กทม.ศึกษาทำถนนลอดทางรถไฟ เผย ติดขัดระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน เร่งทบทวน เตรียมทำอุโมงค์บนถนนศรีอยุธยา และพัฒนาการ งบกว่า 1,500 ลัานบาท คาดอีก 3 ปี คนกรุงได้ใช้
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนนโยบายของ ผู้ว่าฯกทม.เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ซึ่งหนึ่งในมาตรการแก้จราจร คือ การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดจุดตัดทางรถไฟ อีกทั้งเพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งที่ผ่านมามักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดังนั้น กทม. จึงได้พิจารณาแก้ไขปัญหาจราจร บริเวณจุดตัดรถไฟสำคัญ โดยมอบหมายให้สำนักการโยธา (กทม.) ไปศึกษาและเก็บข้อมูลเพื่อออกแบบ โดยเลือกจุดตัดรถไฟที่มีปัญหาการจราจรมากที่สุดก่อน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ผิวจราจรให้คล่องตัวมากขึ้น ได้แก่ 1.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนศรีนครินทร์-ถนนพัฒนาการ 2.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนเพชรบุรี 3.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนรามคำแหง 4.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนราชปรารภ 5.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนบางขุนเทียน 6.ทางลอดจุดตัดรถไฟประชานิเวศน์ (วัดเสมียนนารี) และ 7.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนศรีอยุธยา เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถ และเพื่อความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน
นายจุมพล กล่าวอีกว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า เนื่องจากใต้ดินบริเวณจุดตัดทางรถไฟ จะมีสาธารณูปโภคสำคัญหลายอย่าง เช่น ท่อลำเลียงน้ำมัน ที่อยู่ลึกลงไป 4-6 เมตร, ท่อประปาขนาด 1-4 เมตร, ท่อสายไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงท่อร้อยสายสื่อสาร ดังนั้น กทม.จึงต้องกลับมาทบทวนดูว่า หากเมื่อสร้างอุโมงค์ทางลอดแล้วจะแก้ปัญหาสาธารณูปโภคที่อยู่คู่กับรางรถไฟได้อย่างไร เช่น ช่วงทางลอดบริเวณถนนถนนศรีนครินทร์-พัฒนาการ ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบที่จะสร้างอุโมงค์ลอดถนนพัฒนาการ แต่เนื่องจากติดปัญหาสาธารณธูปโภคที่กล่าวมา จึงทำให้ไม่สามารถลอดจุดตัดรางรถไฟได้ แต่หากเปลี่ยนแผน โดยการทำทางลอดขึ้นมาก่อนถึงรางรถไฟ ก็สามารถทำได้ แต่ก็จะแก้ไขได้เฉพาะแค่การจราจรที่บริเวณแยกพัฒนาการ ไม่สามารถเพิ่มขีดความปลอดภัยได้ ทั้งนี้ จึงให้สำนักการโยธา ไปทบทวน เพื่อพิจารณาปรับระดับความสูงของท่อสาธารณูปโภคว่า ทำได้หรือไม่ รวมถึงไปพิจารณางบประมาณว่าจะคุ้มหรือไม่
นายจุมพล กล่าวต่อว่า ขณะที่พบว่า จุดตัดทางรถไฟทุกแห่ง มีปัญหาเหมือนกันหมดทุกจุด จึงจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ยกเว้นจุดตัดทางรถไฟเส้นถนนบางขุนเทียน ที่จะมีน้อยกว่า สำหรับจุดตัดรถไฟบริเวณวัดเสมียนนารี พบปัญหาติดขัดของโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งขณะนี้ยังกำลังศึกษาดูว่า หากการสร้างอุโมงค์ทางลอด จะกระทบกับโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงหรือไม่ ซึ่งก็ได้มอบหมายให้สำนักการโยธา ไปเจรจาเพื่อดูแผนงานว่ากระทบหรือไม่ แต่การทำอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว อาจจำเป็นต้องขยายคอสะพานขึ้นคลองเปรม ซึ่งได้เร่งให้ไปศึกษา เนื่องจุดดังกล่าวอาจจะต้องเวนคืนที่ดิน
“กทม.ต้องการเร่งแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟที่มีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนัก อีกทั้งเพิ่มเพิ่มขีดความสามารถของการจราจรให้คล่องตัว จึงเตรียมจะก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดในปี 2557 นี้ รวม 2 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์บนถนนศรีอยุธยา จากบริเวณหน้าโรงเรียนอำนวยศิลป์ ไปถึงช่วงหน้ากระทรวงการต่างประเทศ ก่อนถึงรางรถไฟ ใช้งบประมาณ 700 ล้านบาท และ ถนนทางลอดถนนพัฒนาการ-รามคำแหง ช่วงถาวรธวัช ใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประกวดราคาได้ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2557 โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน เพื่อให้ทันใช้ในปี 2560 นอกจากนี้ กทม.อยากจะเดินหน้าก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดในจุดตัดอื่นๆ อาทิ ถนนศรีนครินทร์ ถนนเพชรบุรี และบริเวณวัดเสมียนนารี เนื่องจากเป็นจุดที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่น แต่ทั้งนี้จะต้องให้การดำเนินงานสอดคล้องกับหน่วยงานอื่น โดยไม่กระทบกับการก่อสร้างโครงการต่างๆ อีกด้วย” นายจุมพล กล่าว
นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนนโยบายของ ผู้ว่าฯกทม.เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ซึ่งหนึ่งในมาตรการแก้จราจร คือ การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดจุดตัดทางรถไฟ อีกทั้งเพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งที่ผ่านมามักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดังนั้น กทม. จึงได้พิจารณาแก้ไขปัญหาจราจร บริเวณจุดตัดรถไฟสำคัญ โดยมอบหมายให้สำนักการโยธา (กทม.) ไปศึกษาและเก็บข้อมูลเพื่อออกแบบ โดยเลือกจุดตัดรถไฟที่มีปัญหาการจราจรมากที่สุดก่อน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ผิวจราจรให้คล่องตัวมากขึ้น ได้แก่ 1.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนศรีนครินทร์-ถนนพัฒนาการ 2.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนเพชรบุรี 3.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนรามคำแหง 4.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนราชปรารภ 5.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนบางขุนเทียน 6.ทางลอดจุดตัดรถไฟประชานิเวศน์ (วัดเสมียนนารี) และ 7.ทางลอดจุดตัดรถไฟถนนศรีอยุธยา เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถ และเพื่อความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน
นายจุมพล กล่าวอีกว่า จากการศึกษาข้อมูล พบว่า เนื่องจากใต้ดินบริเวณจุดตัดทางรถไฟ จะมีสาธารณูปโภคสำคัญหลายอย่าง เช่น ท่อลำเลียงน้ำมัน ที่อยู่ลึกลงไป 4-6 เมตร, ท่อประปาขนาด 1-4 เมตร, ท่อสายไฟฟ้าแรงสูง รวมถึงท่อร้อยสายสื่อสาร ดังนั้น กทม.จึงต้องกลับมาทบทวนดูว่า หากเมื่อสร้างอุโมงค์ทางลอดแล้วจะแก้ปัญหาสาธารณูปโภคที่อยู่คู่กับรางรถไฟได้อย่างไร เช่น ช่วงทางลอดบริเวณถนนถนนศรีนครินทร์-พัฒนาการ ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบที่จะสร้างอุโมงค์ลอดถนนพัฒนาการ แต่เนื่องจากติดปัญหาสาธารณธูปโภคที่กล่าวมา จึงทำให้ไม่สามารถลอดจุดตัดรางรถไฟได้ แต่หากเปลี่ยนแผน โดยการทำทางลอดขึ้นมาก่อนถึงรางรถไฟ ก็สามารถทำได้ แต่ก็จะแก้ไขได้เฉพาะแค่การจราจรที่บริเวณแยกพัฒนาการ ไม่สามารถเพิ่มขีดความปลอดภัยได้ ทั้งนี้ จึงให้สำนักการโยธา ไปทบทวน เพื่อพิจารณาปรับระดับความสูงของท่อสาธารณูปโภคว่า ทำได้หรือไม่ รวมถึงไปพิจารณางบประมาณว่าจะคุ้มหรือไม่
นายจุมพล กล่าวต่อว่า ขณะที่พบว่า จุดตัดทางรถไฟทุกแห่ง มีปัญหาเหมือนกันหมดทุกจุด จึงจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ยกเว้นจุดตัดทางรถไฟเส้นถนนบางขุนเทียน ที่จะมีน้อยกว่า สำหรับจุดตัดรถไฟบริเวณวัดเสมียนนารี พบปัญหาติดขัดของโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งขณะนี้ยังกำลังศึกษาดูว่า หากการสร้างอุโมงค์ทางลอด จะกระทบกับโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงหรือไม่ ซึ่งก็ได้มอบหมายให้สำนักการโยธา ไปเจรจาเพื่อดูแผนงานว่ากระทบหรือไม่ แต่การทำอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว อาจจำเป็นต้องขยายคอสะพานขึ้นคลองเปรม ซึ่งได้เร่งให้ไปศึกษา เนื่องจุดดังกล่าวอาจจะต้องเวนคืนที่ดิน
“กทม.ต้องการเร่งแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟที่มีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนัก อีกทั้งเพิ่มเพิ่มขีดความสามารถของการจราจรให้คล่องตัว จึงเตรียมจะก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดในปี 2557 นี้ รวม 2 แห่ง ได้แก่ อุโมงค์บนถนนศรีอยุธยา จากบริเวณหน้าโรงเรียนอำนวยศิลป์ ไปถึงช่วงหน้ากระทรวงการต่างประเทศ ก่อนถึงรางรถไฟ ใช้งบประมาณ 700 ล้านบาท และ ถนนทางลอดถนนพัฒนาการ-รามคำแหง ช่วงถาวรธวัช ใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะประกวดราคาได้ในช่วงเดือนมกราคม ปี 2557 โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน เพื่อให้ทันใช้ในปี 2560 นอกจากนี้ กทม.อยากจะเดินหน้าก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดในจุดตัดอื่นๆ อาทิ ถนนศรีนครินทร์ ถนนเพชรบุรี และบริเวณวัดเสมียนนารี เนื่องจากเป็นจุดที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่น แต่ทั้งนี้จะต้องให้การดำเนินงานสอดคล้องกับหน่วยงานอื่น โดยไม่กระทบกับการก่อสร้างโครงการต่างๆ อีกด้วย” นายจุมพล กล่าว