สธ.เตือนผู้ประสบภัย ก่อนเข้าบ้านทำความสะอาดหลังน้ำลด ให้สำรวจการจ่ายกระแสไฟฟ้าก่อน ย้ำอย่าเข้าใกล้เสาเหล็กที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่แช่น้ำ เสี่ยงถูกไฟฟ้าดูดตายได้ แนะหากพบคนถูกไฟฟ้าดูด ห้ามใช้มือช่วยโดยตรง ให้ใช้ไม้แห้งหรือผ้าแห้งแทน
วันนี้ (16 ต.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงน้ำท่วมพบว่ามีผู้ถูกไฟดูดตายเป็นประจำ โดยช่วงที่เสี่ยงเกิดปัญหาสูงสุดคือ ช่วงประชาชนเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ หลังจากระดับน้ำลดลง ทั้งนี้ ตนได้เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนแล้ว ซึ่งการป้องกันไฟฟ้าดูด ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้เสาเหล็กที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือปลั๊กไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ย้ายไม่ทันหรือยังแช่ในน้ำ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะกระจายเป็นวงกว้างในรัศมีไม่ต่ำกว่า 3-5 เมตร เมื่อกลับเข้าบ้านหลังจากน้ำลด ก่อนทำความสะอาดควรตรวจสอบความปลอดภัยก่อน
"การตรวจสอบทำได้โดยโทรศัพท์ไปยังสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ หากยังไม่มีการตัดการจ่ายกระแสไฟ ให้เพิ่มความระมัดระวัง ก่อนเข้าบ้านควรสวมรองเท้าและถุงมือยางที่กันน้ำได้ ดูร่องรอยของระดับน้ำที่ท่วมขังว่า สูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์หรือไม่ หากสูงเกินปลั๊กไฟ อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดิน เพื่อไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า หลังน้ำลดประชาชนไม่ควรนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมมาใช้อีก หากจะนำมาใช้ควรผ่านการตรวจสอบจากช่างไฟฟ้าที่ชำนาญก่อน และต้องสำรวจเมนสวิตช์ สายไฟฟ้าต้องมีสภาพสมบูรณ์ รวมทั้งตรวจปลั๊กไฟ สวิตช์ไม่เปียกชื้น ไม่มีน้ำขัง ประการสำคัญขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก ห้ามแตะสวิตช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กเป็นอันขาด
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า หากพบคนถูกไฟฟ้าดูด ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ จะต้องตัดการจ่ายไฟทันที โดยสับคัตเอาต์ตัดกระแสไฟฟ้าก่อน หากไม่สามารถสับคัตเอาต์ได้ ห้ามใช้มือไปจับต้องคนที่กำลังถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง เพราะจะทำให้ถูกไฟฟ้าดูดและเสียชีวิตด้วยได้ ที่สำคัญร่างกายของผู้ให้ความช่วยเหลือ ต้องไม่เปียกน้ำและสวมรองเท้า หรือให้ยืนในที่แห้ง ใช้ไม้แห้งหรืออุปกรณ์ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ท่อแป๊บพลาสติก เขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด หรือใช้ผ้าแห้ง หรือเชือกดึงผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด
"หากคนที่ถูกไฟฟ้าดูดมีอาการหมดสติ และหัวใจหยุดเต้นให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ซ้อนทับกัน กดลงตรงกลางหน้าอกลึกขนาด 1 นิ้ว ถึง 1 นิ้วครึ่ง อย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที และรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือได้ที่หน่วยกู้ชีพ หมายเลข 1669” อธิบดี คร. กล่าว
วันนี้ (16 ต.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงน้ำท่วมพบว่ามีผู้ถูกไฟดูดตายเป็นประจำ โดยช่วงที่เสี่ยงเกิดปัญหาสูงสุดคือ ช่วงประชาชนเข้าไปทำความสะอาดบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่างๆ หลังจากระดับน้ำลดลง ทั้งนี้ ตนได้เน้นย้ำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนแล้ว ซึ่งการป้องกันไฟฟ้าดูด ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้เสาเหล็กที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือปลั๊กไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ย้ายไม่ทันหรือยังแช่ในน้ำ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าจะกระจายเป็นวงกว้างในรัศมีไม่ต่ำกว่า 3-5 เมตร เมื่อกลับเข้าบ้านหลังจากน้ำลด ก่อนทำความสะอาดควรตรวจสอบความปลอดภัยก่อน
"การตรวจสอบทำได้โดยโทรศัพท์ไปยังสำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ หากยังไม่มีการตัดการจ่ายกระแสไฟ ให้เพิ่มความระมัดระวัง ก่อนเข้าบ้านควรสวมรองเท้าและถุงมือยางที่กันน้ำได้ ดูร่องรอยของระดับน้ำที่ท่วมขังว่า สูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์หรือไม่ หากสูงเกินปลั๊กไฟ อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดิน เพื่อไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า หลังน้ำลดประชาชนไม่ควรนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมมาใช้อีก หากจะนำมาใช้ควรผ่านการตรวจสอบจากช่างไฟฟ้าที่ชำนาญก่อน และต้องสำรวจเมนสวิตช์ สายไฟฟ้าต้องมีสภาพสมบูรณ์ รวมทั้งตรวจปลั๊กไฟ สวิตช์ไม่เปียกชื้น ไม่มีน้ำขัง ประการสำคัญขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก ห้ามแตะสวิตช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กเป็นอันขาด
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า หากพบคนถูกไฟฟ้าดูด ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ จะต้องตัดการจ่ายไฟทันที โดยสับคัตเอาต์ตัดกระแสไฟฟ้าก่อน หากไม่สามารถสับคัตเอาต์ได้ ห้ามใช้มือไปจับต้องคนที่กำลังถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง เพราะจะทำให้ถูกไฟฟ้าดูดและเสียชีวิตด้วยได้ ที่สำคัญร่างกายของผู้ให้ความช่วยเหลือ ต้องไม่เปียกน้ำและสวมรองเท้า หรือให้ยืนในที่แห้ง ใช้ไม้แห้งหรืออุปกรณ์ที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ท่อแป๊บพลาสติก เขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกไฟฟ้าดูด หรือใช้ผ้าแห้ง หรือเชือกดึงผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด
"หากคนที่ถูกไฟฟ้าดูดมีอาการหมดสติ และหัวใจหยุดเต้นให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง ซ้อนทับกัน กดลงตรงกลางหน้าอกลึกขนาด 1 นิ้ว ถึง 1 นิ้วครึ่ง อย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที และรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือได้ที่หน่วยกู้ชีพ หมายเลข 1669” อธิบดี คร. กล่าว