กทม.ยันรื้อชานชาลาบีทีเอสตากสินหวังสร้างรางคู่แก้ปัญหาคอขวด ไม่กระทบการเดินรถไฟฟ้าข้ามเจ้าพระยาแน่ เหตุเริ่มก่อสร้างทีละส่วน พร้อมทำแนวกั้นอย่างดี หากกระทบจะดำเนินการหลังเที่ยงคืน คาดเริ่มรื้อชานชาลา ก.ค. 57 พร้อมเผยยอดผู้โดยสารสถานีตากสินลดลง เหลือ 50,000 คนต่อวัน
นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีการยกเลิกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน (S6) โดยจะรื้อชานชาลาของสถานีแล้วปรับปรุงรางรถไฟฟ้าจากรางเดียวให้เป็นรางคู่ เพื่อแก้ปัญหาช่วงคอขวด ว่า การก่อสร้างจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชนระหว่างฝั่งธนบุรี และฝั่งพระนครที่โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างแน่นอน เพราะจะมีการดำเนินการก่อสร้างทีละส่วน โดยลำดับแรกจะก่อสร้างทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Skywalk) ระยะทาง 711 เมตร ระหว่างสถานีสุรศักดิ์ (S5) ถึงสถานีสะพานตากสิน (S6) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ ก.ค.นี้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 360 วัน ให้เสร็จก่อน เพื่อเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกการเดินทางขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสจากสถานีสะพานตากสินไปสถานีสุรศักดิ์ได้ง่ายขึ้น
“หลังสร้างทางเดินเสร็จอาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่จะต่อเรือเจ้าพระยา จากเมื่อก่อนที่เคยลงสถานีสะพานตากสิน และเดินลงบันไดเลื่อนไปต่อเรือได้เลย จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 10 นาที ในการเดินทางเดินเลื่อนจากสถานีสุรศักด์ มายังท่าเรือ แต่ถ้าประชาชนต้องการจะไปถนนเจริญกรุงก็สะดวกมากขึ้น เพราะสามารถลงได้ที่สถานีสุรศักด์ และเดินตามทางเลื่อนมาได้เลย” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
นายอมร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หลังจากสร้างสกายวอล์กเสร็จแล้ว จึงค่อยดำเนินการรื้อถอนชานชาลาสถานีตากสินออก เพื่อทำเป็นรางคู่ ซึ่งระหว่างการดำเนินการนั้น รถไฟฟ้าสามารถให้บริการเดินรถได้ตามปกติ แต่จะไม่จอดสถานีสะพานตากสิน โดยขณะก่อสร้างจะมีการทำแนวกั้นไม่ให้กระทบต่อการเดินรถ จึงขอยืนยันว่าไม่กระทบต่อการเดินทางของประชาชนแน่นอน แต่หากกระทบก็จะดำเนินการก่อสร้างเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้ว สำหรับด้านล่างชานชาลาที่เป็นที่ขายตั๋วนั้นก็จะเปิดให้บริการตามปกติ จนกว่าการสร้างทุกอย่างจะแล้วเสร็จ จึงจะทุบสถานีและยกเลิกการใช้สถานีสะพานตากสิน ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้มาใช้สถานีสะพานตากสินทั้งขาเข้าและขาออกถือว่าลดลง เหลือประมาณ 50,000 คนต่อวัน เนื่องจากประชาชนใช้บริการเพื่อต่อเรือน้อยลง
“สำหรับการดำเนินการก่อสร้างขณะนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะต้องรอสำนักการจราจรขนส่ง ว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไรให้ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด แน่นอนว่าจะไม่กระทบกับการจราจรด้านล่าง เพราะมีการใช้รูปแบบใหม่ทั้งหมดคือ จะมีคอนกรีตแบบหล่อ หรือคาสท์ (cast) แต่อาจกระทบกับรถที่วิ่งไปใต้ทางเลื่อนบ้าง เนื่องจากการตอกเสาเข็ม อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการเดินทางของประชาชนจะต้องมาเป็นหลักจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุดทั้งระหว่างการก่อสร้างและก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
นายอมร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดจะจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าจากสถานีสุรศักดิ์ไปถึงสถานีสะพานตากสิน จึงได้มอบหมายบริษัทกรุงเทพธนาคม และสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ประสานกับบีทีเอส อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวจะไม่กระทบกับค่าโดยสารของประชาชนไม่ว่าประชาชนจะมาจากไหนแล้วมาลงสถานีวงเวียนใหญ่ (S8) ค่าโดยสารจะไม่เกิน 40 บาท เพราะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.มีแนวทางให้คำนึงถึงค่าภาระค่าใช้จ่ายประชาชน
นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีการยกเลิกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานตากสิน (S6) โดยจะรื้อชานชาลาของสถานีแล้วปรับปรุงรางรถไฟฟ้าจากรางเดียวให้เป็นรางคู่ เพื่อแก้ปัญหาช่วงคอขวด ว่า การก่อสร้างจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางของประชาชนระหว่างฝั่งธนบุรี และฝั่งพระนครที่โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างแน่นอน เพราะจะมีการดำเนินการก่อสร้างทีละส่วน โดยลำดับแรกจะก่อสร้างทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ (Skywalk) ระยะทาง 711 เมตร ระหว่างสถานีสุรศักดิ์ (S5) ถึงสถานีสะพานตากสิน (S6) ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ ก.ค.นี้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 360 วัน ให้เสร็จก่อน เพื่อเชื่อมต่อและอำนวยความสะดวกการเดินทางขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสจากสถานีสะพานตากสินไปสถานีสุรศักดิ์ได้ง่ายขึ้น
“หลังสร้างทางเดินเสร็จอาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่จะต่อเรือเจ้าพระยา จากเมื่อก่อนที่เคยลงสถานีสะพานตากสิน และเดินลงบันไดเลื่อนไปต่อเรือได้เลย จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นประมาณ 10 นาที ในการเดินทางเดินเลื่อนจากสถานีสุรศักด์ มายังท่าเรือ แต่ถ้าประชาชนต้องการจะไปถนนเจริญกรุงก็สะดวกมากขึ้น เพราะสามารถลงได้ที่สถานีสุรศักด์ และเดินตามทางเลื่อนมาได้เลย” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
นายอมร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หลังจากสร้างสกายวอล์กเสร็จแล้ว จึงค่อยดำเนินการรื้อถอนชานชาลาสถานีตากสินออก เพื่อทำเป็นรางคู่ ซึ่งระหว่างการดำเนินการนั้น รถไฟฟ้าสามารถให้บริการเดินรถได้ตามปกติ แต่จะไม่จอดสถานีสะพานตากสิน โดยขณะก่อสร้างจะมีการทำแนวกั้นไม่ให้กระทบต่อการเดินรถ จึงขอยืนยันว่าไม่กระทบต่อการเดินทางของประชาชนแน่นอน แต่หากกระทบก็จะดำเนินการก่อสร้างเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้ว สำหรับด้านล่างชานชาลาที่เป็นที่ขายตั๋วนั้นก็จะเปิดให้บริการตามปกติ จนกว่าการสร้างทุกอย่างจะแล้วเสร็จ จึงจะทุบสถานีและยกเลิกการใช้สถานีสะพานตากสิน ซึ่งขณะนี้จำนวนผู้มาใช้สถานีสะพานตากสินทั้งขาเข้าและขาออกถือว่าลดลง เหลือประมาณ 50,000 คนต่อวัน เนื่องจากประชาชนใช้บริการเพื่อต่อเรือน้อยลง
“สำหรับการดำเนินการก่อสร้างขณะนี้ยังไม่ชัดเจน เพราะต้องรอสำนักการจราจรขนส่ง ว่าจะมีแนวทางการดำเนินการอย่างไรให้ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด แน่นอนว่าจะไม่กระทบกับการจราจรด้านล่าง เพราะมีการใช้รูปแบบใหม่ทั้งหมดคือ จะมีคอนกรีตแบบหล่อ หรือคาสท์ (cast) แต่อาจกระทบกับรถที่วิ่งไปใต้ทางเลื่อนบ้าง เนื่องจากการตอกเสาเข็ม อย่างไรก็ตาม ผมมองว่าการเดินทางของประชาชนจะต้องมาเป็นหลักจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุดทั้งระหว่างการก่อสร้างและก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว” รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าว
นายอมร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดจะจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าจากสถานีสุรศักดิ์ไปถึงสถานีสะพานตากสิน จึงได้มอบหมายบริษัทกรุงเทพธนาคม และสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ประสานกับบีทีเอส อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวจะไม่กระทบกับค่าโดยสารของประชาชนไม่ว่าประชาชนจะมาจากไหนแล้วมาลงสถานีวงเวียนใหญ่ (S8) ค่าโดยสารจะไม่เกิน 40 บาท เพราะ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.มีแนวทางให้คำนึงถึงค่าภาระค่าใช้จ่ายประชาชน