รองประธาน คสรท.แนะ สปสช.-สปส.ปรับปรุงระบบบริการ-มาตรฐานการรักษาพยาบาลให้ใกล้ เคียงกันก่อนโอนสิทธิรักษาพยาบาลของประกันสังคม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ชี้ต้องเปิดเวทีประชาพิจารณ์ให้ผู้ประกันตน-ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วม ตัดสินใจ ห่วงกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่มั่นคง เหตุรัฐบาลจัดสรรงบให้แบบรายหัวเป็นรายปี
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงกรณี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เสนอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้ามาดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของประกันสังคมโดยโอน ค่าหัวประกันสังคมให้ สปสช.บริหารจัดการ เพราะมีความถนัดมากกว่า และเมื่อผู้ประกันตนเกษียณการทำงานก็ต้องเข้ามาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ และคาดว่าปี 2557 จะสรุปผลได้ว่า ก่อนที่จะมีโอนสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของประกันสังคมไปให้สปสช.บริหารจัดการทั้ง สปสช.และสำนักงานประกันสังคม (คสปส.) ควรจะประเมินจุดอ่อนในการบริหารจัดการการให้บริการและรักษาพยาบาลของแต่ละหน่วยงานว่ามีเรื่องใดบ้าง ที่ยังเป็นจุดอ่อน เช่น สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การเข้าถึงสิทธิการรักษา ยาที่ใช้รักษา การส่งต่อผู้ป่วย จำนวนแพทย์และพยาบาลมีเพียงพอหรือไม่และทั้งสองระบบก็ปรับปรุงมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันระหว่างทั้งสองระบบ
รองประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นทั้งสองหน่วยงานจึงค่อยมาหารือกันเรื่องการโอนสิทธิรักษาพยาบาล ซึ่งควรจะให้ผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคนทุกคน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ไม่ควรยึดตัวกฎหมายแล้วดำเนินการโอนโดยไม่ให้ผู้ประกันตนและทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องได้ตัดสินใจ จึงควรเปิดเวทีประชาพิจารณ์ผู้ประกันตนทั่วประเทศ รวมไปถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้างและรัฐบาลได้ร่วมกันคิดและตัดสินใจ ว่าควรจะโอนไปหรือไม่ ทุกฝ่ายจะร่วมจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเช่นเดิมหรือไม่และรูปแบบบริหารจัดการควรออกมาเป็นเช่นไร
“คงไม่สามารถตอบหรือตัดสินใจแทนผู้ประกันตนทุกคนได้ แต่ขอให้ความเห็นในฐานะผู้ประกันตนคนหนึ่งก็มองว่าถ้าสปส.และสปสช.มี มาตรฐานการดูแลรักษาพยาบาลที่ใกล้เคียงกันก็ไม่มีอะไรน่าห่วงเรื่องมาตรฐานการรักษา หากจะต้องโอนสิทธิไปซึ่ง สปสช.ควรดูแลรับผิดชอบเฉพาะการบริหารจัดการระบบให้ มีประสิทธิภาพเท่านั้น ส่วนงบค่ารักษานั้นควรให้ สปส.จัดเก็บและดูแลและโอนเงินไปให้ สปสช.โดยส่วนตัวเห็นว่าผู้ประกันตน นายจ้างและรัฐบาลควรยังต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของสิทธิการรักษาเข้ากองทุนประกันสังคมเช่นเดิม เพื่อให้กองทุนสิทธิรักษาพยาบาลของประกันสังคมมีความ ยั่งยืนที่สำคัญโจทย์ใหญ่ที่ สปสช.ต้องแก้ไขให้ได้คือจะทำอย่างไรให้กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความมั่นคงในระยะยาว เนื่องจากเวลานี้รัฐบาลจัดสรรงบแบบรายหัวเป็นรายปีเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแก่ ผู้ประกันตนและประชาชนที่อยู่ในความดูแลของ สปสช.” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงกรณี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เสนอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้ามาดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของประกันสังคมโดยโอน ค่าหัวประกันสังคมให้ สปสช.บริหารจัดการ เพราะมีความถนัดมากกว่า และเมื่อผู้ประกันตนเกษียณการทำงานก็ต้องเข้ามาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ และคาดว่าปี 2557 จะสรุปผลได้ว่า ก่อนที่จะมีโอนสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลของประกันสังคมไปให้สปสช.บริหารจัดการทั้ง สปสช.และสำนักงานประกันสังคม (คสปส.) ควรจะประเมินจุดอ่อนในการบริหารจัดการการให้บริการและรักษาพยาบาลของแต่ละหน่วยงานว่ามีเรื่องใดบ้าง ที่ยังเป็นจุดอ่อน เช่น สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การเข้าถึงสิทธิการรักษา ยาที่ใช้รักษา การส่งต่อผู้ป่วย จำนวนแพทย์และพยาบาลมีเพียงพอหรือไม่และทั้งสองระบบก็ปรับปรุงมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกันให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันระหว่างทั้งสองระบบ
รองประธาน คสรท.กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นทั้งสองหน่วยงานจึงค่อยมาหารือกันเรื่องการโอนสิทธิรักษาพยาบาล ซึ่งควรจะให้ผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคนทุกคน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ไม่ควรยึดตัวกฎหมายแล้วดำเนินการโอนโดยไม่ให้ผู้ประกันตนและทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องได้ตัดสินใจ จึงควรเปิดเวทีประชาพิจารณ์ผู้ประกันตนทั่วประเทศ รวมไปถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งนายจ้างและรัฐบาลได้ร่วมกันคิดและตัดสินใจ ว่าควรจะโอนไปหรือไม่ ทุกฝ่ายจะร่วมจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลเช่นเดิมหรือไม่และรูปแบบบริหารจัดการควรออกมาเป็นเช่นไร
“คงไม่สามารถตอบหรือตัดสินใจแทนผู้ประกันตนทุกคนได้ แต่ขอให้ความเห็นในฐานะผู้ประกันตนคนหนึ่งก็มองว่าถ้าสปส.และสปสช.มี มาตรฐานการดูแลรักษาพยาบาลที่ใกล้เคียงกันก็ไม่มีอะไรน่าห่วงเรื่องมาตรฐานการรักษา หากจะต้องโอนสิทธิไปซึ่ง สปสช.ควรดูแลรับผิดชอบเฉพาะการบริหารจัดการระบบให้ มีประสิทธิภาพเท่านั้น ส่วนงบค่ารักษานั้นควรให้ สปส.จัดเก็บและดูแลและโอนเงินไปให้ สปสช.โดยส่วนตัวเห็นว่าผู้ประกันตน นายจ้างและรัฐบาลควรยังต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของสิทธิการรักษาเข้ากองทุนประกันสังคมเช่นเดิม เพื่อให้กองทุนสิทธิรักษาพยาบาลของประกันสังคมมีความ ยั่งยืนที่สำคัญโจทย์ใหญ่ที่ สปสช.ต้องแก้ไขให้ได้คือจะทำอย่างไรให้กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความมั่นคงในระยะยาว เนื่องจากเวลานี้รัฐบาลจัดสรรงบแบบรายหัวเป็นรายปีเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแก่ ผู้ประกันตนและประชาชนที่อยู่ในความดูแลของ สปสช.” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว