สธ.เผยเหตุใส่ยาผิดซองเพราะความประมาทเลินเล่อชี้ จ่ายให้ผู้ป่วยไป 939 ราย ตามเก็บได้ 937 ราย ไม่พบผลข้างเคียงการใช้ยา แนะให้องค์การเภสัชกรรม เร่งทบทวนขั้นตอนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน จีเอ็มพี ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ
วันนี้ (15 ก.ย) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าการแก้ปัญหากรณีพบยาขององค์การเภสัชกรรม คือ ไอโซซอร์ไบด์ไดไนเตรต (Isosorbide dinitrate) ขนาด 10 มิลลิกรัม เป็นยาขยายหลอดเลือดใช้รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) ขนาด 5 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นยาลดความดันโลหิต มีการบรรจุยาคนละชนิด ในแผงเดียวกัน ว่า ผลการสอบสวนขององค์การเภสัชกรรม พบว่ามีการจ่ายยาดังกล่าว 66,000 กว่าเม็ด โดยพบว่ามีปัญหาปน 2,000 กว่าเม็ด และมีจ่ายให้แก่ผู้ป่วยไปจำนวน 939 ราย ขณะนี้ติดตามเรียกคืนแล้ว 937 ราย อีก 2 ราย เป็นแรงงานที่ย้ายถิ่นไปแต่ไม่พบผลข้างเคียงหรือผลกระทบจากการใช้ยาต่างๆ โดยคณะกรรมการที่สอบสวนรายงานว่า การปนของยาทั้ง 2 ชนิด เกิดขึ้นในระหว่าง การทำงานในช่วงของการนำยาไปชั่งน้ำหนัก ทำให้มีการประมาทเลินเล่อ และมีการตักยาจำนวนที่เกินหรือขาดนำมาวางไว้ในห้อง มีผู้ที่เห็นว่ายาอีกชุดหนึ่งขาดในเวลาใกล้เคียงกันจึงเอาไปเติม
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ได้ให้ความเห็นว่า สิ่งที่รายงานนั้นสมเหตุสมผลยอมรับได้ แต่ได้ให้องค์การเภสัชกรรม ทบทวนขั้นตอนต่างๆ กระบวนการผลิต ให้ได้ตามมาตรฐาน จีเอ็มพี (GMP) เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อป้องกันความเสี่ยงไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ซึ่งเรื่องนี้ สหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม จะต้องร่วมมือและมีส่วนสำคัญในกระบวนการดูแลคุณภาพมาตรฐานด้วย
วันนี้ (15 ก.ย) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าการแก้ปัญหากรณีพบยาขององค์การเภสัชกรรม คือ ไอโซซอร์ไบด์ไดไนเตรต (Isosorbide dinitrate) ขนาด 10 มิลลิกรัม เป็นยาขยายหลอดเลือดใช้รักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) ขนาด 5 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นยาลดความดันโลหิต มีการบรรจุยาคนละชนิด ในแผงเดียวกัน ว่า ผลการสอบสวนขององค์การเภสัชกรรม พบว่ามีการจ่ายยาดังกล่าว 66,000 กว่าเม็ด โดยพบว่ามีปัญหาปน 2,000 กว่าเม็ด และมีจ่ายให้แก่ผู้ป่วยไปจำนวน 939 ราย ขณะนี้ติดตามเรียกคืนแล้ว 937 ราย อีก 2 ราย เป็นแรงงานที่ย้ายถิ่นไปแต่ไม่พบผลข้างเคียงหรือผลกระทบจากการใช้ยาต่างๆ โดยคณะกรรมการที่สอบสวนรายงานว่า การปนของยาทั้ง 2 ชนิด เกิดขึ้นในระหว่าง การทำงานในช่วงของการนำยาไปชั่งน้ำหนัก ทำให้มีการประมาทเลินเล่อ และมีการตักยาจำนวนที่เกินหรือขาดนำมาวางไว้ในห้อง มีผู้ที่เห็นว่ายาอีกชุดหนึ่งขาดในเวลาใกล้เคียงกันจึงเอาไปเติม
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ได้ให้ความเห็นว่า สิ่งที่รายงานนั้นสมเหตุสมผลยอมรับได้ แต่ได้ให้องค์การเภสัชกรรม ทบทวนขั้นตอนต่างๆ กระบวนการผลิต ให้ได้ตามมาตรฐาน จีเอ็มพี (GMP) เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อป้องกันความเสี่ยงไม่ให้มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ซึ่งเรื่องนี้ สหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม จะต้องร่วมมือและมีส่วนสำคัญในกระบวนการดูแลคุณภาพมาตรฐานด้วย