xs
xsm
sm
md
lg

อจท.เตรียมผลิตสื่อไอที นำร่องโรงเรียน สพฐ.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อจท.เตรียมผลิตสื่อไอที นำ “อักษร ทวิก” เสนอในรูปแบบสารคดีสั้นใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาคณิต วิทย์ สังคม ตั้งแต่ประถม-มัธยม เล็งนำร่องโรงเรียน สพฐ.1,000 โรง

นายตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทาง อจท.ได้ใช้นวัตกรรมความรู้และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ กับผู้เรียนและผู้สอน อาทิ การออกแบบคู่มือครูและแผนการเรียนรู้เพื่อช่วยครูในการเตรียมการเรียนการสอนในชั้นเรียน รวมทั้งยังพัฒนาออกแบบหนังสือเรียนในรูปแบบพิมพ์ 4 สี ทั้งเล่มและนำภาพ infographic เข้ามาประกอบในบทเรียนเพื่อสร้างความน่าสนใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับ ผู้เรียน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษานั้นมีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเวลานี้ อจท.ได้พัฒนา “Learning Ecosystem - วิถีการเรียนรู้แบบครบวงจร” ขึ้นถือเป็นการปฏิวัติวงการสื่อการเรียนการสอนอีกครั้ง โดยการบูรณาการองค์ความ รู้ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและแรงบันดาลใจในการเรียนรู้อย่างสูงสุดผ่านสื่อการเรียนการสอนต่างๆ อาทิ คู่มือครู หนังสือเรียน สื่อหนังสือเสริมความรู้อิงหลักสูตร, สื่อวิดีโอ สื่อดิจิตอล เป็นต้น ในการนำไปสู่ระบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะสำหรับเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ ต้องพร้อมสำหรับสนามแข่งขันระดับโลก

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษา ทางบริษัทได้นำสื่อการเรียนการสอนในรูปของภาพยนตร์สารคดีสั้น “ทวิก” มาดำเนินการแปลและเรียบเรียง พร้อมพากย์เสียงในฉบับภาษาไทยโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ และนำเสนอในนาม “อักษร ทวิก” ด้วยคุณภาพของภาพยนตร์สารคดีสั้นและวิธีการนำเสนอที่ดีเยี่ยม “อักษร ทวิก” จะทำหน้าที่เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงมัธยมศึกษา โดยสามารถนำมาเรียนควบคู่ไปกับหนังสือเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับครูและนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ทำให้นักเรียนเข้าใจหลักการสำคัญของวิชาต่างๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม จะมีการนำร่องการใช้อักษรทวิกในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประมาณ 1,000 โรง ครอบคลุมทุกพื้นที่ด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น