประกอบด้วย จัดการประกวด “Chula Engineering Ambassador” รอบคัดเลือก โดยให้นิสิตแต่ละคนนำเสนอตนเอง คนละ 1 นาที และคัดเลือกให้ได้นิสิตจำนวนไม่เกิน 30 คน การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานและอบรม Workshop กับองค์กรชั้นนำต่างๆ ของประเทศ, กิจกรรมศึกษาดูงานและเยี่ยมชมโรงงาน และบริษัทที่ให้การสนับสนุนโครงการ ร่วมกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ 100x100 ในโอกาสครบรอบ100 ปีของ ทั้งสองหน่วยงาน จัดการแข่งขัน “Investing in Innovation”, จัดกิจกรรมอบรม Workshop กับองค์กรชั้นนำต่างๆ ของประเทศ (ประมาณ 4 ครั้ง) และ จัดการประกวด “Chula Engineering Ambassador” รอบสุดท้าย ประกาศผลผู้ที่จะได้เป็น The winners ของ Chula Engineering Ambassador เพียง 2 คน (ชาย-หญิง)
รางวัลที่จะได้รับ 1.ผู้ที่ชนะเลิศและผู้ที่เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย จากการประกวด “Chula Engineering Ambassador” จะได้ดูงานหรือฝึกงาน ในองค์กรระดับโลก ณ ต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนของวิศวกรยุคใหม่ 2.ผู้ที่ชนะเลิศและผู้ที่เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย จากการประกวด “Chula Engineering Ambassador” จะได้เข้าร่วมกิจกรรม Coffee Talk by Top Leaders ร่วมจิบกาแฟ สนทนากับผู้บริหารองค์กรชั้นนำของประเทศ และได้เยี่ยมชมองค์กรชั้นนำ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนแบรนด์ให้เป็น “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง” (Chula Engineering) เพื่อพร้อมรับกับการก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล โดยมีสโลแกน “Foundation towards Innovation” อันหมายถึงรากฐานที่มั่นคงของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีมากว่า 100 ปีในการเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพผลิตบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศอีกทั้งยังเป็นแหล่งอ้างอิงความรู้ของแผ่นดินและรากฐานที่มั่นคงนี้จะนำไปสู่ การสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) เพื่อสังคม
โดยสิ่งหนึ่งที่คณะฯ ให้ความสำคัญคือการสร้างต้นแบบของ “Innovative Engineers” หรือ “วิศวกรยุคใหม่” ดังนั้น จึงได้จัดตั้งโครงการ “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง แอมบาสเดอร์” (Chula Engineering Ambassador) ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานิสิตของคณะ ให้มีศักยภาพและมีความรู้ความสามารถทั้งในด้านศาสตร์ทางวิศวกรรมและในด้านอื่นๆ รวมถึงค้นหาตัวแทนนิสิตที่จะมีบทบาทในการขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมศาสตร์สู่สังคมภายนอกในฐานะ “Innovative Engineers หรือวิศวกรยุคใหม่” เพื่อให้พร้อมต่อการก้าวไปสู่สังคมและการพัฒนาประเทศ โดยได้ร่วมมือกับทางบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ใน “กิจกรรม 100 คูณ 100” เพื่อร่วมฉลองในโอกาส ที่ทั้งสององค์กรครบรอบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2556 นี้ นอกจากนี้ ยังได้รับทุนสนับสนุนโครงการ 1,000,000 บาท จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ 400,000 บาท จากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ทางคณะจะเปิดโอกาสให้นิสิตชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ส่วนระยะเวลาดำเนินโครงการจะครอบคลุมตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2556 - 30 กันยายน 2557
นายบุญมาก สมิทธิลีลา รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญที่วิศวกรจะต้องตระหนักถึงคือเรื่องของการติดตามเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันและอนาคต กฟผ.จึงเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาวิศวกรของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านวิศวกรรมยุคใหม่ มุ่งเน้นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนิสิตให้ก้าวไปสู่การเป็นวิศวกรยุคใหม่ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม อันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมในอนาคต จึงได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ ซึ่ง กฟผ.ได้มอบเงินทุนสนับสนุนจำนวน1,000,000 บาท ให้แก่คณะวิศวะฯ จุฬาฯ เพื่อนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของโครงการ
สำหรับรายละเอียดการดำเนินการโครงการ “จุฬาฯ เอ็นจิเนียริ่ง แอมบาสเดอร์” (Chula Engineering Ambassador) ประกอบด้วย จัดการประกวด “Chula Engineering Ambassador” รอบคัดเลือก โดยให้นิสิตแต่ละคนนำเสนอตนเอง คนละ 1 นาที และคัดเลือกให้ได้นิสิตจำนวนไม่เกิน 30 คน การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานและอบรม Workshop กับองค์กรชั้นนำต่างๆ ของประเทศ, กิจกรรมศึกษาดูงานและเยี่ยมชมโรงงาน และบริษัทที่ให้การสนับสนุนโครงการ ร่วมกับบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ 100x100 ในโอกาสครบรอบ100 ปีของ ทั้งสองหน่วยงาน จัดการแข่งขัน “Investing in Innovation”, จัดกิจกรรมอบรม Workshop กับองค์กรชั้นนำต่างๆ ของประเทศ (ประมาณ 4 ครั้ง) และ จัดการประกวด “Chula Engineering Ambassador” รอบสุดท้าย ประกาศผลผู้ที่จะได้เป็น The winners ของ Chula Engineering Ambassador เพียง 2 คน (ชาย-หญิง)
รางวัลที่จะได้รับ 1.ผู้ที่ชนะเลิศและผู้ที่เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย จากการประกวด “Chula Engineering Ambassador” จะได้ดูงานหรือฝึกงาน ในองค์กรระดับโลก ณ ต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนของวิศวกรยุคใหม่ 2.ผู้ที่ชนะเลิศและผู้ที่เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย จากการประกวด “Chula Engineering Ambassador” จะได้เข้าร่วมกิจกรรม Coffee Talk by Top Leaders ร่วมจิบกาแฟ สนทนากับผู้บริหารองค์กรชั้นนำของประเทศ และได้เยี่ยมชมองค์กรชั้นนำ