สพฐ.ยันไม่ได้เกณฑ์ครูเข้าอบรมปฏิบัติธรรมในวัดพระธรรมกาย ระบุจัดอบรมจริง แต่เป็นโครงการสนองนโยบายรัฐ ที่ต้องการให้พัฒนาคุณธรรมนำวิชาการ และหวังสร้างเครือข่ายการเรียนรู้คู่คุณธรรมตามหลัก “บวร-บรม” โดยมีกลุ่มเป้าหมายอบรมกว่า 1 แสนคนจาก ร.ร.ในฝัน และ ร.ร.มาตรฐานสากล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรรม “รุ่นครูทั้งโรงเรียน” เพื่อพัฒนาคุณธรรมนำวิชาการ ฝึกปฏิบัติในวัดเป็นระยะเวลา 2-6 วัน โดยกำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษา ระดับรองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้บริหาร ข้าราชการ ครู ครูอัตราจ้าง ครูผู้ช่วย ทุกคนของโรงเรียนในฝันและโรงเรียนมาตรฐานสากล ยกเว้นครูที่ไม่ได้ทำหน้าที่สอนและนับถือศาสนาอื่นๆ ให้เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจนั้น แต่เนื่องจากขณะนี้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการอบรมปฏิบัติการที่กำลังจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-4 ต.ค. 2556 นี้ ปรากฏว่าโรงเรียนมีการบังคับเพื่อเกณฑ์ให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะต้องเข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดพระธรรมกาย หรือศูนย์ปฏิบัติธรรม
นางอรทัย มูลคำ ที่ปรึกษา สพฐ.ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเน้นคุณธรรมนำวิชาการ ดังนั้น สพฐ.จึงได้ร่วมกับพระสังฆาธิการทั่วประเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อศีลธรรมและองค์กรอื่นๆ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรม “รุ่นครูทั้งโรงเรียน” ให้แก่ผู้บริหาร ครู นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและพระภิกษุสงฆ์ หรือผู้นำศาสนาที่อยู่ใกล้โรงเรียนจำนวน 119,393 คน ในโรงเรียนดีศรีตำบล จำนวน 6,545 โรงทั่วประเทศทุกตำบลมาเข้าร่วมการอบรมพัฒนา โดย สพฐ.ต้องการเน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้คู่คุณธรรม ในลักษณะ บ้าน วัด/มัสยิด โรงเรียน หรือที่รู้จักกันในตัวย่อว่า “บวร” และ “บรม” ซึ่งกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2555-2556
ทั้งนี้ สพฐ.ใช้แนวทางการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรมดังกล่าว มาเป็นกลไกในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นต้นแบบที่ดี มีศีล มีธรรมให้กับนักเรียน และเพื่อหวังให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพตามนโยบาย 7-7-7-7 คือ การปลูกฝังนิสัยนักเรียนให้มีวินัย มีความเคารพและมีความอดทน การเรียนรู้ภาษาอาเซียน การใช้ ICT การมีจิตสานึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างงานสร้างอาชีพผ่านกิจกรรมต่างๆ
“ที่ผ่านมา สพฐ.ได้จัดอบรมไปแล้วหลายรุ่น ซึ่งทุกรุ่นจะต้องไปปฏิบัติธรรมในวัด หรือศูนย์ปฏิบัติที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทุกคนต้องถือศีล 8 และทำกิจกรรมตามตารางที่กำหนด ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้เป็นการบังคับต้องไปปฏิบัติธรรมในวัดพระธรรมกายแต่อย่างใด ซึ่งจากเสียงตอบรับของผู้เคยเข้าร่วมบอกชัดว่าโครงการดังกล่าวนี้ดี ผู้บริหารและครูนำแนวทางที่ได้จากการอบรมไปปรับแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ไปส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน รู้เท่าทันและเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ได้ตามนโยบาย สพฐ.เพราะฉะนั้น จึงไม่อยากให้คิดหรือพูดว่า สพฐ.บังคับให้ครูต้องมาร่วม แต่เป็นการขอความร่วมมือจากทุกคนมากกว่า โดยเฉพาะโรงเรียนในฝันและโรงเรียนดีศรีตำบล จะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป” นางอรทัย กล่าวและว่า ขณะนี้กำลังจะมีการอบรมปฏิบัติการในระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-4 ต.ค. 2556 รวม 11 รุ่น ซึ่งเป็นการอบรมสุดท้ายก่อนสิ้นสุดโครงการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ.04001/2069 เรื่อง แจ้งการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรรมโครงการโรงเรียนในฝัน และโรงเรียนมาตรฐานสากล ถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้โรงเรียนแจ้งข้าราชการครู ครูผู้ช่วย และครูอัตราจ้างของโรงเรียนในสังกัด จำนวน 72,507 คน เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-4 ต.ค.2556 รวม 11 รุ่น โดยให้ปิดโรงเรียนประมาณ 3 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรรม “รุ่นครูทั้งโรงเรียน” เพื่อพัฒนาคุณธรรมนำวิชาการ ฝึกปฏิบัติในวัดเป็นระยะเวลา 2-6 วัน โดยกำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษา ระดับรองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้บริหาร ข้าราชการ ครู ครูอัตราจ้าง ครูผู้ช่วย ทุกคนของโรงเรียนในฝันและโรงเรียนมาตรฐานสากล ยกเว้นครูที่ไม่ได้ทำหน้าที่สอนและนับถือศาสนาอื่นๆ ให้เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจนั้น แต่เนื่องจากขณะนี้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการอบรมปฏิบัติการที่กำลังจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-4 ต.ค. 2556 นี้ ปรากฏว่าโรงเรียนมีการบังคับเพื่อเกณฑ์ให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะต้องเข้าไปปฏิบัติธรรมในวัดพระธรรมกาย หรือศูนย์ปฏิบัติธรรม
นางอรทัย มูลคำ ที่ปรึกษา สพฐ.ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงว่า โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเน้นคุณธรรมนำวิชาการ ดังนั้น สพฐ.จึงได้ร่วมกับพระสังฆาธิการทั่วประเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย มูลนิธิพัฒนาการศึกษาเพื่อศีลธรรมและองค์กรอื่นๆ จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรม “รุ่นครูทั้งโรงเรียน” ให้แก่ผู้บริหาร ครู นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและพระภิกษุสงฆ์ หรือผู้นำศาสนาที่อยู่ใกล้โรงเรียนจำนวน 119,393 คน ในโรงเรียนดีศรีตำบล จำนวน 6,545 โรงทั่วประเทศทุกตำบลมาเข้าร่วมการอบรมพัฒนา โดย สพฐ.ต้องการเน้นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้คู่คุณธรรม ในลักษณะ บ้าน วัด/มัสยิด โรงเรียน หรือที่รู้จักกันในตัวย่อว่า “บวร” และ “บรม” ซึ่งกำหนดระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2555-2556
ทั้งนี้ สพฐ.ใช้แนวทางการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรมดังกล่าว มาเป็นกลไกในการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นต้นแบบที่ดี มีศีล มีธรรมให้กับนักเรียน และเพื่อหวังให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาคุณภาพตามนโยบาย 7-7-7-7 คือ การปลูกฝังนิสัยนักเรียนให้มีวินัย มีความเคารพและมีความอดทน การเรียนรู้ภาษาอาเซียน การใช้ ICT การมีจิตสานึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างงานสร้างอาชีพผ่านกิจกรรมต่างๆ
“ที่ผ่านมา สพฐ.ได้จัดอบรมไปแล้วหลายรุ่น ซึ่งทุกรุ่นจะต้องไปปฏิบัติธรรมในวัด หรือศูนย์ปฏิบัติที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทุกคนต้องถือศีล 8 และทำกิจกรรมตามตารางที่กำหนด ซึ่งยืนยันว่าไม่ได้เป็นการบังคับต้องไปปฏิบัติธรรมในวัดพระธรรมกายแต่อย่างใด ซึ่งจากเสียงตอบรับของผู้เคยเข้าร่วมบอกชัดว่าโครงการดังกล่าวนี้ดี ผู้บริหารและครูนำแนวทางที่ได้จากการอบรมไปปรับแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ไปส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน รู้เท่าทันและเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ได้ตามนโยบาย สพฐ.เพราะฉะนั้น จึงไม่อยากให้คิดหรือพูดว่า สพฐ.บังคับให้ครูต้องมาร่วม แต่เป็นการขอความร่วมมือจากทุกคนมากกว่า โดยเฉพาะโรงเรียนในฝันและโรงเรียนดีศรีตำบล จะเป็นกำลังสำคัญในการดูแลโรงเรียนอื่นๆ ต่อไป” นางอรทัย กล่าวและว่า ขณะนี้กำลังจะมีการอบรมปฏิบัติการในระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-4 ต.ค. 2556 รวม 11 รุ่น ซึ่งเป็นการอบรมสุดท้ายก่อนสิ้นสุดโครงการ
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ.04001/2069 เรื่อง แจ้งการสัมมนาเชิงปฏิบัติธรรรมโครงการโรงเรียนในฝัน และโรงเรียนมาตรฐานสากล ถึงผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้โรงเรียนแจ้งข้าราชการครู ครูผู้ช่วย และครูอัตราจ้างของโรงเรียนในสังกัด จำนวน 72,507 คน เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-4 ต.ค.2556 รวม 11 รุ่น โดยให้ปิดโรงเรียนประมาณ 3 วัน