สอศ.เร่งเดินหน้าเพิ่มผู้เรียนสายอาชีพ โดยจะร่วมมือกับ สพฐ. สช.โดยเฉพาะภาคเอกชนผลิตคนให้ตรงตามต้องการได้คุณภาพและมาตรฐานสากล
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและมีอันดับในเวลทีนานาชาติสูงขึ้น จะต้องเร่งดำเนินการใน 2 แนวทาง คือ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และวิเคราะห์เจาะลึกลงไปที่ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านการประเมิน และแก้ปัญหาตรงจุดนั้น ซึ่งหากจะดูที่ตัวชี้วัดต่างๆ ก็คงต้องดูผลการประเมินของหลายๆ หน่วยงาน ไม่ใช่เฉพาะ World Economic Forum (WEF) ที่ได้รายงานผลเท่านั้น
ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่จะต้องเร่งดำเนินการคือเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีวะ ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ และประเด็นสำคัญที่จะยกระดับอาชีวะ คือ ต้องเน้นผลิตบุคลากรสายอาชีวะที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ ซึ่งหากเราสามารถสามารถดำเนินการตรงนี้ได้อย่างครบถ้วนก็ถือว่าไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพและความเป็นสากล
“แทบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมีปัญหาและจุดอ่อนเดียวกัน คือ ปริมาณที่จะต้องผลิตผู้เรียนสายอาชีพให้เพิ่มขึ้น ซึ่ง สอศ.จะต้องเร่งส่งเสริมให้คนมาเรียนในสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น โดยจะต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รวมถึงภาคสังคม และภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องมีตำแหน่งงานรองรับ” นายชัยพฤกษ์กล่าว
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและมีอันดับในเวลทีนานาชาติสูงขึ้น จะต้องเร่งดำเนินการใน 2 แนวทาง คือ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และวิเคราะห์เจาะลึกลงไปที่ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านการประเมิน และแก้ปัญหาตรงจุดนั้น ซึ่งหากจะดูที่ตัวชี้วัดต่างๆ ก็คงต้องดูผลการประเมินของหลายๆ หน่วยงาน ไม่ใช่เฉพาะ World Economic Forum (WEF) ที่ได้รายงานผลเท่านั้น
ทั้งนี้ ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่จะต้องเร่งดำเนินการคือเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีวะ ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศ และประเด็นสำคัญที่จะยกระดับอาชีวะ คือ ต้องเน้นผลิตบุคลากรสายอาชีวะที่จะต้องมีความเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ ซึ่งหากเราสามารถสามารถดำเนินการตรงนี้ได้อย่างครบถ้วนก็ถือว่าไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพและความเป็นสากล
“แทบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยมีปัญหาและจุดอ่อนเดียวกัน คือ ปริมาณที่จะต้องผลิตผู้เรียนสายอาชีพให้เพิ่มขึ้น ซึ่ง สอศ.จะต้องเร่งส่งเสริมให้คนมาเรียนในสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น โดยจะต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) รวมถึงภาคสังคม และภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องมีตำแหน่งงานรองรับ” นายชัยพฤกษ์กล่าว