ผ่าตัดมะเร็งเต้านมแนวใหม่
ผศ.นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
ในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลศิริราช ที่เข้ามารักษามะเร็งเต้านมมากกว่า 1,000 ราย และเนื่องจากโรคมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของหญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 จึงทำให้แพทย์ค้นหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย
การรักษามะเร็งเต้านม มีทั้งการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด และการผ่าตัดแบบเก็บเต้านมไว้ โดยตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกและตามด้วยการฉายรังสีรักษาหลังผ่าตัดแล้ว ซึ่งโดยปกติจะทำการฉายรังสีบริเวณเต้านมส่วนที่เหลืออีกเป็นระยะเวลา 25-30 ครั้ง
ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ ในปัจจุบันมีการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแนวใหม่ ที่รวมการผ่าตัดและฉายรังสีรักษาไว้ด้วยกัน เป็นการฉายรังสีรักษาโดยตรงบริเวณเนื้อนมโดยรอบก้อนมะเร็งทันทีในห้องผ่าตัดขณะที่ผู้ป่วยสลบอยู่ ขั้นตอนการรักษาเริ่มจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกบางส่วนแทนการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด ตามด้วยการผ่าตัดก้อนมะเร็งออก จากนั้นฉายรังสีรักษาเข้าไปในตำแหน่งที่เอาก้อนมะเร็งออก
การรักษาด้วยวิธีนี้ ทำให้การกำหนดตำแหน่งของการฉายรังสีรักษามีความแม่นยำมากขึ้น ลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนต่อผิวหนังภายนอก ทำให้ผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยลง และเพิ่มโอกาสการหายจากโรค และที่สำคัญคือ สามารถลดความลำบากของผู้ป่วยในการมารับบริการการฉายรังสี ทำให้ผู้ป่วยไม่เสียเวลา และลดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ จะต้องมีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป และเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น โดยที่ขนาดก้อนมะเร็งต้องเล็กกว่า 2 ซม.รวมถึงไม่มีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง และมีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเซลล์มะเร็ง
จากประสบการณ์ 2 ปี ที่โรงพยาบาลศิริราชเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยมากกว่า 50 รายด้วยวิธีนี้ พบว่า ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีอัตราการเกิดโรคซ้ำต่ำ และยังพบว่าภาวะความสวยงามของเต้านมภายหลังการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีมากถึงดีเลิศ
อย่างไรก็ตาม การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและทำได้ ด้วยการเริ่มตรวจเต้านมตนเองตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป และตรวจเป็นประจำ คือ การดูด้วยตาและการคลำด้วยมือ ที่สำคัญผู้หญิงอายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมร่วมกับการตรวจอัลตราซาวนด์ ถ้ามีอาการผิดปกติต่างๆ ที่เต้านมไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด ควรไปพบแพทย์ทันที
---------------------------------------------------------------
4-6 ก.ย. นี้ พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เวชศาสตร์ฟื้นฟูสู่การปฏิบัติ” ที่ห้องตรีเพ็ชร อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 สอบถาม โทร.0 2419 7509 ต่อ 109
ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน จัดประชุมวิชาการ “ครบรอบ 20 ปี ภ.วิทยาภูมิคุ้มกัน Translational Immunology: Application in Medicine” ที่ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 สอบถาม โทร.0 2419 6635-6, 0 2419 6638
ผศ.นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์
ภาควิชาศัลยศาสตร์
ในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลศิริราช ที่เข้ามารักษามะเร็งเต้านมมากกว่า 1,000 ราย และเนื่องจากโรคมะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของหญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 จึงทำให้แพทย์ค้นหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย
การรักษามะเร็งเต้านม มีทั้งการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด และการผ่าตัดแบบเก็บเต้านมไว้ โดยตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกและตามด้วยการฉายรังสีรักษาหลังผ่าตัดแล้ว ซึ่งโดยปกติจะทำการฉายรังสีบริเวณเต้านมส่วนที่เหลืออีกเป็นระยะเวลา 25-30 ครั้ง
ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ ในปัจจุบันมีการผ่าตัดมะเร็งเต้านมแนวใหม่ ที่รวมการผ่าตัดและฉายรังสีรักษาไว้ด้วยกัน เป็นการฉายรังสีรักษาโดยตรงบริเวณเนื้อนมโดยรอบก้อนมะเร็งทันทีในห้องผ่าตัดขณะที่ผู้ป่วยสลบอยู่ ขั้นตอนการรักษาเริ่มจากการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกบางส่วนแทนการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด ตามด้วยการผ่าตัดก้อนมะเร็งออก จากนั้นฉายรังสีรักษาเข้าไปในตำแหน่งที่เอาก้อนมะเร็งออก
การรักษาด้วยวิธีนี้ ทำให้การกำหนดตำแหน่งของการฉายรังสีรักษามีความแม่นยำมากขึ้น ลดปริมาณรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนต่อผิวหนังภายนอก ทำให้ผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยลง และเพิ่มโอกาสการหายจากโรค และที่สำคัญคือ สามารถลดความลำบากของผู้ป่วยในการมารับบริการการฉายรังสี ทำให้ผู้ป่วยไม่เสียเวลา และลดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย
สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีนี้ จะต้องมีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป และเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น โดยที่ขนาดก้อนมะเร็งต้องเล็กกว่า 2 ซม.รวมถึงไม่มีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง และมีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเซลล์มะเร็ง
จากประสบการณ์ 2 ปี ที่โรงพยาบาลศิริราชเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยมากกว่า 50 รายด้วยวิธีนี้ พบว่า ผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีอัตราการเกิดโรคซ้ำต่ำ และยังพบว่าภาวะความสวยงามของเต้านมภายหลังการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีมากถึงดีเลิศ
อย่างไรก็ตาม การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและทำได้ ด้วยการเริ่มตรวจเต้านมตนเองตั้งแต่อายุ 20 ปี ขึ้นไป และตรวจเป็นประจำ คือ การดูด้วยตาและการคลำด้วยมือ ที่สำคัญผู้หญิงอายุ 40 ปี ขึ้นไป ควรตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรมร่วมกับการตรวจอัลตราซาวนด์ ถ้ามีอาการผิดปกติต่างๆ ที่เต้านมไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด ควรไปพบแพทย์ทันที
---------------------------------------------------------------
4-6 ก.ย. นี้ พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เวชศาสตร์ฟื้นฟูสู่การปฏิบัติ” ที่ห้องตรีเพ็ชร อาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 สอบถาม โทร.0 2419 7509 ต่อ 109
ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน จัดประชุมวิชาการ “ครบรอบ 20 ปี ภ.วิทยาภูมิคุ้มกัน Translational Immunology: Application in Medicine” ที่ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 สอบถาม โทร.0 2419 6635-6, 0 2419 6638