สธ.เตรียมหารือ มท.ก.แรงงาน และ สมช.จัดทำระเบียบสำนักนายกฯ เสนอเข้า ครม.จีบนายกฯปู เป็นประธานดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว หลังต้องสูญงบปีละ 250 ล้าน พร้อมถก กทม.เพิ่มการกระจายตัวสถานพยาบาลพื้นที่หนองจอก ลาดกระบัง
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การแพทย์ไทยจะไปทางไหนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ว่า ปัจจุบันระบบสาธารณสุขของไทยต้องจ่ายค่าดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มแรงงานต่างด้าวไปฟรีๆ ปีละ 250 ล้านบาท แม้จะเป็นการรักษาตามหลักมนุษยธรรม แต่ก็ต้องป้องกันไม่ให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะหากไม่ดูแลจะส่งผลกระทบต่อคนไทย โดยเฉพาะการแพร่กระจายของโรค ที่น่าห่วงคือแรงงานต่างด้าวพร้อมผู้ติดตามที่เข้ามาอย่างแอบแฝงมีประมาณ 3 ล้านคน มีเพียงกว่า 1 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ดังนั้น จะต้องหาทางรับรองสถานะกลุ่มคนแอบแฝงให้ขึ้นทะเบียนถูกต้องให้ได้ เพื่อที่จะได้ให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพในราคาประมาณ 2,000 กว่าบาท ขณะที่เด็กอยู่ที่ 365บาท
“การรับรองสถานะแรงงานกลุ่มนี้จะต้องทำงานร่วมกัน อาทิ สธ. กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยจะจัดทำเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งจะตั้งเป็นคณะกรรมการดูแล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้มีการทำงานและแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สธ.ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะพื้นที่ชายแดน หรือรองรับเออีซีเท่านั้น ในส่วนของพื้นที่ กทม.จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีปัญหาในเรื่องการกระจายตัวของสถานพยาบาลที่ดูแลคน กทม.อยู่ เบื้องต้นได้หารือกับทาง กทม.ถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะทำอย่างไรให้เกิดการกระจายตัวของสถานพยาบาลมากขึ้น เพราะเท่าที่ทราบบริเวณลาดกระบัง กับหนองจอก ยังขาดสถานพยาบาล หรือแม้แต่สถานีอนามัยก็ยังน้อย โดยการหารือกับ กทม.จะร่วมกันในการกระจายหน่วยบริการเพิ่มขึ้น เพื่อดูแลคนในแต่ละพื้นที่ให้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง
“ส่วนใหญ่โรงพยาบาลใน สธ.จะกระจายตัวมากในพื้นที่ต่างจังหวัด ใน กทม.แม้จะมีโรงพยาบาล แต่ก็เป็นโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ ซึ่งเน้นวิชาการ ไม่มีเครือข่ายมากนัก จึงจะร่วมกับ กทม.ในการขยายหน่วยบริการตรงนี้” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การแพทย์ไทยจะไปทางไหนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” ว่า ปัจจุบันระบบสาธารณสุขของไทยต้องจ่ายค่าดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มแรงงานต่างด้าวไปฟรีๆ ปีละ 250 ล้านบาท แม้จะเป็นการรักษาตามหลักมนุษยธรรม แต่ก็ต้องป้องกันไม่ให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เพราะหากไม่ดูแลจะส่งผลกระทบต่อคนไทย โดยเฉพาะการแพร่กระจายของโรค ที่น่าห่วงคือแรงงานต่างด้าวพร้อมผู้ติดตามที่เข้ามาอย่างแอบแฝงมีประมาณ 3 ล้านคน มีเพียงกว่า 1 ล้านคนที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ดังนั้น จะต้องหาทางรับรองสถานะกลุ่มคนแอบแฝงให้ขึ้นทะเบียนถูกต้องให้ได้ เพื่อที่จะได้ให้ซื้อบัตรประกันสุขภาพในราคาประมาณ 2,000 กว่าบาท ขณะที่เด็กอยู่ที่ 365บาท
“การรับรองสถานะแรงงานกลุ่มนี้จะต้องทำงานร่วมกัน อาทิ สธ. กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยจะจัดทำเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ พร้อมทั้งจะตั้งเป็นคณะกรรมการดูแล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อให้มีการทำงานและแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สธ.ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะพื้นที่ชายแดน หรือรองรับเออีซีเท่านั้น ในส่วนของพื้นที่ กทม.จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีปัญหาในเรื่องการกระจายตัวของสถานพยาบาลที่ดูแลคน กทม.อยู่ เบื้องต้นได้หารือกับทาง กทม.ถึงเรื่องดังกล่าวว่า จะทำอย่างไรให้เกิดการกระจายตัวของสถานพยาบาลมากขึ้น เพราะเท่าที่ทราบบริเวณลาดกระบัง กับหนองจอก ยังขาดสถานพยาบาล หรือแม้แต่สถานีอนามัยก็ยังน้อย โดยการหารือกับ กทม.จะร่วมกันในการกระจายหน่วยบริการเพิ่มขึ้น เพื่อดูแลคนในแต่ละพื้นที่ให้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง
“ส่วนใหญ่โรงพยาบาลใน สธ.จะกระจายตัวมากในพื้นที่ต่างจังหวัด ใน กทม.แม้จะมีโรงพยาบาล แต่ก็เป็นโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ ซึ่งเน้นวิชาการ ไม่มีเครือข่ายมากนัก จึงจะร่วมกับ กทม.ในการขยายหน่วยบริการตรงนี้” รมว.สาธารณสุข กล่าว