“ชาย” สั่งปรับงาน สวธ.ใหม่ สนองนโยบายรัฐ เตรียมต่อยอดมรดกวัฒนธรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างเป็นจุดขายงานวัฒนธรรม
วันนี้ (24 ก.ย.) ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา ครบ 3 ปี โดย นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบัน สวธ.ได้มีการเพิ่มภารกิจของงานมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ตนได้มีการวิเคราะห์ระบบงานของ สวธ.พบว่า มีการทำงานที่ยึดติดกับภาพลักษณ์เดิมๆ ทำให้มีการขับเคลื่อนงานที่ล่าช้า และไม่ค่อยมีผลงานใหม่ๆ ทำให้ผลการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น ในปี 2557 และการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ตนจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร สวธ.ใหม่ เพื่อให้เข้ากับนโยบายรัฐบาล และ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเข้าสู่กระทรวงกึ่งเศรษฐกิจ โดยเน้นการสร้างเนื้องานเชิงรุก การต่อยอดให้สามารถนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้หลายด้าน เพื่อให้มีการดำเนินงานที่คล่องตัว ทั้งยังต้องการให้บุคลากรของ สวธ.เปิดรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ เพื่อสร้างโอกาสในการผลิตงานให้ตอบรับสังคมยุคใหม่อีกด้วย
พร้อมกันนี้จะเร่งผลักดันการต่อยอดเรื่องมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ รวมถึงงานวิจัยเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องศิลปะการแสดง ภูมิปัญญา งานช่างฝีมือพื้นบ้าน และความเชื่อ ไม่ใช่เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วก็เก็บไว้เฉยๆ ที่สำคัญไม่ต้องการให้การสรรงบประมาณกลายเป็นงบเบี้ยหัวแตก ในเบื้องต้นได้มีการหารือร่วมกับสภาวัฒนธรรมทั่วประเทศ ในการนำรากวัฒนธรรมมาต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่า และสร้างจุดขายให้มีความน่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าโอทอป หรือ งานช่างฝีมือ ซึ่งต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์ของไทยไม่โดดเด่นเท่าที่ควร ดังนั้น จึงต้องกลับมาคิดว่าทำอย่างไรที่จะตอบโจทย์งานวัฒนธรรมสามารถต่อยอดให้งานมีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่นให้ได้ เช่นเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ที่สร้างจุดขายให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ตนได้มีนโยบายเพิ่มจุดขายของงานเทศกาล ประเพณีทางวัฒนธรรมในจังหวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน โดยสร้างให้เป็นเทศกาลต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาเที่ยวได้นานมากขึ้น และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดให้มากขึ้น โดยจะผลักดันให้มีการจัดขึ้นทุกจังหวัด หรือให้มีการรวมเป็นกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีความเข้มเข็ง ให้คนไทยได้เห็นคุณค่า และรักษา คงเอกลักษณ์เอาไว้
วันนี้ (24 ก.ย.) ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา ครบ 3 ปี โดย นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า ปัจจุบัน สวธ.ได้มีการเพิ่มภารกิจของงานมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ตนได้มีการวิเคราะห์ระบบงานของ สวธ.พบว่า มีการทำงานที่ยึดติดกับภาพลักษณ์เดิมๆ ทำให้มีการขับเคลื่อนงานที่ล่าช้า และไม่ค่อยมีผลงานใหม่ๆ ทำให้ผลการประเมินจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น ในปี 2557 และการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ตนจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร สวธ.ใหม่ เพื่อให้เข้ากับนโยบายรัฐบาล และ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเข้าสู่กระทรวงกึ่งเศรษฐกิจ โดยเน้นการสร้างเนื้องานเชิงรุก การต่อยอดให้สามารถนำองค์ความรู้มาใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้หลายด้าน เพื่อให้มีการดำเนินงานที่คล่องตัว ทั้งยังต้องการให้บุคลากรของ สวธ.เปิดรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ เพื่อสร้างโอกาสในการผลิตงานให้ตอบรับสังคมยุคใหม่อีกด้วย
พร้อมกันนี้จะเร่งผลักดันการต่อยอดเรื่องมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ รวมถึงงานวิจัยเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องศิลปะการแสดง ภูมิปัญญา งานช่างฝีมือพื้นบ้าน และความเชื่อ ไม่ใช่เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วก็เก็บไว้เฉยๆ ที่สำคัญไม่ต้องการให้การสรรงบประมาณกลายเป็นงบเบี้ยหัวแตก ในเบื้องต้นได้มีการหารือร่วมกับสภาวัฒนธรรมทั่วประเทศ ในการนำรากวัฒนธรรมมาต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่า และสร้างจุดขายให้มีความน่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น สินค้าโอทอป หรือ งานช่างฝีมือ ซึ่งต้องยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์ของไทยไม่โดดเด่นเท่าที่ควร ดังนั้น จึงต้องกลับมาคิดว่าทำอย่างไรที่จะตอบโจทย์งานวัฒนธรรมสามารถต่อยอดให้งานมีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่นให้ได้ เช่นเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ที่สร้างจุดขายให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ตนได้มีนโยบายเพิ่มจุดขายของงานเทศกาล ประเพณีทางวัฒนธรรมในจังหวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน โดยสร้างให้เป็นเทศกาลต่อเนื่อง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวใช้เวลาเที่ยวได้นานมากขึ้น และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดให้มากขึ้น โดยจะผลักดันให้มีการจัดขึ้นทุกจังหวัด หรือให้มีการรวมเป็นกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีความเข้มเข็ง ให้คนไทยได้เห็นคุณค่า และรักษา คงเอกลักษณ์เอาไว้