ทูตมะกัน พบปลัด ก.แรงงาน จี้ไทยเร่งดำเนินคดี ลงโทษเด็ดขาดผู้กระทำผิดค้ามนุษย์ แนะดึงตำรวจเข้าร่วมตรวจแรงงาน เตรียมจัดทีมที่ปรึกษาช่วย ก.แรงงาน ปรับระบบตรวจแรงงาน ลงโทษทางกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น
วันนี้ (6 ส.ค.) เวลา 08.30 น.ที่ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) นายหลุยส์ ซี ดีเบกา (Luis C. deBaca) ผู้แทนเอกอัครราชทูตประจำสำนักงานติดตามและต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา พร้อมคณะ ได้เข้าหารือกับ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน โดย นายหลุยส์ กล่าวว่า เท่าที่ได้รับฟังข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน มองว่า รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการยึดพาสปอร์ตและหักเงินค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในกิจการประเภทต่างๆ เพื่อจ่ายเป็นค่านายหน้าในการเข้าทำงานในไทย ขณะนี้ยังมีจุดอ่อนในเรื่องการลงโทษทางกฎหมายกับนายจ้างที่กระทำผิดเรื่องการค้ามนุษย์ ซึ่งยังเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่เข้มงวดเพียงพอ ทำให้นายจ้างไม่มีความเกรงกลัวและยังกล้ากระทำผิดอยู่ จึงอยากให้กระทรวงแรงงานปรับปรุงเรื่องนี้โดยต้องประสานงานกับตำรวจให้เข้ามาช่วยตรวจสอบ จับกุม และดำเนินคดีกับนายจ้างให้มากขึ้น ทั้งนี้ อเมริกาจะส่งคณะที่ปรึกษามาช่วยแนะนำกระทรวงแรงงานในเรื่องนี้เพื่อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งในการดำเนินการทางกฎหมายกับนายจ้างที่กระทำผิด
นายหลุยส์ กล่าวอีกว่า ตนเป็นห่วงเรื่องการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง และเข้าข่ายการค้ามนุษย์ ควรมีการดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทจัดหางานอย่างเข้มงวด รวมทั้งการที่ประเทศไทยจะนำเข้าแรงงานบังกลาเทศเข้ามาทำงานด้านประมง จำนวน 5 หมื่นคนนั้น ควรมีระบบการดูแลและคุ้มครองแรงงานบังกลาเทศที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาค้ามนุษย์ขึ้น
“การตรวจแรงงานนั้นควรให้ตำรวจเข้ามาร่วมด้วย จะทำให้พบนายจ้างที่กระทำผิดได้มากขึ้นและลงโทษได้เข้มงวดขึ้น เพราะลำพังการตรวจแรงงานโดยกระทรวงแรงงานไม่สามารถทำได้ทั่วถึง เนื่องจากพนักงานตรวจแรงงานมีน้อย แต่สถานประกอบการมีมากมาย และไม่ควรให้นายจ้างนำลูกจ้างมาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะจะไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ผมเคยมีประสบการณ์ไปตรวจแรงงานในสถานประกอบการ เวลาไปตรวจนายจ้างมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีการหักค่าจ้าง แต่มีการกระทำผิดโดยนายจ้างไปเรียกเก็บเงินลูกจ้างต่างหากเป็นเวลา 8 เดือน ทำให้ลูกจ้างได้เงินเดือนน้อย” นายหลุยส์ กล่าว
ด้าน นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า จากการพูดคุยนายหลุยส์ ซี ดีเบกา ได้ให้ความเห็นว่ากระทรวงแรงงานต้องทำงานร่วมกับตำรวจให้มากขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ก็มีความใกล้ชิดกับตำรวจ ทำให้การร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นไปด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น
“นายหลุยส์ยังเป็นห่วงเรื่องการดำเนินคดีในข้อหาค้ามนุษย์ของไทยว่ามีความล่าช้า ที่ผ่านมาเป็นเพียงฐานความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีการลงโทษแค่การปรับ และเอาผิดทางแพ่ง ไม่ได้ดำเนินคดีอาญา ผมจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับ รมว.แรงงาน รวมทั้งต้องหามาตรการจัดการ ดำเนินคดีที่ทำให้นายจ้าง และกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการค้ามนุษย์อย่างเข้มงวด เพื่อให้เข็ดหลาบ โดยเฉพาะบริษัทที่จัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูง นอกจากจะยึดใบอนุญาตชั่วคราว หรือปิดบริษัทแล้ว ต่อไปจะต้องส่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีทางอาญาด้วย โดยเร็วๆ นี้ ผมจะเรียกประชุมผู้บริหารกรมการจัดหางาน (กกจ.) และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เพื่อแยกแยะและรวบรวมข้อมูลกรณีการกระทำความผิดของนายจ้างและบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศว่ามีการกระทำผิดเข้าข่ายการค้ามนุษย์หรือไม่ และความผิดรุนแรงเพียงใด หากพบว่ามีความผิดอื่นๆ เช่น มีความผิดทางอาญาก็จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ตำรวจให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย ” นพ.สมเกียรติ กล่าว
นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า นายหลุยส์ยังได้แสดงความเป็นห่วงถึงการนำเข้าแรงงานจากประเทศบังกลาเทศ เพื่อมาทำงานในกิจการประมงในรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยกระทรวงแรงงานได้อธิบายว่าจะมีการทำสัญญากันแบบรัฐต่อรัฐ และจะอบรมแรงงานบังกลาเทศให้เข้าใจถึงสภาพการทำงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ อีกทั้งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างนายจ้างและแรงงานบังกลาเทศ และจะจัดอบรมไต้ก๋งเรือให้มีความเข้าใจถึงสิทธิของแรงงานบังกลาเทศด้วย
นอกจากนี้ จะขอความร่วมมือรัฐบาลของบังกลาเทศดูแลเรื่องการจัดส่งแรงงานไม่ให้มีการเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินไป และขอให้ตั้งผู้แทนเข้ามาดูแลแรงงานบังกลาเทศในไทย ร่วมกับทางการไทยในการตรวจสอบ ดูแล การปฏิบัติของนายจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาจ้างและได้มาตรฐานหรือไม่ เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ นายหลุยส์จะส่งคณะที่ปรึกษามาให้คำแนะนำในเรื่องระบบตรวจแรงงานและการดำเนินคดีทางกฎหมาย เพื่อให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยดีขึ้น
วันนี้ (6 ส.ค.) เวลา 08.30 น.ที่ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) นายหลุยส์ ซี ดีเบกา (Luis C. deBaca) ผู้แทนเอกอัครราชทูตประจำสำนักงานติดตามและต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา พร้อมคณะ ได้เข้าหารือกับ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) และคณะผู้บริหารกระทรวงแรงงาน โดย นายหลุยส์ กล่าวว่า เท่าที่ได้รับฟังข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน มองว่า รู้สึกเป็นห่วงเรื่องการยึดพาสปอร์ตและหักเงินค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในกิจการประเภทต่างๆ เพื่อจ่ายเป็นค่านายหน้าในการเข้าทำงานในไทย ขณะนี้ยังมีจุดอ่อนในเรื่องการลงโทษทางกฎหมายกับนายจ้างที่กระทำผิดเรื่องการค้ามนุษย์ ซึ่งยังเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่เข้มงวดเพียงพอ ทำให้นายจ้างไม่มีความเกรงกลัวและยังกล้ากระทำผิดอยู่ จึงอยากให้กระทรวงแรงงานปรับปรุงเรื่องนี้โดยต้องประสานงานกับตำรวจให้เข้ามาช่วยตรวจสอบ จับกุม และดำเนินคดีกับนายจ้างให้มากขึ้น ทั้งนี้ อเมริกาจะส่งคณะที่ปรึกษามาช่วยแนะนำกระทรวงแรงงานในเรื่องนี้เพื่อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งในการดำเนินการทางกฎหมายกับนายจ้างที่กระทำผิด
นายหลุยส์ กล่าวอีกว่า ตนเป็นห่วงเรื่องการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินความเป็นจริง และเข้าข่ายการค้ามนุษย์ ควรมีการดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทจัดหางานอย่างเข้มงวด รวมทั้งการที่ประเทศไทยจะนำเข้าแรงงานบังกลาเทศเข้ามาทำงานด้านประมง จำนวน 5 หมื่นคนนั้น ควรมีระบบการดูแลและคุ้มครองแรงงานบังกลาเทศที่เป็นมาตรฐานสากลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาค้ามนุษย์ขึ้น
“การตรวจแรงงานนั้นควรให้ตำรวจเข้ามาร่วมด้วย จะทำให้พบนายจ้างที่กระทำผิดได้มากขึ้นและลงโทษได้เข้มงวดขึ้น เพราะลำพังการตรวจแรงงานโดยกระทรวงแรงงานไม่สามารถทำได้ทั่วถึง เนื่องจากพนักงานตรวจแรงงานมีน้อย แต่สถานประกอบการมีมากมาย และไม่ควรให้นายจ้างนำลูกจ้างมาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ด้วย เพราะจะไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ผมเคยมีประสบการณ์ไปตรวจแรงงานในสถานประกอบการ เวลาไปตรวจนายจ้างมีเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีการหักค่าจ้าง แต่มีการกระทำผิดโดยนายจ้างไปเรียกเก็บเงินลูกจ้างต่างหากเป็นเวลา 8 เดือน ทำให้ลูกจ้างได้เงินเดือนน้อย” นายหลุยส์ กล่าว
ด้าน นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า จากการพูดคุยนายหลุยส์ ซี ดีเบกา ได้ให้ความเห็นว่ากระทรวงแรงงานต้องทำงานร่วมกับตำรวจให้มากขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ก็มีความใกล้ชิดกับตำรวจ ทำให้การร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นไปด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น
“นายหลุยส์ยังเป็นห่วงเรื่องการดำเนินคดีในข้อหาค้ามนุษย์ของไทยว่ามีความล่าช้า ที่ผ่านมาเป็นเพียงฐานความผิดที่ไม่ร้ายแรง มีการลงโทษแค่การปรับ และเอาผิดทางแพ่ง ไม่ได้ดำเนินคดีอาญา ผมจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับ รมว.แรงงาน รวมทั้งต้องหามาตรการจัดการ ดำเนินคดีที่ทำให้นายจ้าง และกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการค้ามนุษย์อย่างเข้มงวด เพื่อให้เข็ดหลาบ โดยเฉพาะบริษัทที่จัดส่งแรงงานไปทำงานต่างประเทศที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูง นอกจากจะยึดใบอนุญาตชั่วคราว หรือปิดบริษัทแล้ว ต่อไปจะต้องส่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีทางอาญาด้วย โดยเร็วๆ นี้ ผมจะเรียกประชุมผู้บริหารกรมการจัดหางาน (กกจ.) และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เพื่อแยกแยะและรวบรวมข้อมูลกรณีการกระทำความผิดของนายจ้างและบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศว่ามีการกระทำผิดเข้าข่ายการค้ามนุษย์หรือไม่ และความผิดรุนแรงเพียงใด หากพบว่ามีความผิดอื่นๆ เช่น มีความผิดทางอาญาก็จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ตำรวจให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย ” นพ.สมเกียรติ กล่าว
นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า นายหลุยส์ยังได้แสดงความเป็นห่วงถึงการนำเข้าแรงงานจากประเทศบังกลาเทศ เพื่อมาทำงานในกิจการประมงในรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยกระทรวงแรงงานได้อธิบายว่าจะมีการทำสัญญากันแบบรัฐต่อรัฐ และจะอบรมแรงงานบังกลาเทศให้เข้าใจถึงสภาพการทำงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการต่างๆ อีกทั้งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างนายจ้างและแรงงานบังกลาเทศ และจะจัดอบรมไต้ก๋งเรือให้มีความเข้าใจถึงสิทธิของแรงงานบังกลาเทศด้วย
นอกจากนี้ จะขอความร่วมมือรัฐบาลของบังกลาเทศดูแลเรื่องการจัดส่งแรงงานไม่ให้มีการเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินไป และขอให้ตั้งผู้แทนเข้ามาดูแลแรงงานบังกลาเทศในไทย ร่วมกับทางการไทยในการตรวจสอบ ดูแล การปฏิบัติของนายจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาจ้างและได้มาตรฐานหรือไม่ เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ นายหลุยส์จะส่งคณะที่ปรึกษามาให้คำแนะนำในเรื่องระบบตรวจแรงงานและการดำเนินคดีทางกฎหมาย เพื่อให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยดีขึ้น