สธ.ลงพื้นที่รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ จ.ปทุมธานี ให้ร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนทุก 7 วัน ชี้เป็นมาตรการป้องกันที่ได้ผลที่สุด เผยในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 6,013 ราย จำนวนยังสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 3 เท่าตัว
วันนี้ (18 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดงาน “จังหวัดปทุมธานีผลึกกำลังต้านภัยไข้เลือดออก” ที่โรงเรียนวัดบางนางบุญ บ้านบางขะแยง ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี และมอบทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้ อสม.และแกนนำนักเรียน พร้อมร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ มาตรการที่ สธ.เน้นหนักขณะนี้มี 2 เรื่องคือ การป้องกันการป่วย และการเสียชีวิต ได้ให้ส่วนกลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งตั้งวอร์รูม และมิสเตอร์ไข้เลือดออก ติดตามควบคุมโรคนี้ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และให้ อสม.ที่กระจายทั่วประเทศ หมู่บ้านละ 10-15 คน เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ให้ความรู้ประชาชน ค้นหาผู้ป่วย และส่งทีมเคลื่อนที่เร็วเข้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดซ้ำในพื้นที่เดิม
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ขอย้ำหากมีไข้สูงขอให้คิดถึงโรคไข้เลือดออกไว้ก่อน ลักษณะสำคัญของโรคนี้ จะมีไข้สูงเฉียบพลัน และไข้มักจะไม่ลงหลังเช็ดตัวหรือให้กินยาลดไข้ ใบหน้ามีสีแดง มีจุดสีแดงตามผิวหนัง ปวดศีรษะ หากมีอาการดังกล่าวและไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำในการดูแลอย่างถูกต้อง ช่วงที่ต้องดูแลใกล้ชิดคือช่วงที่ไข้ลด หากผู้ป่วยมีอาการแจ่มใสขึ้น แสดงว่าหายป่วย แต่หากหลังไข้ลงแล้ว ผู้ป่วยมีอาการซึมลง อ่อนเพลีย ไม่พูดคุย หรือมีเลือดกำเดาออก มีเลือดออกตามไรฟัน ถ่ายอุจจาระสีดำ แสดงว่ากำลังจะเข้าสู่อาการช็อกต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว หากช้าอาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้อาการไข้เลือดออกในเด็ก อาจจะมีเพียงไข้และมีผื่น ส่วนในผู้ใหญ่อาจมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยในปีนี้สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2555 ประมาณ 3 เท่าตัว ในช่วงวันที่ 9-16 ก.ค. 2556 หรือช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 6,013 ราย เสียชีวิต 2 ราย รวมผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.-16 ก.ค. 2556 มีทั้งหมด 73,902 ราย เสียชีวิต 73 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.10 พบผู้ป่วยเสียชีวิตสูงสุดในกลุ่มอายุ 15-24 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน สำหรับที่ จ.ปทุมธานี ในปีนี้ มีผู้ป่วย 459 ราย เสียชีวิต 2 ราย พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี พื้นที่ที่มีผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ อ.เมือง รองลงมาคือ อ.คลองหลวง และ อ.ธัญบุรี ยุงลายที่เป็นต้นเหตุโรคนี้ ร้อยละ 95 มักอาศัยอยู่ในบ้านคน ชอบวางไข่ตามน้ำใสที่ขังนิ่ง ที่เหลืออยู่ตามสวน, ป่า ยุง 1 ตัว มีชีวิต 30-45 วัน วางไข่ได้ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 200 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัว 7-10 วัน ดังนั้นวิธีการป้องกันดีที่สุด คือป้องกันไม่ให้ยุงเกิด ประชาชนต้องช่วยกันปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำในบ้าน เปลี่ยนน้ำในแจกันไม้ประดับ ขารองตู้กับข้าวทุก 7 วัน ปล่อยปลาหางนกยูงในอ่างบัว อ่างไม้น้ำ หรือภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่สามารถปิดฝาได้ รวมทั้งภาชนะรอบๆ บ้าน ยางรถยนต์เก่า และปิดฝาโอ่งน้ำ ไม่ให้ยุงไปวางไข่ได้ ปริมาณยุงลายจะลดลง
ยุงลายออกหากินเวลากลางวัน ดังนั้นผู้ที่นอนในช่วงกลางวันควรกางมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ไม่ว่าจะอยู่บนตึกสูง หรือบ้าน เพื่อป้องกันยุงกัด สำหรับการพ่นสารเคมีนั้น จะใช้เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เพื่อฆ่าทำลายกำจัดยุงลายตัวโตเต็มวัยที่มีเชื้อไข้เลือดออก โดยพ่นในรัศมี 100 เมตรรอบๆ บ้านผู้ป่วยและชุมชน ป้องกันไม่ให้ไปกัดคนอื่นและไม่ให้ไปวางไข่แพร่พันธุ์ต่อ ทั้งนี้ จากการติดตามควบคุมโรคในชุมชนของผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตทุกราย พบว่าทุกชุมชนมีลูกน้ำยุงลายในภาชนะขังน้ำต่างๆ
วันนี้ (18 ก.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วยนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดงาน “จังหวัดปทุมธานีผลึกกำลังต้านภัยไข้เลือดออก” ที่โรงเรียนวัดบางนางบุญ บ้านบางขะแยง ต.บางขะแยง อ.เมือง จ.ปทุมธานี และมอบทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้ อสม.และแกนนำนักเรียน พร้อมร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ มาตรการที่ สธ.เน้นหนักขณะนี้มี 2 เรื่องคือ การป้องกันการป่วย และการเสียชีวิต ได้ให้ส่วนกลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งตั้งวอร์รูม และมิสเตอร์ไข้เลือดออก ติดตามควบคุมโรคนี้ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และให้ อสม.ที่กระจายทั่วประเทศ หมู่บ้านละ 10-15 คน เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ให้ความรู้ประชาชน ค้นหาผู้ป่วย และส่งทีมเคลื่อนที่เร็วเข้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดซ้ำในพื้นที่เดิม
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ขอย้ำหากมีไข้สูงขอให้คิดถึงโรคไข้เลือดออกไว้ก่อน ลักษณะสำคัญของโรคนี้ จะมีไข้สูงเฉียบพลัน และไข้มักจะไม่ลงหลังเช็ดตัวหรือให้กินยาลดไข้ ใบหน้ามีสีแดง มีจุดสีแดงตามผิวหนัง ปวดศีรษะ หากมีอาการดังกล่าวและไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำในการดูแลอย่างถูกต้อง ช่วงที่ต้องดูแลใกล้ชิดคือช่วงที่ไข้ลด หากผู้ป่วยมีอาการแจ่มใสขึ้น แสดงว่าหายป่วย แต่หากหลังไข้ลงแล้ว ผู้ป่วยมีอาการซึมลง อ่อนเพลีย ไม่พูดคุย หรือมีเลือดกำเดาออก มีเลือดออกตามไรฟัน ถ่ายอุจจาระสีดำ แสดงว่ากำลังจะเข้าสู่อาการช็อกต้องรีบพบแพทย์โดยเร็ว หากช้าอาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้อาการไข้เลือดออกในเด็ก อาจจะมีเพียงไข้และมีผื่น ส่วนในผู้ใหญ่อาจมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยในปีนี้สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2555 ประมาณ 3 เท่าตัว ในช่วงวันที่ 9-16 ก.ค. 2556 หรือช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 6,013 ราย เสียชีวิต 2 ราย รวมผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค.-16 ก.ค. 2556 มีทั้งหมด 73,902 ราย เสียชีวิต 73 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.10 พบผู้ป่วยเสียชีวิตสูงสุดในกลุ่มอายุ 15-24 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน สำหรับที่ จ.ปทุมธานี ในปีนี้ มีผู้ป่วย 459 ราย เสียชีวิต 2 ราย พบสูงสุดในกลุ่มอายุ 10-14 ปี พื้นที่ที่มีผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ อ.เมือง รองลงมาคือ อ.คลองหลวง และ อ.ธัญบุรี ยุงลายที่เป็นต้นเหตุโรคนี้ ร้อยละ 95 มักอาศัยอยู่ในบ้านคน ชอบวางไข่ตามน้ำใสที่ขังนิ่ง ที่เหลืออยู่ตามสวน, ป่า ยุง 1 ตัว มีชีวิต 30-45 วัน วางไข่ได้ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 200 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัว 7-10 วัน ดังนั้นวิธีการป้องกันดีที่สุด คือป้องกันไม่ให้ยุงเกิด ประชาชนต้องช่วยกันปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำในบ้าน เปลี่ยนน้ำในแจกันไม้ประดับ ขารองตู้กับข้าวทุก 7 วัน ปล่อยปลาหางนกยูงในอ่างบัว อ่างไม้น้ำ หรือภาชนะเก็บกักน้ำที่ไม่สามารถปิดฝาได้ รวมทั้งภาชนะรอบๆ บ้าน ยางรถยนต์เก่า และปิดฝาโอ่งน้ำ ไม่ให้ยุงไปวางไข่ได้ ปริมาณยุงลายจะลดลง
ยุงลายออกหากินเวลากลางวัน ดังนั้นผู้ที่นอนในช่วงกลางวันควรกางมุ้ง หรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด ไม่ว่าจะอยู่บนตึกสูง หรือบ้าน เพื่อป้องกันยุงกัด สำหรับการพ่นสารเคมีนั้น จะใช้เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก เพื่อฆ่าทำลายกำจัดยุงลายตัวโตเต็มวัยที่มีเชื้อไข้เลือดออก โดยพ่นในรัศมี 100 เมตรรอบๆ บ้านผู้ป่วยและชุมชน ป้องกันไม่ให้ไปกัดคนอื่นและไม่ให้ไปวางไข่แพร่พันธุ์ต่อ ทั้งนี้ จากการติดตามควบคุมโรคในชุมชนของผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตทุกราย พบว่าทุกชุมชนมีลูกน้ำยุงลายในภาชนะขังน้ำต่างๆ