สธ.เตือนระวัง 5 โรคมากับน้ำท่วม ทั้งโรคทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ฉี่หนู ตาแดง และไข้เลือดออก พร้อมแนะวิธีป้องกัน หวังช่วยผู้ประสบภัยเตรียมพร้อมและรับมือ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายจังหวัดได้รับผลกระทบและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน จึงขอเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ดังนี้ 1.โรคทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ประชาชนควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด ปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอ หรือจาม และล้างมือบ่อยๆ 2.โรคทางเดินอาหาร อาทิ อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ เป็นต้น ประชาชนควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และสะอาด อาหารกระป๋องต้องดูวันหมดอายุ ไม่บวมหรือเป็นสนิม ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และหลังขับถ่าย ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำหากไม่มีห้องน้ำ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก แล้วใส่ปูนขาวจำนวนพอสมควร ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงดำ (ถุงขยะ)
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 3.โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้าโรค วิธีป้องกันหลีกคือเลี่ยงการลุยน้ำย่ำโคลนโดยไม่จำเป็น ถ้ามีบาดแผลต้องป้องกันไม่ให้สัมผัสถูกน้ำโดยสวมรองเท้าบูตยาง หากต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้องรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุด 4.โรคตาแดง วิธีป้องกันคือถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา และพักการใช้สายตามากนัก ผู้ป่วยโรคตาแดงควรแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาด และ 5.โรคไข้เลือดออก มีวิธีป้องกันคือ ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวันโดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย คว่ำหรือทำลายไม่มีให้น้ำขัง ในบริเวณบ้านทุกสัปดาห์โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำ
"สำหรับที่ จ.สุรินทร์ ขณะนี้ยังมีน้ำท่วมที่โรงพยาบาล(รพ.)ศีขรภูมิ และรพ.สำโรงทาบ แต่เปิดบริการได้ 24ชั่วโมง ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)ท่วม 5 แห่ง อยู่ในอ.สำโรงทาบ 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.กะเลา รพ.สต.เกาะแก้ว รพ.สต.สะโน และอีก 2 แห่งในอ.รัตนบุรี ได้แก่ รพ.สต.หนองกระทุม และ รพ.สต.ดอนแรด ระดับน้ำท่วม 30-50 เซนติเมตร ประชาชนเดินทางลำบาก ได้เพิ่มหน่วยบริการที่ศาลากลางบ้าน อบต.และที่บ้านผู้ใหญ่บ้านแทน และมีรถ 6 ล้อรับส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกเยี่ยมบ้าน หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดและผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกวัน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกตรวจรักษาประชาชนวันละ6 หน่วย ยังไม่พบโรคระบาด โดยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ6 ราย สูญหาย 1 คน" รมว.ศาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขอเตือนประชาชนให้เฝ้าระวัง ป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ควรระมัดระวังมิให้เกิดอุบัติเหตุจากการถูกของมีคมและสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยการจัดบ้านให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ ไม่แนะนำให้ออกไปหาปลาในพื้นที่น้ำท่วมขัง เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดเหตุจมน้ำ หากต้องช่วยคนจมน้ำ ห้ามอุ้มพาดบ่า กระโดด วิ่งรอบสนาม วางบนกระทะคว่ำหรือรีดน้ำออก เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น กรณีผู้จมน้ำไม่หายใจให้ช่วยด้วยการเป่าปากตามจังหวะหายใจเข้าออก และนำส่งโรงพยาบาลทันทีทุกราย สิ่งสำคัญก่อนที่น้ำจะท่วมควรยกปลั๊กให้สูงพ้นแนวน้ำ เมื่อน้ำท่วมให้สับสวิตช์ไฟฟ้าลง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด พร้อมทั้งเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคมในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเหยียบของแหลม ของมีคม ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.ประจำเครือข่ายสุขภาพที่ 6 กล่าวว่า สถานการณ์ที่อ.กบินทร์บุรีวันนี้ระดับน้ำเริ่มลดลง ได้ให้รพ.กบินทร์บุรี เปิดสายด่วน 1669รับแจ้งปัญหาหรือการขอความช่วยเหลือทุกเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน มีผู้โทรเพิ่มขึ้นจากปกติ 2 เท่าตัว ตลอดช่วงน้ำท่วม5 วันนี้ มีผู้ถูกงูแมวเซากัด 1 ราย ฉีดเซรุ่มให้ และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการในพื้นที่ที่เขถึงยากทุกวัน พบผู้ป่วยประมาณ 700 ราย และวางแผนประเมินสุขภาพจิตทั้งอำเภอ หลังน้ำลดในสัปดาห์หน้านี้ และได้เตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมที่รพเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอย่างเต็มที่ รวมทั้งป้องกัน รพ.สต.ในพื้นที่เสี่ยงอีก 12 แห่งด้วย
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายจังหวัดได้รับผลกระทบและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน จึงขอเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ดังนี้ 1.โรคทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ประชาชนควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด ปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูเวลาไอ หรือจาม และล้างมือบ่อยๆ 2.โรคทางเดินอาหาร อาทิ อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ไทฟอยด์ เป็นต้น ประชาชนควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และสะอาด อาหารกระป๋องต้องดูวันหมดอายุ ไม่บวมหรือเป็นสนิม ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และหลังขับถ่าย ห้ามถ่ายอุจจาระลงน้ำหากไม่มีห้องน้ำ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก แล้วใส่ปูนขาวจำนวนพอสมควร ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงดำ (ถุงขยะ)
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 3.โรคฉี่หนู โรคน้ำกัดเท้าโรค วิธีป้องกันหลีกคือเลี่ยงการลุยน้ำย่ำโคลนโดยไม่จำเป็น ถ้ามีบาดแผลต้องป้องกันไม่ให้สัมผัสถูกน้ำโดยสวมรองเท้าบูตยาง หากต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้องรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุด 4.โรคตาแดง วิธีป้องกันคือถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตาต้องรีบล้างด้วยน้ำสะอาดทันที ไม่ควรขยี้ตา อย่าให้แมลงตอมตา และพักการใช้สายตามากนัก ผู้ป่วยโรคตาแดงควรแยกจากคนอื่นๆ และไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาด และ 5.โรคไข้เลือดออก มีวิธีป้องกันคือ ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวันโดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย คว่ำหรือทำลายไม่มีให้น้ำขัง ในบริเวณบ้านทุกสัปดาห์โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำ
"สำหรับที่ จ.สุรินทร์ ขณะนี้ยังมีน้ำท่วมที่โรงพยาบาล(รพ.)ศีขรภูมิ และรพ.สำโรงทาบ แต่เปิดบริการได้ 24ชั่วโมง ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)ท่วม 5 แห่ง อยู่ในอ.สำโรงทาบ 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.กะเลา รพ.สต.เกาะแก้ว รพ.สต.สะโน และอีก 2 แห่งในอ.รัตนบุรี ได้แก่ รพ.สต.หนองกระทุม และ รพ.สต.ดอนแรด ระดับน้ำท่วม 30-50 เซนติเมตร ประชาชนเดินทางลำบาก ได้เพิ่มหน่วยบริการที่ศาลากลางบ้าน อบต.และที่บ้านผู้ใหญ่บ้านแทน และมีรถ 6 ล้อรับส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ส่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกเยี่ยมบ้าน หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอดและผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกวัน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกตรวจรักษาประชาชนวันละ6 หน่วย ยังไม่พบโรคระบาด โดยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ6 ราย สูญหาย 1 คน" รมว.ศาธารณสุข กล่าว
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขอเตือนประชาชนให้เฝ้าระวัง ป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม ควรระมัดระวังมิให้เกิดอุบัติเหตุจากการถูกของมีคมและสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยการจัดบ้านให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ ไม่แนะนำให้ออกไปหาปลาในพื้นที่น้ำท่วมขัง เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดเหตุจมน้ำ หากต้องช่วยคนจมน้ำ ห้ามอุ้มพาดบ่า กระโดด วิ่งรอบสนาม วางบนกระทะคว่ำหรือรีดน้ำออก เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น กรณีผู้จมน้ำไม่หายใจให้ช่วยด้วยการเป่าปากตามจังหวะหายใจเข้าออก และนำส่งโรงพยาบาลทันทีทุกราย สิ่งสำคัญก่อนที่น้ำจะท่วมควรยกปลั๊กให้สูงพ้นแนวน้ำ เมื่อน้ำท่วมให้สับสวิตช์ไฟฟ้าลง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด พร้อมทั้งเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคมในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเหยียบของแหลม ของมีคม ระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการ สธ.ประจำเครือข่ายสุขภาพที่ 6 กล่าวว่า สถานการณ์ที่อ.กบินทร์บุรีวันนี้ระดับน้ำเริ่มลดลง ได้ให้รพ.กบินทร์บุรี เปิดสายด่วน 1669รับแจ้งปัญหาหรือการขอความช่วยเหลือทุกเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน มีผู้โทรเพิ่มขึ้นจากปกติ 2 เท่าตัว ตลอดช่วงน้ำท่วม5 วันนี้ มีผู้ถูกงูแมวเซากัด 1 ราย ฉีดเซรุ่มให้ และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการในพื้นที่ที่เขถึงยากทุกวัน พบผู้ป่วยประมาณ 700 ราย และวางแผนประเมินสุขภาพจิตทั้งอำเภอ หลังน้ำลดในสัปดาห์หน้านี้ และได้เตรียมแผนป้องกันน้ำท่วมที่รพเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอย่างเต็มที่ รวมทั้งป้องกัน รพ.สต.ในพื้นที่เสี่ยงอีก 12 แห่งด้วย