สธ.เผยวัคซีนเอดส์ป้องกันได้แล้ว 31.2% ยันรัฐบาลหนุนการวิจัยสุดตัวจนกว่าจะประสบความสำเร็จป้องกันได้เกิน 50% พร้อมหนุนเมืองไทยเป็นฐานผลิตวัคซีนส่งออกไปยังต่างประเทศ
วันนี้ (29 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.15 น.ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพมหานคร นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการเปิดประชุมสุดยอดผู้ร่วมพัฒนาวัคซีนป้องกันเอดส์นานาชาติเพื่อคนไทยไร้เอดส์ ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อเอชไอวี แต่ปัญหาที่ตามมาคือการให้การดูแลผู้ป่วยตามสิทธิต่างๆ ทั้งประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นนั้นก็จะทำให้ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก รวมไปถึงการรณรงค์ลดพฤติกรรมเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยก็ยังไม่เพียงพอ เพราะพบว่ายังคงมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่มขึ้น การพัฒนาวัคซีนป้องกันเอดส์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ได้
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ องค์การอนามัยโลกได้เริ่มให้มีการศึกษาทดลองมาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา ซึ่งในระยะแรกๆ ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ระยะหลังมานี้พบว่า โครงการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนเอดส์ทดลองในมนุษย์ ระยะที่ 3 หรือ RV144 ซึ่งเป็นการทดลองทางคลินิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ จ.ชลบุรี และระยอง ระหว่างปี 2542-2546 โดยศึกษาในอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 16,000 คน ใช้วัคซีน 2 ชนิดร่วมกันแบบปูพื้น-กระตุ้น คือ วัคซีนแอลแวคเอชไอวี เพื่อปูพื้น และวัคซีนเอดส์แวกซ์บี/อี เพื่อกระตุ้น จึงได้ผลสรุปเมื่อปี 2552 ว่า วัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ สามารถลดโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึงร้อยละ 31.2 โดยมีแนวโน้มให้ผลสูงสุดในระยะต้นหลังทดสอบใน 12 เดือนแรกที่ร้อยละ 60 และในปี 2555 นักวิจัยได้ปรับปรุงออกแบบโปรตีนที่ผิวเปลือกนอกของไวรัสในวัคซีนปูพื้น เพื่อเพิ่มระดับและสารเพิ่มประสิทธิภาพยืดระยะเวลาภูมิคุ้มกันที่พบใน RV144 และศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า สามารถเพิ่มภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ดีขึ้น และหากการทดลองขั้นต่อไปพบว่าวัคซีนสามารถลดการเสี่ยงการติดเชื้อได้มากกว่าร้อยละ 50 ก็น่าจะเป็นความหวังที่จะมีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ชริดแรกใช้ในโลก เพื่อใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดได้
“เนื่องจากการพัฒนาวัคซีนเป็นงานที่ใช้ระยะเวลานานในการดำเนินการ อาจทำให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวจืดจางลง การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการเติมพลังให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเดินหน้าทำการศึกษาต่อ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของรัฐบาลไทย สหรัฐอเมริกา องค์การอนามัยโลก และเอ็นจีโอด้านเอดส์ โดยในส่วนของรัฐบาลไทยยืนยันว่าจะสนับสนุนการวิจัยนี้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานพัฒนาวัคซีนป้องกันเอดส์ (เอแวค) ขึ้นมา 1 คณะ เพื่อร่วมมือกันศึกษา หากประสบความสำเร็จประเทศไทยก็จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์วัคซีน และรัฐบาลก็พร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนนี้ต่อไปไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลผลิตเองหรือให้เอกชนผลิตก็ตาม” รมว.สาธารณสุข กล่าว
วันนี้ (29 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.15 น.ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพมหานคร นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการเปิดประชุมสุดยอดผู้ร่วมพัฒนาวัคซีนป้องกันเอดส์นานาชาติเพื่อคนไทยไร้เอดส์ ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าประสบความสำเร็จในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อเอชไอวี แต่ปัญหาที่ตามมาคือการให้การดูแลผู้ป่วยตามสิทธิต่างๆ ทั้งประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นนั้นก็จะทำให้ผู้ป่วยมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก รวมไปถึงการรณรงค์ลดพฤติกรรมเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยก็ยังไม่เพียงพอ เพราะพบว่ายังคงมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่เพิ่มขึ้น การพัฒนาวัคซีนป้องกันเอดส์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ได้
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ องค์การอนามัยโลกได้เริ่มให้มีการศึกษาทดลองมาตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา ซึ่งในระยะแรกๆ ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่ระยะหลังมานี้พบว่า โครงการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนเอดส์ทดลองในมนุษย์ ระยะที่ 3 หรือ RV144 ซึ่งเป็นการทดลองทางคลินิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ จ.ชลบุรี และระยอง ระหว่างปี 2542-2546 โดยศึกษาในอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 16,000 คน ใช้วัคซีน 2 ชนิดร่วมกันแบบปูพื้น-กระตุ้น คือ วัคซีนแอลแวคเอชไอวี เพื่อปูพื้น และวัคซีนเอดส์แวกซ์บี/อี เพื่อกระตุ้น จึงได้ผลสรุปเมื่อปี 2552 ว่า วัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ สามารถลดโอกาสเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีได้ถึงร้อยละ 31.2 โดยมีแนวโน้มให้ผลสูงสุดในระยะต้นหลังทดสอบใน 12 เดือนแรกที่ร้อยละ 60 และในปี 2555 นักวิจัยได้ปรับปรุงออกแบบโปรตีนที่ผิวเปลือกนอกของไวรัสในวัคซีนปูพื้น เพื่อเพิ่มระดับและสารเพิ่มประสิทธิภาพยืดระยะเวลาภูมิคุ้มกันที่พบใน RV144 และศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า สามารถเพิ่มภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ดีขึ้น และหากการทดลองขั้นต่อไปพบว่าวัคซีนสามารถลดการเสี่ยงการติดเชื้อได้มากกว่าร้อยละ 50 ก็น่าจะเป็นความหวังที่จะมีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ชริดแรกใช้ในโลก เพื่อใช้ในการป้องกันการแพร่ระบาดได้
“เนื่องจากการพัฒนาวัคซีนเป็นงานที่ใช้ระยะเวลานานในการดำเนินการ อาจทำให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวจืดจางลง การประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการเติมพลังให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเดินหน้าทำการศึกษาต่อ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของรัฐบาลไทย สหรัฐอเมริกา องค์การอนามัยโลก และเอ็นจีโอด้านเอดส์ โดยในส่วนของรัฐบาลไทยยืนยันว่าจะสนับสนุนการวิจัยนี้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานพัฒนาวัคซีนป้องกันเอดส์ (เอแวค) ขึ้นมา 1 คณะ เพื่อร่วมมือกันศึกษา หากประสบความสำเร็จประเทศไทยก็จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์วัคซีน และรัฐบาลก็พร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนนี้ต่อไปไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลผลิตเองหรือให้เอกชนผลิตก็ตาม” รมว.สาธารณสุข กล่าว