กทม.เล็งเพิ่มสถานีปันปั่น 1,000 สถานี จักรยานอีก 10,000 คัน เน้นเชื่อมตอระบบข่นสงมลชน เร่งปรับปรุงเส้นทางจักรยาน 10 เส้น
วันนี้ (14 ต.ค. ) นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงโครงการจักรยานสาธารณะปันปั่น ว่าเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างทดลองใช้งานเพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯโดยมุ่งเน้นให้สามารถใช้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์ และเรือได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ช่วยในการลดมลภาวะ โดยขณะนี้กทม.มีสถานีปันปั่นทั้งหมด50 สถานี มีจักรยานจำนวน 500 คัน เพื่อให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวฟรี โดยทาง กทม. จะให้ผู้ที่สนใจสมัครบัตรสมาชิก ซึ่งค่าบัตรจะอยู่ที่ 320 บาทต่อคน ในบัตรจะแบ่งเป็นค่าบริการรายปี 100 บาท ค่าประกันอุบัติเหตุ 100 บาท มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ 50,000 บาท ส่วนจำนวนเงินที่เหลือในบัตรอีก100 บาท สามารถเก็บไว้ใช้ในการเช่าจักรยานครั้งต่อไปได้ ทั้งนี้ภายในต้นเดือนพฤศจิกายน จะเริ่มมีเก็บค่าบริการ โดยอัตราค่าบริการ 15 นาทีแรกฟรี ต่อไปชั่วโมงละ 10 บาท เพื่อป้องกันการนำจักรยานไปจอดทิ้งไว้ทั้งวัน อย่างไรก็ตามโครงการปันปั่นได้มีการเปิดโครงการตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.55 จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกผู้ใช้งานจำนวนกว่า 3,200 คน อัตราเฉลี่ยในการใช้งานคือ 250 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ผู้ว่าฯ กทม.มีความตั้งใจจะพัฒนาต่อไปโดยเพิ่มจำนวนสถานีรถจักรยานให้สามารถเชื่อมต่อกับจุดสำคัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ ได้เป็น 1,000 สถานี และเพิ่มจำนวนจักรยานเป็น 10,000 คัน ซึ่งกทม.จะเร่งดำเนินการเพิ่มสถานีรถต่อไป
นางสาวตรีดาว กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.กำลังเร่งพัฒนาปรับปรุงเส้นทางจักรยาน 10 เส้นทาง ส่วนอีก 39 เส้นทางที่จะทำเป็นทางจักรยานเพิ่มเติมนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสำรวจเส้นทางใหม่เพิ่มเติม ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือกับประชาชน เพราะหากประชาชนมีส่วนร่วม ก็จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ทั้งนี้ในปัจจุบันกทม.มีเส้นทางจักรยานที่มีข้อบังคับอย่างถูกต้องแล้วจำนวน 5 เส้นทาง รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ได้แก่ เส้นทางบนถนนพระอาทตย์ ถนนหน้าพระธาตุ ถนนหน้าพระลาน และถนนราชดำเนิน โดยในส่วนของถนนราชดำเนินนั้นเป็นทางจักยานที่อยู่บนทางเท้า แต่อีก 4 เส้นทางจะอยู่บนพื้นผิวการจราจร
วันนี้ (14 ต.ค. ) นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงโครงการจักรยานสาธารณะปันปั่น ว่าเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างทดลองใช้งานเพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯโดยมุ่งเน้นให้สามารถใช้เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์ และเรือได้ อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ช่วยในการลดมลภาวะ โดยขณะนี้กทม.มีสถานีปันปั่นทั้งหมด50 สถานี มีจักรยานจำนวน 500 คัน เพื่อให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยวฟรี โดยทาง กทม. จะให้ผู้ที่สนใจสมัครบัตรสมาชิก ซึ่งค่าบัตรจะอยู่ที่ 320 บาทต่อคน ในบัตรจะแบ่งเป็นค่าบริการรายปี 100 บาท ค่าประกันอุบัติเหตุ 100 บาท มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ 50,000 บาท ส่วนจำนวนเงินที่เหลือในบัตรอีก100 บาท สามารถเก็บไว้ใช้ในการเช่าจักรยานครั้งต่อไปได้ ทั้งนี้ภายในต้นเดือนพฤศจิกายน จะเริ่มมีเก็บค่าบริการ โดยอัตราค่าบริการ 15 นาทีแรกฟรี ต่อไปชั่วโมงละ 10 บาท เพื่อป้องกันการนำจักรยานไปจอดทิ้งไว้ทั้งวัน อย่างไรก็ตามโครงการปันปั่นได้มีการเปิดโครงการตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค.55 จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกผู้ใช้งานจำนวนกว่า 3,200 คน อัตราเฉลี่ยในการใช้งานคือ 250 ครั้งต่อวัน ทั้งนี้โครงการดังกล่าว ผู้ว่าฯ กทม.มีความตั้งใจจะพัฒนาต่อไปโดยเพิ่มจำนวนสถานีรถจักรยานให้สามารถเชื่อมต่อกับจุดสำคัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ ได้เป็น 1,000 สถานี และเพิ่มจำนวนจักรยานเป็น 10,000 คัน ซึ่งกทม.จะเร่งดำเนินการเพิ่มสถานีรถต่อไป
นางสาวตรีดาว กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กทม.กำลังเร่งพัฒนาปรับปรุงเส้นทางจักรยาน 10 เส้นทาง ส่วนอีก 39 เส้นทางที่จะทำเป็นทางจักรยานเพิ่มเติมนั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสำรวจเส้นทางใหม่เพิ่มเติม ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือกับประชาชน เพราะหากประชาชนมีส่วนร่วม ก็จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ทั้งนี้ในปัจจุบันกทม.มีเส้นทางจักรยานที่มีข้อบังคับอย่างถูกต้องแล้วจำนวน 5 เส้นทาง รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ได้แก่ เส้นทางบนถนนพระอาทตย์ ถนนหน้าพระธาตุ ถนนหน้าพระลาน และถนนราชดำเนิน โดยในส่วนของถนนราชดำเนินนั้นเป็นทางจักยานที่อยู่บนทางเท้า แต่อีก 4 เส้นทางจะอยู่บนพื้นผิวการจราจร