นักวิจัยอาหารคิดสูตรลดโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป 15 รายการ ทั้งแกงส้ม แกงเลียง กะเพรา ผัดไทย ส้มตำ หมูปิ้ง ฯลฯ ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมื้อละ 600 มิลลิกรัม เตรียมเผยแพร่สูตรให้อุตสาหกรรมอาหาร
วันนี้ (24 ก.ค.) ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี นางเนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในการแถลงข่าว “ข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมมากและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการ เพื่อการปรับลดโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร” รายงานการสาธารณสุขไทยปี 2551-2553 พบอุบัติการณ์โรคความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 20 หรือ ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและไตเรื้อรังตามมา ขณะนี้ได้มีการพัฒนาและปรับสูตรลดโซเดียมในผลิตภัณฑ์น้ำปรุงอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค 15 รายการ แบ่งเป็น กับข้าว 7 ชนิด เช่น แกงส้ม แกงเลียง ผัดกะเพรา ผัดผัก อาหารจานเดียว 8 ชนิด เช่น ผัดไทย ข้าวผัด ส้มตำ หมูปิ้ง เป็นต้น เพื่อให้ได้ปริมาณโซเดียมเป็นไปตามมาตรฐานสารอาหารและพลังงานที่ควรได้รับตามหลักโภชนาการสากล 1 วัน 2,000 มิลลิกรัม และเฉลี่ยมื้อละ 600 มิลลิกรัม โดยเตรียมนำ 15 สูตรเมนูดังกล่าว เผยแพร่สูตรให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและระดมสมองเพื่อการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์อาหารลดเค็มสำหรับคนไทยมีสุขภาพดี ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์ ด้วย
วันนี้ (24 ก.ค.) ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี นางเนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในการแถลงข่าว “ข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมมากและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคและความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตผู้ประกอบการ เพื่อการปรับลดโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร” รายงานการสาธารณสุขไทยปี 2551-2553 พบอุบัติการณ์โรคความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ 20 หรือ ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและไตเรื้อรังตามมา ขณะนี้ได้มีการพัฒนาและปรับสูตรลดโซเดียมในผลิตภัณฑ์น้ำปรุงอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภค 15 รายการ แบ่งเป็น กับข้าว 7 ชนิด เช่น แกงส้ม แกงเลียง ผัดกะเพรา ผัดผัก อาหารจานเดียว 8 ชนิด เช่น ผัดไทย ข้าวผัด ส้มตำ หมูปิ้ง เป็นต้น เพื่อให้ได้ปริมาณโซเดียมเป็นไปตามมาตรฐานสารอาหารและพลังงานที่ควรได้รับตามหลักโภชนาการสากล 1 วัน 2,000 มิลลิกรัม และเฉลี่ยมื้อละ 600 มิลลิกรัม โดยเตรียมนำ 15 สูตรเมนูดังกล่าว เผยแพร่สูตรให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ในการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและระดมสมองเพื่อการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์อาหารลดเค็มสำหรับคนไทยมีสุขภาพดี ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์ ด้วย