กทม.เดินหน้าเก็บป้ายผิดกฎหมาย เอาจริงดำเนินคดีเจ้าของป้ายทั้งแพ่งและอาญา 1 ป้ายต่อ 1 คดี พร้อมเตรียมหารือกรมการขนส่งทางบก หัวหน้าวินทั่วกรุง หาแนวทางจัดระเบียบวิน จยย.เล็งเปลี่ยนแบบเสื้อวินให้เข้าใจง่าย รับเออีซี
วันนี้ (9 ก.ย.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษก กทม.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางการคืนทางเท้าให้กับประชาชน ทั้งการจัดเก็บป้ายโฆษณาในพื้นที่สาธารณะ และการจัดระเบียบวินจักรยานยนต์รับจ้าง โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เทศกิจเขตได้ดำเนินการจัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายและดำเนินคดีกับผู้ประกอบการเจ้าของป้ายตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยเมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เทศกิจทั้ง 50 เขต จัดเก็บได้จำนวน 3,118 ป้าย ทั้งนี้ กทม.จะดำเนินคดีอาญากับผู้ประกอบการที่ติดตั้งป้ายโฆษณาผิดกฎหมายในข้อหาทำทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย เช่น ต้นไม้ ทางเท้า เป็นต้น รวมถึงมีการฟ้องร้องทางแพ่งและดำเนินการจัดเก็บภาษีป้ายกับทุกป้ายที่ได้มีการติดตั้ง 1 ป้าย 1 คดี โดย กทม.จะดำเนินการจัดเก็บป้ายที่ผิดกฎหมายต่อไป
นางสาวตรีดาว กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีผู้ประกอบการอ้างว่ามีการเซ็นสัญญามอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการติดตั้งนั้น กทม.จะดำเนินคดีกับทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้ง โดย กทม.จะมีการเชิญผู้ประกอบการป้าย มาหารือถึงแนวทางแก้ไขร่วมกัน รวมถึงชี้แจงมาตรการดำเนินการของ กทม.ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ส่วนป้ายโฆษณาที่สำนักการจราจรและขนส่ง เป็นผู้อนุญาตมีอยู่จำนวน 8,000 กว่าป้าย ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนที่จีไอเอส ระบุจุดติดตั้งป้ายโฆษณาที่ถูกต้องซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะมอบให้สำนักงานเขต เพื่อร่วมตรวจสอบจุดติดตั้งป้ายให้ถูกต้องตรงจุดที่กำหนด ซึ่งหากพบมีการติดตั้งไม่ถูกต้องจะต้องแก้ไข โดย กทม.จะมีการพิจารณาปรับลดจำนวนป้ายโฆษณาลงด้วย
นางสาวตรีดาว กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัดระเบียบวินจักรยานยนต์รับซึ่งมีการจอดรถจักรยานยนต์และตั้งวินจักรยานยนต์ รับจ้างบนทางเท้า โดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงปลัดกทม.เพื่อขอความร่วมมือให้สำนักงานเขตและ กทม.ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับรถและวินจักรยานยนต์รับจ้างทราบว่าการนำรถจักรยานยนต์มาจอดบนทางเท้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 17 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ ให้ทางเท้าชำรุดเสียหาย โดยการจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผัน ซึ่งการจอดรถจักรยานยนต์บนทางเท้า ส่งผลให้เกิดการกีดขวางการสัญจรไปมาบนทางเท้าของประชาชน เข้าข่ายต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
“เพื่อเป็นการคืนสิทธิบนทางเท้าให้ประชาชนและการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กทม.จะหารือร่วมกับกรมการขนส่ง และผู้แทนของวินรถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันจำนวนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพฯมีประมาณ 200,000 คัน เนื่องจากปัจจุบันมีวินรถจักรยานยนต์รับจ้างเพิ่มขึ้นจำนวนมาก อีกทั้งจะหารือถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อวินด้วย เพราะเสื้อวินสีส้มจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นของ กทม.หรือ กทม.เป็นผู้ดูแลวินจักรยานยนต์รับจ้างอยู่ ซึ่งในอนาคตจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจึงจำเป็นต้องปรับเสื้อวินใหม่รูปแบบที่เข้าใจง่าย มีสัญลักษณ์ให้ชาวต่างชาติรับรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์รับจ้าง มีการใช้ตัวเลขอารบิกแทนเลขไทย และเพิ่มภาษาอังกฤษบนเสื้อวินด้วย” นางสาวตรีดาว กล่าว
วันนี้ (9 ก.ย.) ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางสาวตรีดาว อภัยวงศ์ โฆษก กทม.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางการคืนทางเท้าให้กับประชาชน ทั้งการจัดเก็บป้ายโฆษณาในพื้นที่สาธารณะ และการจัดระเบียบวินจักรยานยนต์รับจ้าง โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เทศกิจเขตได้ดำเนินการจัดเก็บป้ายโฆษณาผิดกฎหมายและดำเนินคดีกับผู้ประกอบการเจ้าของป้ายตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยเมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เทศกิจทั้ง 50 เขต จัดเก็บได้จำนวน 3,118 ป้าย ทั้งนี้ กทม.จะดำเนินคดีอาญากับผู้ประกอบการที่ติดตั้งป้ายโฆษณาผิดกฎหมายในข้อหาทำทรัพย์สินของทางราชการเสียหาย เช่น ต้นไม้ ทางเท้า เป็นต้น รวมถึงมีการฟ้องร้องทางแพ่งและดำเนินการจัดเก็บภาษีป้ายกับทุกป้ายที่ได้มีการติดตั้ง 1 ป้าย 1 คดี โดย กทม.จะดำเนินการจัดเก็บป้ายที่ผิดกฎหมายต่อไป
นางสาวตรีดาว กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีผู้ประกอบการอ้างว่ามีการเซ็นสัญญามอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการติดตั้งนั้น กทม.จะดำเนินคดีกับทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้ง โดย กทม.จะมีการเชิญผู้ประกอบการป้าย มาหารือถึงแนวทางแก้ไขร่วมกัน รวมถึงชี้แจงมาตรการดำเนินการของ กทม.ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ส่วนป้ายโฆษณาที่สำนักการจราจรและขนส่ง เป็นผู้อนุญาตมีอยู่จำนวน 8,000 กว่าป้าย ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำแผนที่จีไอเอส ระบุจุดติดตั้งป้ายโฆษณาที่ถูกต้องซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะมอบให้สำนักงานเขต เพื่อร่วมตรวจสอบจุดติดตั้งป้ายให้ถูกต้องตรงจุดที่กำหนด ซึ่งหากพบมีการติดตั้งไม่ถูกต้องจะต้องแก้ไข โดย กทม.จะมีการพิจารณาปรับลดจำนวนป้ายโฆษณาลงด้วย
นางสาวตรีดาว กล่าวด้วยว่า สำหรับการจัดระเบียบวินจักรยานยนต์รับซึ่งมีการจอดรถจักรยานยนต์และตั้งวินจักรยานยนต์ รับจ้างบนทางเท้า โดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงปลัดกทม.เพื่อขอความร่วมมือให้สำนักงานเขตและ กทม.ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับรถและวินจักรยานยนต์รับจ้างทราบว่าการนำรถจักรยานยนต์มาจอดบนทางเท้ามีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 มาตรา 17 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใดๆ ให้ทางเท้าชำรุดเสียหาย โดยการจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผัน ซึ่งการจอดรถจักรยานยนต์บนทางเท้า ส่งผลให้เกิดการกีดขวางการสัญจรไปมาบนทางเท้าของประชาชน เข้าข่ายต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
“เพื่อเป็นการคืนสิทธิบนทางเท้าให้ประชาชนและการจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กทม.จะหารือร่วมกับกรมการขนส่ง และผู้แทนของวินรถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันจำนวนผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพฯมีประมาณ 200,000 คัน เนื่องจากปัจจุบันมีวินรถจักรยานยนต์รับจ้างเพิ่มขึ้นจำนวนมาก อีกทั้งจะหารือถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเสื้อวินด้วย เพราะเสื้อวินสีส้มจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นของ กทม.หรือ กทม.เป็นผู้ดูแลวินจักรยานยนต์รับจ้างอยู่ ซึ่งในอนาคตจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจึงจำเป็นต้องปรับเสื้อวินใหม่รูปแบบที่เข้าใจง่าย มีสัญลักษณ์ให้ชาวต่างชาติรับรู้ว่าเป็นรถจักรยานยนต์รับจ้าง มีการใช้ตัวเลขอารบิกแทนเลขไทย และเพิ่มภาษาอังกฤษบนเสื้อวินด้วย” นางสาวตรีดาว กล่าว