เสนอชื่อ “สมคิด-สุรพล” ชิงเก้าอี้อธิการ ม.ธรรมศาสตร์ คาดเสนอที่ประชุมสภาชี้ขาด 25 พ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่มีนายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการสภา มธ.ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน ได้เปิดให้หน่วยงานต่างๆ ภายใน มธ.ทั้งสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานอธิการบดี คณะ สถาบัน/สำนัก/ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และองค์การนักศึกษา มธ.รวม 48 หน่วยงาน เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งอธิการบดี มธ.แทน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ.ที่กำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 7 ธ.ค. 2556 โดยแต่ละหน่วยงานสามารถเสนอได้หน่วยงานละไม่เกิน 5 ชื่อ องค์การนักศึกษา มธ.เสนอชื่อได้ไม่เกิน 10 ชื่อ ไปเมื่อวันที่ 12 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา
สำหรับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มธ.มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ศ.ดร.สมคิด มีหน่วยงานเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มธ. จำนวน 40 หน่วยงาน อันดับที่ 2 ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มธ.ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 21 หน่วยงาน และศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 16 หน่วยงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ทั้งนี้ ขั้นต่อไปคณะกรรมการสรรหาฯจะพิจารณาราชื่อที่แต่ละหน่วยงานเสนอเข้ามา พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติ และทาบทามผู้ได้รับการเสนอชื่อ เมื่อผู้ได้รับการทาบทามตอบรับตอบรับการทาบทามและผู้สมัครจัดทำนโยบายการบริหารมธ.แถลงต่อคณะกรรมการสรรหาฯ ในวันที่ 31 ต.ค.2556 โดยคาดว่าคณะกรรมการสรรหาฯ เสนอผลการสรรหาอธิการบดี มธ.ให้ที่ประชุมสภา มธ.พิจารณาได้ในวันที่ 25 พ.ย.2556
อนึ่ง สำหรับขั้นตอนการสรรหาอธิการบดี มธ. มี 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ให้คณะกรรมการสรรหาฯ คัดเลือกกลั่นกรองตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาฯ กำหนด 2.ให้ทาบทามผู้ได้รับการเสนอชื่อ 3.ให้ผู้ตอบรับการทาบทามและผู้สมัครจัดทำแนวทางการบริหาร มธ.ที่สอดคล้องกับนโยบายของสภา มธ.และความคิดเห็นจากประชาคมเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาฯ เพื่อเผยแพรต่อประชาคม มธ.4.สัมภาษณ์ผู้ตอบรับการทาบทามและผู้สมัคร 5.ให้ผู้ตอบรับการทาบทามและผู้สมัครแถลงแนวทางการบริหาร มธ.ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ โดยเปิดโอกาสให้ประชาคมใน มธ.เข้าฟังการแถลงด้วย 6.ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณากลั่นกรองเพื่อให้ได้ผู้เหมาะสม 7.ให้คณะกรรมการสรรหาฯ รายงานผลการสรรหาและข้อมูลต่างๆ ทุกขั้นตอนเสนอสภา มธ. โดยให้เสนอชื่อไม่เกินห้าชื่อต่อสภา มธ.ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เหมาะสมด้วย 8.ให้คณะกรรมการสรรหาฯเสนอชื่อผู้เหมาะสมหนึ่งชื่อ และ 9.กรณีที่คณะกรรมการสรรหาฯ ไม่สามารถมีความเห็นร่วมกันในการเสนอชื่อผู้เหมาะสมหนึ่งชื่อได้ ให้คณะกรรมการสรรหาฯ ลงมติด้วยวิธีลงคะแนนลับ และกรรมการสรรหาฯ แต่ละคนให้ออกเสียงเลือกผู้เหมาะสมได้เพียงหนึ่งชื่อ ในกรณีนี้ให้คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอชื่อผู้เหมาะสมทั้งหมดที่มีกรรมการสรรหาฯ สนับสนุน โดยต้องไม่เกินห้าชื่อ และให้ผู้เหมาะสมทุกคนแถลงแนวทางการบริหารต่อสภา มธ.ก่อนมีมติคัดเลือกผู้เหมาะสมต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่มีนายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการสภา มธ.ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธาน ได้เปิดให้หน่วยงานต่างๆ ภายใน มธ.ทั้งสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานอธิการบดี คณะ สถาบัน/สำนัก/ศูนย์ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และองค์การนักศึกษา มธ.รวม 48 หน่วยงาน เสนอชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่งอธิการบดี มธ.แทน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ.ที่กำลังจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 7 ธ.ค. 2556 โดยแต่ละหน่วยงานสามารถเสนอได้หน่วยงานละไม่เกิน 5 ชื่อ องค์การนักศึกษา มธ.เสนอชื่อได้ไม่เกิน 10 ชื่อ ไปเมื่อวันที่ 12 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา
สำหรับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มธ.มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ศ.ดร.สมคิด มีหน่วยงานเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มธ. จำนวน 40 หน่วยงาน อันดับที่ 2 ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มธ.ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 21 หน่วยงาน และศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ.ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 16 หน่วยงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ทั้งนี้ ขั้นต่อไปคณะกรรมการสรรหาฯจะพิจารณาราชื่อที่แต่ละหน่วยงานเสนอเข้ามา พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติ และทาบทามผู้ได้รับการเสนอชื่อ เมื่อผู้ได้รับการทาบทามตอบรับตอบรับการทาบทามและผู้สมัครจัดทำนโยบายการบริหารมธ.แถลงต่อคณะกรรมการสรรหาฯ ในวันที่ 31 ต.ค.2556 โดยคาดว่าคณะกรรมการสรรหาฯ เสนอผลการสรรหาอธิการบดี มธ.ให้ที่ประชุมสภา มธ.พิจารณาได้ในวันที่ 25 พ.ย.2556
อนึ่ง สำหรับขั้นตอนการสรรหาอธิการบดี มธ. มี 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ให้คณะกรรมการสรรหาฯ คัดเลือกกลั่นกรองตามวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาฯ กำหนด 2.ให้ทาบทามผู้ได้รับการเสนอชื่อ 3.ให้ผู้ตอบรับการทาบทามและผู้สมัครจัดทำแนวทางการบริหาร มธ.ที่สอดคล้องกับนโยบายของสภา มธ.และความคิดเห็นจากประชาคมเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาฯ เพื่อเผยแพรต่อประชาคม มธ.4.สัมภาษณ์ผู้ตอบรับการทาบทามและผู้สมัคร 5.ให้ผู้ตอบรับการทาบทามและผู้สมัครแถลงแนวทางการบริหาร มธ.ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ โดยเปิดโอกาสให้ประชาคมใน มธ.เข้าฟังการแถลงด้วย 6.ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณากลั่นกรองเพื่อให้ได้ผู้เหมาะสม 7.ให้คณะกรรมการสรรหาฯ รายงานผลการสรรหาและข้อมูลต่างๆ ทุกขั้นตอนเสนอสภา มธ. โดยให้เสนอชื่อไม่เกินห้าชื่อต่อสภา มธ.ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาฯ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้เหมาะสมด้วย 8.ให้คณะกรรมการสรรหาฯเสนอชื่อผู้เหมาะสมหนึ่งชื่อ และ 9.กรณีที่คณะกรรมการสรรหาฯ ไม่สามารถมีความเห็นร่วมกันในการเสนอชื่อผู้เหมาะสมหนึ่งชื่อได้ ให้คณะกรรมการสรรหาฯ ลงมติด้วยวิธีลงคะแนนลับ และกรรมการสรรหาฯ แต่ละคนให้ออกเสียงเลือกผู้เหมาะสมได้เพียงหนึ่งชื่อ ในกรณีนี้ให้คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอชื่อผู้เหมาะสมทั้งหมดที่มีกรรมการสรรหาฯ สนับสนุน โดยต้องไม่เกินห้าชื่อ และให้ผู้เหมาะสมทุกคนแถลงแนวทางการบริหารต่อสภา มธ.ก่อนมีมติคัดเลือกผู้เหมาะสมต่อไป