HITAP เผยคนไทยแห่ตรวจสุขภาพเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ผลกระทบจากการตรวจแบบเหวี่ยงแห ชี้ทั้งเปลือง เสี่ยงก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น และเกิดผลลวงจนเกิดการรักษาที่ไม่จำเป็น เล็งเสนอโปรแกรมตรวจคัดกรอง สธ.12 เรื่อง
นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวถึงกรณีข่าวการตรวจสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานและมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของการตรวจสุขภาพประจำปี ว่า ปัจจุบันหลายประเทศมีการทำมาตรฐานการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชน ในรูปแบบของคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อความปลอดภัยและความเท่าเทียม และเพื่อติดตามผลกระทบ ซึ่งจากการติดตามศึกษาผลกระทบทำให้หลายประเทศเริ่มมีการประกาศไม่ให้มีการตรวจสุขภาพในบางเรื่อง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากพบข้อมูลเปรียบเทียบว่า การผ่าตัดทำให้เกิดผลกระทบและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่าและผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรักษามากกว่า หรือผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ที่พบว่า การเอกซเรย์ปอดกับการทำซีทีสแกน สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งได้พอๆ กัน แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่ทำซีทีสแกนเสียชีวิตมากกว่า เป็นต้น
นพ.ยศ กล่าวอีกว่า สำหรับคนไทยขณะนี้มีปริมาณการตรวจสุขภาพเพิ่มขึ้นมาก โดยข้อมูลเมื่อปี 2552 ประชาชนเสียเงินเพื่อตรวจสุขภาพเองประมาณ 1,500 ล้านบาท ปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านบาท ซึ่งจากการทำวิจัยเรื่อง “การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย” ซึ่งกำลังจะมีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ พบว่า การตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองสุขภาพที่ไม่รวมการตรวจสุขภาพที่ไม่เกี่ยวกับการยืนยันโรค หรือเพื่อรักษาโรคนั้น ควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่เป็นการตรวจแบบไร้จุดเป้าหมาย เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ และสามารถก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น เช่น การเอกซเรย์ การตรวจการทำงานของตับ ไต หรือการใช้เครื่องซีทีสแกน ซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น โดยการตรวจแบบเหวี่ยงแห มีโอกาสจะเกิดผลบวกลวงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อจิตใจผู้ป่วยและเกิดการรักษาที่ไม่จำเป็น เช่น การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพิ่ม เป็นต้น
“การวิจัยดังกล่าวผ่านความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และราชวิทยาลัยต่างๆ และจะมีการเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานเชิงนโยบายต่อไป โดยโปรแกรมการตรวจคัดกรองที่ HITAP เสนอจะมี 12 เรื่อง คือ การตรวจเอชไอวี การตรวจโรคตับแข็ง มะเร็งตับ การตรวจโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปากมดลูก ปัญหาการดื่มสุรา และการตรวจสายตา ซึ่งได้กำหนดช่วงวัยที่เหมาะสมและจำนวนการตรวจไว้ ซึ่งประชาชนควรได้รับทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจสุขภาพ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดงบประมาณ เช่น สิทธิข้าราชการปัจจุบันพบว่าอัตราการตรวจอยู่ที่ 530-1,200 บาท หากตรวจตามโปรแกรมดังกล่าวจะเหลืออยู่ที่ 380-400 บาทต่อคนต่อปีเท่านั้น และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้ ” นพ.ยศ กล่าว
นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวถึงกรณีข่าวการตรวจสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานและมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของการตรวจสุขภาพประจำปี ว่า ปัจจุบันหลายประเทศมีการทำมาตรฐานการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชน ในรูปแบบของคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อความปลอดภัยและความเท่าเทียม และเพื่อติดตามผลกระทบ ซึ่งจากการติดตามศึกษาผลกระทบทำให้หลายประเทศเริ่มมีการประกาศไม่ให้มีการตรวจสุขภาพในบางเรื่อง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากพบข้อมูลเปรียบเทียบว่า การผ่าตัดทำให้เกิดผลกระทบและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้มากกว่าและผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรักษามากกว่า หรือผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ที่พบว่า การเอกซเรย์ปอดกับการทำซีทีสแกน สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งได้พอๆ กัน แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่ทำซีทีสแกนเสียชีวิตมากกว่า เป็นต้น
นพ.ยศ กล่าวอีกว่า สำหรับคนไทยขณะนี้มีปริมาณการตรวจสุขภาพเพิ่มขึ้นมาก โดยข้อมูลเมื่อปี 2552 ประชาชนเสียเงินเพื่อตรวจสุขภาพเองประมาณ 1,500 ล้านบาท ปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 2,200 ล้านบาท ซึ่งจากการทำวิจัยเรื่อง “การตรวจคัดกรองสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย” ซึ่งกำลังจะมีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ พบว่า การตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองสุขภาพที่ไม่รวมการตรวจสุขภาพที่ไม่เกี่ยวกับการยืนยันโรค หรือเพื่อรักษาโรคนั้น ควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่เป็นการตรวจแบบไร้จุดเป้าหมาย เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ และสามารถก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น เช่น การเอกซเรย์ การตรวจการทำงานของตับ ไต หรือการใช้เครื่องซีทีสแกน ซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น โดยการตรวจแบบเหวี่ยงแห มีโอกาสจะเกิดผลบวกลวงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อจิตใจผู้ป่วยและเกิดการรักษาที่ไม่จำเป็น เช่น การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อมาตรวจเพิ่ม เป็นต้น
“การวิจัยดังกล่าวผ่านความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และราชวิทยาลัยต่างๆ และจะมีการเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำไปใช้ประกอบการทำงานเชิงนโยบายต่อไป โดยโปรแกรมการตรวจคัดกรองที่ HITAP เสนอจะมี 12 เรื่อง คือ การตรวจเอชไอวี การตรวจโรคตับแข็ง มะเร็งตับ การตรวจโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปากมดลูก ปัญหาการดื่มสุรา และการตรวจสายตา ซึ่งได้กำหนดช่วงวัยที่เหมาะสมและจำนวนการตรวจไว้ ซึ่งประชาชนควรได้รับทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจสุขภาพ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดงบประมาณ เช่น สิทธิข้าราชการปัจจุบันพบว่าอัตราการตรวจอยู่ที่ 530-1,200 บาท หากตรวจตามโปรแกรมดังกล่าวจะเหลืออยู่ที่ 380-400 บาทต่อคนต่อปีเท่านั้น และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้ ” นพ.ยศ กล่าว