"กิตติรัตน์" ควง "หมอประดิษฐ" แจกชุดผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงให้แก่ชาวภาษีเจริญ หลังพบป่วยโรคไข้เลือดออกมาก รมว.สธ.เผยสถานการณ์ล่าสุดพบผู้ป่วยน้อยถึง 2 พันราย แต่ยังวางใจไม่ได้ สั่งคุมเข้มกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ด้าน "หมอโสภณ" ห่วงห้องน้ำสาธารณะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นเยี่ยม เหตุไม่ค่อยมีคนดูแล จี้เปลี่ยนน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์
วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ชุมชนโคนอน แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงพื้นที่รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเจ้าหน้าที่ได้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงในชุมชน แจกชุดผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง 600 ชุดประกอบด้วย มุ้งกันยุง ยาทากันยุง สเปรย์ฉีดฆ่ายุง ทรายกำจัดลูกน้ำ หน้ากากอนามัย ไฟฉายส่องลูกน้ำ 600 ชุด คู่มือนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการกับยุงลาย และเอกสารความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออกกว่า 1,000 ชุด รวมถึงชุดของขวัญสุขอนามัย ประกอบด้วย สบู่เหลว-เจลล้างมือ น้ำยาล้างจาน และยาเบื่อแมลงสาบ 200 ชุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ไข้เลือดออกมีแนวโน้มลดลง สัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเพิ่มประมาณ 3,000 กว่าราย จากเดิมที่พบประมาณ 5,000 กว่าราย แต่ยังไม่สามารถวางใจได้ เนื่องจากทั่วประเทศยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำขังอยู่ตามที่ต่างๆ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งนี้ ตนได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองใหญ่ๆ ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เช่น กทม.และปริมณฑล เน้นการดูแลปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้าน และภายในบ้านให้สะอาด ส่วนด้านการรักษาได้ให้กรมการแพทย์จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ โดยในวันที่ 23 ก.ย.จะจัดประชุมวิชาการ การวินิจฉัยและระบบดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่แก่แพทย์อายุรกรรม กทม.และภูมิภาค 350 คน ที่โรงแรมนารายณ์ กทม.
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ กทม. สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 1 ได้ประสานการทำงานกับสำนักอนามัย กทม.อย่างใกล้ชิด โดยในพื้นที่เขตภาษีเจริญ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 20 ก.ย. 2556 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 164 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 125 รายต่อแสนประชากร โดยพบผู้ป่วยที่แขวงบางหว้ามากที่สุด จำนวน 49 ราย รองลงมาคือ แขวงบางแวก 32 ราย แขวงบางด้วน 27 ราย แขวงปากคลองภาษีเจริญ 22 ราย แขวงคลองขวาง 17 ราย แขวงบางจาก 13 ราย และแขวงคูหาสวรรค์ 4 ราย ซึ่งการป้องกันโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายและทุกครัวเรือนในการกำจัดลูกน้ำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ เช่น ปล่อยปลาหางนกยูงในอ่างบัวหรืออ่างน้ำในบ้าน หากจะช้อนลูกน้ำทิ้ง ให้นำมาเทใส่อ่างที่มีปลากินลูกน้ำก็จะได้ประโยชน์สองต่อ ขัดล้างและเปลี่ยนน้ำในภาชนะที่มีน้ำขังทุกสัปดาห์ ปิดฝาภาชนะที่เก็บกักน้ำ นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
"จุดที่น่าเป็นคือ ห้องน้ำสาธารณะ เช่น วัด หรือมัสยิด บางห้องไม่ได้เปิดใช้ หรือทำความสะอาดเป็นประจำ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของยุงลาย ดังนั้นขอให้ผู้ดูแลรับผิดชอบ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ หากไม่ใช้ห้องน้ำนั้นควรถ่ายน้ำทิ้งให้หมด เพื่อป้องกันยุงวางไข่" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
วันนี้ (22 ก.ย.) ที่ชุมชนโคนอน แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงพื้นที่รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเจ้าหน้าที่ได้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงในชุมชน แจกชุดผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง 600 ชุดประกอบด้วย มุ้งกันยุง ยาทากันยุง สเปรย์ฉีดฆ่ายุง ทรายกำจัดลูกน้ำ หน้ากากอนามัย ไฟฉายส่องลูกน้ำ 600 ชุด คู่มือนวัตกรรมภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการกับยุงลาย และเอกสารความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออกกว่า 1,000 ชุด รวมถึงชุดของขวัญสุขอนามัย ประกอบด้วย สบู่เหลว-เจลล้างมือ น้ำยาล้างจาน และยาเบื่อแมลงสาบ 200 ชุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ไข้เลือดออกมีแนวโน้มลดลง สัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยเพิ่มประมาณ 3,000 กว่าราย จากเดิมที่พบประมาณ 5,000 กว่าราย แต่ยังไม่สามารถวางใจได้ เนื่องจากทั่วประเทศยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำขังอยู่ตามที่ต่างๆ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งนี้ ตนได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลงให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองใหญ่ๆ ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เช่น กทม.และปริมณฑล เน้นการดูแลปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบๆ บ้าน และภายในบ้านให้สะอาด ส่วนด้านการรักษาได้ให้กรมการแพทย์จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ โดยในวันที่ 23 ก.ย.จะจัดประชุมวิชาการ การวินิจฉัยและระบบดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่แก่แพทย์อายุรกรรม กทม.และภูมิภาค 350 คน ที่โรงแรมนารายณ์ กทม.
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ กทม. สำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 1 ได้ประสานการทำงานกับสำนักอนามัย กทม.อย่างใกล้ชิด โดยในพื้นที่เขตภาษีเจริญ ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 20 ก.ย. 2556 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 164 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 125 รายต่อแสนประชากร โดยพบผู้ป่วยที่แขวงบางหว้ามากที่สุด จำนวน 49 ราย รองลงมาคือ แขวงบางแวก 32 ราย แขวงบางด้วน 27 ราย แขวงปากคลองภาษีเจริญ 22 ราย แขวงคลองขวาง 17 ราย แขวงบางจาก 13 ราย และแขวงคูหาสวรรค์ 4 ราย ซึ่งการป้องกันโรคไข้เลือดออก ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายและทุกครัวเรือนในการกำจัดลูกน้ำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ เช่น ปล่อยปลาหางนกยูงในอ่างบัวหรืออ่างน้ำในบ้าน หากจะช้อนลูกน้ำทิ้ง ให้นำมาเทใส่อ่างที่มีปลากินลูกน้ำก็จะได้ประโยชน์สองต่อ ขัดล้างและเปลี่ยนน้ำในภาชนะที่มีน้ำขังทุกสัปดาห์ ปิดฝาภาชนะที่เก็บกักน้ำ นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดเพื่อป้องกันยุงกัด
"จุดที่น่าเป็นคือ ห้องน้ำสาธารณะ เช่น วัด หรือมัสยิด บางห้องไม่ได้เปิดใช้ หรือทำความสะอาดเป็นประจำ จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของยุงลาย ดังนั้นขอให้ผู้ดูแลรับผิดชอบ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ หากไม่ใช้ห้องน้ำนั้นควรถ่ายน้ำทิ้งให้หมด เพื่อป้องกันยุงวางไข่" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว