กทม.เผย ช่อง Bangkok City Channel สิ้นสุดสัญญาจ้าง เตรียมควักเงินกว่า 100 ล้านตั้งสถานีโทรทัศน์เองคาดออกอากาศได้ ธ.ค.นี้
วันนี้ (16 ต.ค.) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ช่อง Bangkok City Channel ที่ กทม.ได้มีการว่าจ้างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตรายการ ออกอากาศผ่านช่อง true visions76 ซึ่งสัญญาว่าจ้างได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ดังนั้น กทม.จึงหาแนวทางในการปรับปรุงรายการออกอากาศ เพื่อให้การประชาสัมพันธ์ของ กทม.เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะยังคงนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์เช่นเดิม เนื่องจากการศึกษาการทราบข้อมูลของประชาชน พบว่า สื่อที่ประชาชนเข้าถึงมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ แต่จะเพิ่มช่องออกอากาศผ่านช่องจานดาวเทียนระบบพีเอสไอ หรือจานดำ เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เบื้องต้น กทม.จะตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นเป็นของตัวเองที่ศาลาว่าการ กทม.โดยต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลสถานีโทรทัศน์นี้ ซึ่งการทำงานจะใช้บุคลากรของ กทม.เป็นหลัก ส่วนงบประมาณในการดำเนินการประมาณกว่า 100 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของรายการที่จะนำเสนอ รวมถึงช่องในการออกอากาศ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถออกอากาศได้ภายในเดือน ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า กทม.จะสามารถตั้งสถานีโทรทัศน์เองได้ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น อุปกรณ์ด้านการสื่อสารมีความทันสมัย และราคาก็ไม่สูงมากเหมือนในอดีต
วันนี้ (16 ต.ค.) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ช่อง Bangkok City Channel ที่ กทม.ได้มีการว่าจ้างบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตรายการ ออกอากาศผ่านช่อง true visions76 ซึ่งสัญญาว่าจ้างได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ดังนั้น กทม.จึงหาแนวทางในการปรับปรุงรายการออกอากาศ เพื่อให้การประชาสัมพันธ์ของ กทม.เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะยังคงนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์เช่นเดิม เนื่องจากการศึกษาการทราบข้อมูลของประชาชน พบว่า สื่อที่ประชาชนเข้าถึงมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ แต่จะเพิ่มช่องออกอากาศผ่านช่องจานดาวเทียนระบบพีเอสไอ หรือจานดำ เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารครอบคลุมและเข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เบื้องต้น กทม.จะตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นเป็นของตัวเองที่ศาลาว่าการ กทม.โดยต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลสถานีโทรทัศน์นี้ ซึ่งการทำงานจะใช้บุคลากรของ กทม.เป็นหลัก ส่วนงบประมาณในการดำเนินการประมาณกว่า 100 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดของรายการที่จะนำเสนอ รวมถึงช่องในการออกอากาศ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถออกอากาศได้ภายในเดือน ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า กทม.จะสามารถตั้งสถานีโทรทัศน์เองได้ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น อุปกรณ์ด้านการสื่อสารมีความทันสมัย และราคาก็ไม่สูงมากเหมือนในอดีต