ผลวิจัยเผย นักดื่มหน้าใหม่พุ่ง ปีละ 2.5 แสนคน ปัจจัยหลักมาจากร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ชี้ มูลค่ารวมตลาด “น้ำเมา” ของไทย สร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้ถึง 2 แห่ง สสส.และเครือข่ายฯ เปิดนิทรรศการ “ดื่ม...ดับ” หวังให้ความรู้ เตือนสังคม ไม่ตกเป็นทาสน้ำเมา
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ “ดื่ม...ดับ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัย จัดโดย สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายละครรณรงค์ดีดี๊ดี และศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา ว่า จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2544-2554) พบว่า อัตราการดื่มของคนไทยมีทิศทางลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 32.7 ในปี 2544 เหลือร้อยละ 31.5 ในปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 0.37 โดยปี 2554 ผู้ชายมีอัตราการดื่มมากกว่าผู้หญิง 5 เท่า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็ก เยาวชน และผู้หญิงมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 10.9 ในปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 หากพิจารณาการเพิ่มขึ้นของนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งเพิ่มขึ้นปีละ 2.5 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน และยังพบว่าตัวเลขนี้เป็นนักดื่มประจำถึงร้อยละ 70 โดยแบ่งเป็นนักดื่มชาย ร้อยละ 79.7 และเป็นนักดื่มหญิง ร้อยละ 65.9
“สาเหตุสำคัญทำให้เยาวชนเข้าสู่วงจรนักดื่มหน้าใหม่ เนื่องจากมีร้านเหล้าทั่วประเทศกว่า 6 แสนร้าน และจากผลสำรวจของเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ในเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา พบในรัศมี 300 เมตร รอบสถานศึกษา 12 พื้นที่ในกรุงเทพฯ มีร้านเหล้าถึง 340 ร้าน หรือเฉลี่ย 28 ร้านต่อ 1 มหาวิทยาลัย แต่ที่น่าตกใจคือ พบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบบริเวณหอพัก 105 ร้าน หรือ 1 ใน 3 ของร้านค้ารอบหอพัก ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อย่างชัดเจน” ศ.นพ.อุดมศิลป์ กล่าว
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า สสส.พยายามป้องกันสุขภาพคนไทยจากผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสร้างแรงจูงใจในการลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ จึงได้ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายต่างๆ จัดนิทรรศการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “ดื่ม...ดับ” ภายใต้แนวคิด “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัย” เพื่อสะท้อน ปัญหา อันตราย ผลกระทบ และความสูญเสียจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนัก และรับรู้ถึงโทษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า โดยนิทรรศการ ประกอบไปด้วย 3 โซนหลัก คือ 1.โซนเรื่องเหล้าวันนี้ แสดงผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่านอกจากโรคตับแข็งแล้วยังมีอีก 60 กว่าโรค อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยมูลค่ารวมตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยสูงถึง 2 แสนล้านบาท รวมกับค่าความสูญเสียอีก 1.5 แสนล้านบาท สามารถสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ถึง 2 แห่ง 2.โซนแอลกอฮอล์ ต้นตอปัญหา แสดงข้อเท็จจริง และปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มี 6 ด้าน อาทิ ด้านเยาวชน แอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักศึกษาถูกรีไทร์จากมหาวิทยาลัยมากที่สุด, ด้านสุขภาพ จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) พบว่า สุราเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านทางสุขภาพสูงเป็นอันดับ 1 เป็นต้น และ 3.โซนดื่ม…ดับ แสดงให้เห็นถึงภัยและโทษของแอลกอฮอล์ ไม่ต่างกับการดื่มยาพิษ ที่จะดับชีวิตให้สั้นลง โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ ได้มีส่วนร่วมสัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง ผ่านทาง VDO mapping, ภาพยนตร์สั้น “คุณเลือกได้ Your Choice Your Destiny” รวมไปถึงสื่อรณรงค์ขององค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนการ ลด ละ เลิกสุรา ในรูปแบบ Touch Screen
ทั้งนี้ นิทรรศการได้เปิดให้เข้าชมได้ฟรี ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม - 25 ธันวาคมนี้ เปิดทำการทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 10.00-17.00 น.ยกเว้นวันอาทิตย์ วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สนใจสอบถามได้ ที่ exhibition.thc@thaihealth.or.th หรือ โทร.083-09-1805-6
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ “ดื่ม...ดับ” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัย จัดโดย สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายละครรณรงค์ดีดี๊ดี และศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา ว่า จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2544-2554) พบว่า อัตราการดื่มของคนไทยมีทิศทางลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 32.7 ในปี 2544 เหลือร้อยละ 31.5 ในปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 0.37 โดยปี 2554 ผู้ชายมีอัตราการดื่มมากกว่าผู้หญิง 5 เท่า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็ก เยาวชน และผู้หญิงมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 10.9 ในปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 หากพิจารณาการเพิ่มขึ้นของนักดื่มหน้าใหม่ ซึ่งเพิ่มขึ้นปีละ 2.5 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน และยังพบว่าตัวเลขนี้เป็นนักดื่มประจำถึงร้อยละ 70 โดยแบ่งเป็นนักดื่มชาย ร้อยละ 79.7 และเป็นนักดื่มหญิง ร้อยละ 65.9
“สาเหตุสำคัญทำให้เยาวชนเข้าสู่วงจรนักดื่มหน้าใหม่ เนื่องจากมีร้านเหล้าทั่วประเทศกว่า 6 แสนร้าน และจากผลสำรวจของเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ ในเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา พบในรัศมี 300 เมตร รอบสถานศึกษา 12 พื้นที่ในกรุงเทพฯ มีร้านเหล้าถึง 340 ร้าน หรือเฉลี่ย 28 ร้านต่อ 1 มหาวิทยาลัย แต่ที่น่าตกใจคือ พบการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบบริเวณหอพัก 105 ร้าน หรือ 1 ใน 3 ของร้านค้ารอบหอพัก ถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อย่างชัดเจน” ศ.นพ.อุดมศิลป์ กล่าว
ด้าน ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า สสส.พยายามป้องกันสุขภาพคนไทยจากผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสร้างแรงจูงใจในการลด ละ เลิก การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ จึงได้ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายต่างๆ จัดนิทรรศการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “ดื่ม...ดับ” ภายใต้แนวคิด “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัย” เพื่อสะท้อน ปัญหา อันตราย ผลกระทบ และความสูญเสียจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนัก และรับรู้ถึงโทษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทพ.กฤษดา กล่าวว่า โดยนิทรรศการ ประกอบไปด้วย 3 โซนหลัก คือ 1.โซนเรื่องเหล้าวันนี้ แสดงผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่านอกจากโรคตับแข็งแล้วยังมีอีก 60 กว่าโรค อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยมูลค่ารวมตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยสูงถึง 2 แสนล้านบาท รวมกับค่าความสูญเสียอีก 1.5 แสนล้านบาท สามารถสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ถึง 2 แห่ง 2.โซนแอลกอฮอล์ ต้นตอปัญหา แสดงข้อเท็จจริง และปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มี 6 ด้าน อาทิ ด้านเยาวชน แอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้นักศึกษาถูกรีไทร์จากมหาวิทยาลัยมากที่สุด, ด้านสุขภาพ จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) พบว่า สุราเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านทางสุขภาพสูงเป็นอันดับ 1 เป็นต้น และ 3.โซนดื่ม…ดับ แสดงให้เห็นถึงภัยและโทษของแอลกอฮอล์ ไม่ต่างกับการดื่มยาพิษ ที่จะดับชีวิตให้สั้นลง โดยมุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ ได้มีส่วนร่วมสัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง ผ่านทาง VDO mapping, ภาพยนตร์สั้น “คุณเลือกได้ Your Choice Your Destiny” รวมไปถึงสื่อรณรงค์ขององค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนการ ลด ละ เลิกสุรา ในรูปแบบ Touch Screen
ทั้งนี้ นิทรรศการได้เปิดให้เข้าชมได้ฟรี ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม - 25 ธันวาคมนี้ เปิดทำการทุกวันอังคาร-เสาร์ เวลา 10.00-17.00 น.ยกเว้นวันอาทิตย์ วันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สนใจสอบถามได้ ที่ exhibition.thc@thaihealth.or.th หรือ โทร.083-09-1805-6