กทม.รื้อป้ายโฆษณาบนทางเท้า เหตุกีดขวางการเดินทางของประชาชนจ่อปรับปรุงเป็นป้ายสูงทั้งหมด สั่งชะลอการติดป้ายใหม่อีก 1,200 ป้าย
วันนี้ (20 ส.ค.)นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานเขต 50 เขต สำรวจป้ายโฆษณาบนทางเท้าในพื้นที่ เนื่องจากขณะนี้มีประชาชนร้องเรียนว่าป้ายโฆษณากีดขวางทางเท้า และได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง ตรวจสอบสัญญาที่เอกชนได้รับสัมปทานจาก กทม.ในการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางเท้า ที่เพิ่งประมูลเมื่อปี 2555 จำนวน 4 ฉบับ ที่ติดตั้งบริเวณศาลาที่พักผู้โดยสารรถเมล์จำนวน 950 ป้าย และบนทางเท้าทั่วไปอีกกว่า 1,000 ป้าย เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสัญญาหรือไม่ และได้สั่งการให้ชะลอการติดตั้งป้ายโฆษณาใหม่แล้วด้วย จนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ป้ายโฆษณาบนเท้ามี 2 แบบ คือแบบเสาเตี้ย อยู่ใกล้ป้ายรถเมล์ มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในป้าย สามารถเปิดไฟได้ในตอนกลางคืน โดยมีข้อความประชาสัมพันธ์ 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นข้อความของกทม.ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนอีกด้านเป็นข้อความโฆษณา และอีกแบบคือเสาสูง ซึ่งจะติดตั้งบนทางเท้าห่างจากป้ายรถเมล์ออกมาอีก
นายอมร กล่าวว่า หากสำนักงานเขตสำรวจพบว่าป้ายที่ติดตั้งไปแล้วกีดขวางทางเท้า ก็ให้เจ้าหน้าที่รื้อป้ายออกทันที รวมทั้งให้ตรวจสอบสัญญาป้ายโฆษณาที่มีอยู่แล้ว 13 ฉบับ ซึ่งเป็นป้ายบนทางเท้า อาคาร และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่ามีการติดตั้งป้ายถูกต้องตามที่ กทม.กำหนดหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ให้รื้อออกทันทีเช่นกัน
“ส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนเข้ามาจะเป็นป้ายเตี้ย เพราะบางพื้นที่ทางเท้าแคบ ประมาณ 2 เมตรเท่านั้น จึงขีดขวางทางเท้า โดยทั่วไปทางเท้าจะมีพื้นที่ประมาณ 6 เมตร ดังนั้นจะมีการพิจารณาปรับปรุงให้เป็นป้ายสูงขึ้นแทน” นายอมร กล่าว
ด้านนายมานิต เตชอภิโชค รองปลัด กทม.กล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการติดตั้งป้ายโฆษณาซึ่งเป็นคู่สัญญาของ กทม.ในการดำเนินการดูแลและบำรุงรักษาป้ายดังกล่าว และผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้ระงับการติดตั้งป้ายที่เหลือไว้ก่อน พร้อมทั้งให้ตรวจสอบป้ายที่ติดตั้งไปแล้วว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการหารือในวันนี้ผู้ประกอบการยินดีแก้ไขป้ายทั้งหมด โดยให้ประสานสำนักงานเขตพื้นที่เพื่อเข้ารื้อถอนป้ายโฆษณาที่มีปัญหาภายในคืนวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อคืนทางเท้าให้กับประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักการจราจรและขนส่งรายงาน รายงานว่า ขณะนี้มีป้ายโฆษณาบนทางเท้าประมาณ 2,000 ป้าย อยู่ระหว่างรอการติดตั้งประมาณ 1,200 ป้าย และเบื้องต้นสำรวจพบว่ามีป้ายโฆษณาแบบเตี้ยที่กีดขวางทางเท้าต้องได้รับการปรับปรุง 30-40 ป้้าย
วันนี้ (20 ส.ค.)นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานเขต 50 เขต สำรวจป้ายโฆษณาบนทางเท้าในพื้นที่ เนื่องจากขณะนี้มีประชาชนร้องเรียนว่าป้ายโฆษณากีดขวางทางเท้า และได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง ตรวจสอบสัญญาที่เอกชนได้รับสัมปทานจาก กทม.ในการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางเท้า ที่เพิ่งประมูลเมื่อปี 2555 จำนวน 4 ฉบับ ที่ติดตั้งบริเวณศาลาที่พักผู้โดยสารรถเมล์จำนวน 950 ป้าย และบนทางเท้าทั่วไปอีกกว่า 1,000 ป้าย เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสัญญาหรือไม่ และได้สั่งการให้ชะลอการติดตั้งป้ายโฆษณาใหม่แล้วด้วย จนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ป้ายโฆษณาบนเท้ามี 2 แบบ คือแบบเสาเตี้ย อยู่ใกล้ป้ายรถเมล์ มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในป้าย สามารถเปิดไฟได้ในตอนกลางคืน โดยมีข้อความประชาสัมพันธ์ 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นข้อความของกทม.ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนอีกด้านเป็นข้อความโฆษณา และอีกแบบคือเสาสูง ซึ่งจะติดตั้งบนทางเท้าห่างจากป้ายรถเมล์ออกมาอีก
นายอมร กล่าวว่า หากสำนักงานเขตสำรวจพบว่าป้ายที่ติดตั้งไปแล้วกีดขวางทางเท้า ก็ให้เจ้าหน้าที่รื้อป้ายออกทันที รวมทั้งให้ตรวจสอบสัญญาป้ายโฆษณาที่มีอยู่แล้ว 13 ฉบับ ซึ่งเป็นป้ายบนทางเท้า อาคาร และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่ามีการติดตั้งป้ายถูกต้องตามที่ กทม.กำหนดหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ให้รื้อออกทันทีเช่นกัน
“ส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนเข้ามาจะเป็นป้ายเตี้ย เพราะบางพื้นที่ทางเท้าแคบ ประมาณ 2 เมตรเท่านั้น จึงขีดขวางทางเท้า โดยทั่วไปทางเท้าจะมีพื้นที่ประมาณ 6 เมตร ดังนั้นจะมีการพิจารณาปรับปรุงให้เป็นป้ายสูงขึ้นแทน” นายอมร กล่าว
ด้านนายมานิต เตชอภิโชค รองปลัด กทม.กล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการติดตั้งป้ายโฆษณาซึ่งเป็นคู่สัญญาของ กทม.ในการดำเนินการดูแลและบำรุงรักษาป้ายดังกล่าว และผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้ระงับการติดตั้งป้ายที่เหลือไว้ก่อน พร้อมทั้งให้ตรวจสอบป้ายที่ติดตั้งไปแล้วว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการหารือในวันนี้ผู้ประกอบการยินดีแก้ไขป้ายทั้งหมด โดยให้ประสานสำนักงานเขตพื้นที่เพื่อเข้ารื้อถอนป้ายโฆษณาที่มีปัญหาภายในคืนวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อคืนทางเท้าให้กับประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักการจราจรและขนส่งรายงาน รายงานว่า ขณะนี้มีป้ายโฆษณาบนทางเท้าประมาณ 2,000 ป้าย อยู่ระหว่างรอการติดตั้งประมาณ 1,200 ป้าย และเบื้องต้นสำรวจพบว่ามีป้ายโฆษณาแบบเตี้ยที่กีดขวางทางเท้าต้องได้รับการปรับปรุง 30-40 ป้้าย