สธ.เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกเข้าสู่ปลายฤดูกาลระบาด ย้ำจังหวัดใหญ่ๆ และ กทม.ปริมณฑล โดยเฉพาะจังหวัดที่มีน้ำท่วมขังนาน มีปัญหายุงชุกชุม ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ ล่าสุดตั้งเเต่ต้นปีเสียชีวิตเเล้ว 126 ราย
วันนี้ (13 ต.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ปลายฤดูกาลระบาดของโรคไข้เลือดออก แนวโน้มผู้ป่วยในทุกจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดเดือนกันยายนพบผู้ป่วย 9,000 กว่าราย จากเดิมที่พบผู้ป่วยเดือนละกว่า 20,000 ราย อย่างไรก็ตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 2-8 ตุลาคม 2556 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2,700 ราย ถึงแม้ว่าจะลดลงจากเดิมที่เคยมีผู้ป่วย 5,000-6,000 รายต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังสูงกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้มีผู้ป่วยไม่เกิน 500 รายต่อสัปดาห์ และการสุ่มสำรวจในโรงพยาบาล โรงเรียน วัด มัสยิด รอบบ้านของผู้ป่วยไข้เลือดออก ยังพบภาชนะขังน้ำที่มีลูกน้ำยุงลาย โดยได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัด เข้มข้นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ 10 จังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีผู้ป่วยสูงถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งประเทศ ดำเนินการป้องกันควบคุมโรค และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งในช่วง 3 เดือนต่อจากนี้ ตั้งแต่ตุลาคม จนถึงธันวาคม เป็นฤดูหนาวยุงลาย จะไม่ค่อยวางไข่และมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงน้อยแต่เป็นช่วงที่สำคัญที่ต้องรณรงค์ที่ต้องควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้โรคระบาดในปีถัดไป จึงต้องดำเนินการควบคุมโรคต่อไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า ที่น่าห่วงในขณะนี้ จังหวัดที่น้ำท่วมขังนาน มียุงชุกชุม ผู้ประสบภัยที่อพยพจากบ้านมาพักบนถนน หรือที่พักพิงชั่วคราว อาจขาดอุปกรณ์ในการป้องกันยุง รวมทั้งจังหวัดที่น้ำลดระดับเข้าสู่ระยะฟื้นฟู จะมีเศษวัสดุ ภาชนะ หรือขยะที่มีน้ำขังกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมาก ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เข้มข้นการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนทุกครัวเรือน ปรับปรุงความสะอาดสิ่งแวดล้อมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงทุก 7 วันเพื่อไม่ให้ไข้เลือดออกกลับมาระบาดซ้ำ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2556 ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 133,377 ราย เสียชีวิต 126 ราย ในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 2,722 ราย เสียชีวิต 2 ราย พื้นที่ที่ยังเป็นปัญหามี 11 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ สระบุรี นนทบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี และนราธิวาส สำหรับพื้นที่ กทม.พบผู้ป่วยสะสม 10,244 ราย โดยเขตบางกะปิสูงสุด 415 ราย มากสุดที่แขวงหัวหมาก 259 ราย
วันนี้ (13 ต.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ขณะนี้เข้าสู่ปลายฤดูกาลระบาดของโรคไข้เลือดออก แนวโน้มผู้ป่วยในทุกจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอดเดือนกันยายนพบผู้ป่วย 9,000 กว่าราย จากเดิมที่พบผู้ป่วยเดือนละกว่า 20,000 ราย อย่างไรก็ตาม ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 2-8 ตุลาคม 2556 พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2,700 ราย ถึงแม้ว่าจะลดลงจากเดิมที่เคยมีผู้ป่วย 5,000-6,000 รายต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังสูงกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้มีผู้ป่วยไม่เกิน 500 รายต่อสัปดาห์ และการสุ่มสำรวจในโรงพยาบาล โรงเรียน วัด มัสยิด รอบบ้านของผู้ป่วยไข้เลือดออก ยังพบภาชนะขังน้ำที่มีลูกน้ำยุงลาย โดยได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัด เข้มข้นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ 10 จังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีผู้ป่วยสูงถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยทั้งประเทศ ดำเนินการป้องกันควบคุมโรค และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งในช่วง 3 เดือนต่อจากนี้ ตั้งแต่ตุลาคม จนถึงธันวาคม เป็นฤดูหนาวยุงลาย จะไม่ค่อยวางไข่และมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงน้อยแต่เป็นช่วงที่สำคัญที่ต้องรณรงค์ที่ต้องควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้โรคระบาดในปีถัดไป จึงต้องดำเนินการควบคุมโรคต่อไป
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า ที่น่าห่วงในขณะนี้ จังหวัดที่น้ำท่วมขังนาน มียุงชุกชุม ผู้ประสบภัยที่อพยพจากบ้านมาพักบนถนน หรือที่พักพิงชั่วคราว อาจขาดอุปกรณ์ในการป้องกันยุง รวมทั้งจังหวัดที่น้ำลดระดับเข้าสู่ระยะฟื้นฟู จะมีเศษวัสดุ ภาชนะ หรือขยะที่มีน้ำขังกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมาก ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เข้มข้นการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนทุกครัวเรือน ปรับปรุงความสะอาดสิ่งแวดล้อมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงทุก 7 วันเพื่อไม่ให้ไข้เลือดออกกลับมาระบาดซ้ำ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2556 ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 133,377 ราย เสียชีวิต 126 ราย ในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วย 2,722 ราย เสียชีวิต 2 ราย พื้นที่ที่ยังเป็นปัญหามี 11 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ สระบุรี นนทบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี และนราธิวาส สำหรับพื้นที่ กทม.พบผู้ป่วยสะสม 10,244 ราย โดยเขตบางกะปิสูงสุด 415 ราย มากสุดที่แขวงหัวหมาก 259 ราย