กทม.เผยแค่ 3 ปี มีโรงเรียนเจอวิกฤตอาหารเป็นพิษถึง 24 แห่ง นักเรียนป่วยกว่า 1.4 พันคน แค่ปี 2556 เฉพาะสังกัด กทม.ป่วยแล้ว 8 แห่ง เหตุสุขาภิบาลไม่ได้มาตรฐาน สั่งทุกโรงเรียนทำความสะอาดถังเก็บน้ำ และย้ายจากใต้ดินขึ้นบนดินแทน กำชับหาวัตถุดิบสดสะอาดมาปรุง
วันนี้ (26 ก.ย.) ที่ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และนายอรรถพร สุวันธนเดชา รองปลัด กทม.ร่วมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนสังกัด กทม.
นางผุสดี กล่าวว่า จากข้อมูลรายงานของสำนักอนามัยพบว่า ในปี 2553-2556 พบโรงเรียนที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษจำนวน 24 โรงเรียน และส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรงอาหารเป็นพิษจำนวน 1,457 คน ซึ่งในปี 2556 พบโรงเรียนที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษถึง 11 โรงเรียน มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 703 คน โดยพบเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัด กทม.8 แห่ง คือ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โรงเรียนบ้านนายเหรียญ โรงเรียนวัดบางพลัด โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา โรงเรียนประชานิเวศน์ โรงเรียนวัดคู้บอน และโรงเรียนวัดบำรุงรื่น
นางผุสดี กล่าวอีกว่า สาเหตุหลักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารและน้ำดื่มในโรงเรียน ซึ่งจากการสำรวจของสำนักอนามัยพบว่า สุขาภิบาลด้านอาหารในโรงเรียนสังกัด กทม.ยังไม่ได้คุณภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างของห้องครัวและโรงอาหาร พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ประกอบอาหารและที่รับประทานอาหารสำหรับนักเรียนมีไม่เพียงพอ 2.ระบบกักเก็บน้ำในโรงเรียน มีถังเก็บน้ำใต้ดินและอยู่ใกล้บ่อเกรอะ เมื่อตกร้าวทำให้เกิดการปนเปื้อน 3.วัตถุดิบในการผลิตอาหาร ไม่มีคุณภาพ และมีการจัดเก็บไม่เหมาะสม 4.อาหารปรุงสำเร็จ จะทำอาหารในปริมาณมากทำให้สุกได้ไม่ทั่วถึง และทำไว้ก่อนการรับประทานนานอาหารจึงไม่สดใหม่และเกิดเชื้อโรค 5.นมโรงเรียนมีปัญหาด้านการจัดเก็บไม่เหมาะสมทำให้นมเสื่อมสภาพ 6.ผู้สัมผัสอาหาร ไม่มีสุขอนามัยที่ดีทำให้เป็นสื่อของการเป็นพาหะนำโรค และ 7.การจำหน่ายอาหารภายนอกโรงเรียน ซึ่งอาหารอาจไม่ถูกสุขลักษณะ และมีเชื้อโรคปนเปื้อน
นางผสุดี กล่าวต่อว่า กทม.มีมาตรการเร่งด่วนสำหรับดำเนินอาหารปลอดภัยในโรงเรียนระบบจัดคือ ให้ทุกโรงเรียนทำความสะอาดถังเก็บน้ำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และย้ายถังน้ำจากใต้ดินมาไว้บนดิน ส่วนเรื่องวัตถุดิบในการปรุงอาหาร กทม.ได้กำชับไปยังโรงเรียนต่างๆ ให้จัดหาวัตถุดิบในการปรุงอาหารจากแหล่งที่มีใบอนุญาตเพื่อรับรองความปลอดภัยของวัตถุดิบ อีกทั้งโรงเรียนต้องมีมาตรการการตรวจรับอาหาร ดูความสะอาดในเบื้องต้น ส่วนในระยะยาวโรงเรียนในสังกัด กทม.จะต้องปรับปรุงโครงสร้างภายในโรงเรียนโดยจัดพื้นที่ในการปรุงอาหารและพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารให้เป็นระบบต่อไป
วันนี้ (26 ก.ย.) ที่ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และนายอรรถพร สุวันธนเดชา รองปลัด กทม.ร่วมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการอาหารปลอดภัยในโรงเรียนสังกัด กทม.
นางผุสดี กล่าวว่า จากข้อมูลรายงานของสำนักอนามัยพบว่า ในปี 2553-2556 พบโรงเรียนที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษจำนวน 24 โรงเรียน และส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรงอาหารเป็นพิษจำนวน 1,457 คน ซึ่งในปี 2556 พบโรงเรียนที่เกิดโรคอาหารเป็นพิษถึง 11 โรงเรียน มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 703 คน โดยพบเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัด กทม.8 แห่ง คือ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม โรงเรียนบ้านนายเหรียญ โรงเรียนวัดบางพลัด โรงเรียนวัดปลูกศรัทธา โรงเรียนประชานิเวศน์ โรงเรียนวัดคู้บอน และโรงเรียนวัดบำรุงรื่น
นางผุสดี กล่าวอีกว่า สาเหตุหลักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหารและน้ำดื่มในโรงเรียน ซึ่งจากการสำรวจของสำนักอนามัยพบว่า สุขาภิบาลด้านอาหารในโรงเรียนสังกัด กทม.ยังไม่ได้คุณภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ 1.ด้านโครงสร้างของห้องครัวและโรงอาหาร พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ประกอบอาหารและที่รับประทานอาหารสำหรับนักเรียนมีไม่เพียงพอ 2.ระบบกักเก็บน้ำในโรงเรียน มีถังเก็บน้ำใต้ดินและอยู่ใกล้บ่อเกรอะ เมื่อตกร้าวทำให้เกิดการปนเปื้อน 3.วัตถุดิบในการผลิตอาหาร ไม่มีคุณภาพ และมีการจัดเก็บไม่เหมาะสม 4.อาหารปรุงสำเร็จ จะทำอาหารในปริมาณมากทำให้สุกได้ไม่ทั่วถึง และทำไว้ก่อนการรับประทานนานอาหารจึงไม่สดใหม่และเกิดเชื้อโรค 5.นมโรงเรียนมีปัญหาด้านการจัดเก็บไม่เหมาะสมทำให้นมเสื่อมสภาพ 6.ผู้สัมผัสอาหาร ไม่มีสุขอนามัยที่ดีทำให้เป็นสื่อของการเป็นพาหะนำโรค และ 7.การจำหน่ายอาหารภายนอกโรงเรียน ซึ่งอาหารอาจไม่ถูกสุขลักษณะ และมีเชื้อโรคปนเปื้อน
นางผสุดี กล่าวต่อว่า กทม.มีมาตรการเร่งด่วนสำหรับดำเนินอาหารปลอดภัยในโรงเรียนระบบจัดคือ ให้ทุกโรงเรียนทำความสะอาดถังเก็บน้ำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และย้ายถังน้ำจากใต้ดินมาไว้บนดิน ส่วนเรื่องวัตถุดิบในการปรุงอาหาร กทม.ได้กำชับไปยังโรงเรียนต่างๆ ให้จัดหาวัตถุดิบในการปรุงอาหารจากแหล่งที่มีใบอนุญาตเพื่อรับรองความปลอดภัยของวัตถุดิบ อีกทั้งโรงเรียนต้องมีมาตรการการตรวจรับอาหาร ดูความสะอาดในเบื้องต้น ส่วนในระยะยาวโรงเรียนในสังกัด กทม.จะต้องปรับปรุงโครงสร้างภายในโรงเรียนโดยจัดพื้นที่ในการปรุงอาหารและพื้นที่สำหรับรับประทานอาหารให้เป็นระบบต่อไป