ผลวิจัยพบนักศึกษาไทยนิยมเสพเว็บโป๊ผ่านโซเชียลมีเดีย ยูทิวบ์ เฟซบุ๊ก เริ่มส่องเว็บ 10 ขวบ ลั่นเคยประกาศหาคู่ผ่านเน็ต ชี้กลุ่มบริโภคบ่อยมีผลต่อการซื้อบริการทางเพศ บางคนผันตัวขายบริการเอง ด้านกลุ่มหัวกะทิ แพทย์ วิทยาศาสตร์ นิยมใช้หาความบันเทิง เรียนรู้เรื่องเพศ
จากการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ที่ รร.บางกอกชฎา วันนี้ (11 ก.ค.) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยข้อมูลงานวิจัยทางวัฒนธรรมจำนวน 12 เรื่องที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวธ.พบผลงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ม.เซ็นต์จอห์น โดยมีการสำรวจการเปิดรับสื่ออนาจารต่อพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบข้อมูลว่า มีนักศึกษามากกว่า ร้อยละ 80 มีการเปิดรับสื่ออนาจารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยดูจากสมาร์ทโฟน ผ่านโปรแกรมต่างๆ โดย ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น มีแนวโน้มเฉลี่ยอายุลดลงเรื่อยๆ เห็นได้จากข่าวสารทุกวันนี้ มีเด็กทำแท้งมากขึ้น และเฉลี่ยอายุลดลง สาเหตุหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ก็มาจากการรับสื่ออนาจารต่างๆ
ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า ตนได้เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 2555 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 600 คน พบว่า นักศึกษาเปิดรับสื่ออนาจารบนสมาร์ทโฟนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในโซเชียลมีเดีย อาทิ ยูทิวบ์ เฟซบุ๊ก มากถึงร้อยละ 80 โดยกลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะรู้จักเว็บไซต์อนาจาร 1-3 เว็บ จะดูที่หอพัก และบ้านเพื่อน
สำหรับช่วงอายุในการเปิดรับสื่ออนาจาร พบว่า นศ.ชายเริ่มรู้จักและสัมผัสสื่ออายุ 10-13 ปี นศ.หญิงช่วงอายุ 14-16 ปี ที่สำคัญระบุว่า เคยประกาศหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต ขณะที่วัตถุประสงค์ของการรับสื่ออนาจาร 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.เพื่อความบันเทิง เพื่อผ่อนคลายความเครียด และ 3.เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็น โดยเฉพาะศึกษาความรู้เรื่องเพศ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่า กลุ่มนักศึกษาวิชามนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์ เปิดรับสื่ออนาจารเพื่อความบันเทิง อยากรู้อยากเห็น ส่วนกลุ่มนักศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ แพทย์ เน้นบันเทิง หาความรู้เรื่องเพศ เป็นต้น
ผลการประมวลสัดส่วนการเกิดพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เคยเปิดรับสื่ออนาจารในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออนาจารสูงสุด แต่ปฏิเสธการรับสื่ออนาจารเมื่อเพื่อนชักชวน รองลงมา คือ พฤติกรรมชอบเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนต่างเพศ พฤติกรรมหมกมุ่นทางเพศและเคยซื้อบริการทางเพศ ที่สำคัญยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ชายกับชาย ร้อยละ 55 และหญิงกับหญิง ร้อยละ 66 นอกจากนี้ ยังพบพฤติกรรมทางเพศที่น่าสนใจที่เกี่ยวเนื่องกับการรับสื่ออนาจาร 3 ลำดับ ได้แก่ 1.เคยขายบริการทางเพศ 2.มั่นใจในความเป็นชายจริงหญิงแท้ และ 3.ควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางเพศได้ดีอีกด้วย ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง กลุ่มเรียนดี ระดับหัวกะทิ อาทิ นักศึกษาคณะแพทย์ และวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่มบริโภคสื่ออนาจารนี้เช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สื่ออนาจารมีผลต่อนักศึกษาทุกกลุ่ม” ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า แนวทางการป้องกันนั้น รัฐบาลต้องปรับปรุงกฎหมายและบทลงโทษการประกอบธุรกิจสื่ออนาจารบนอินเทอร์เน็ต ส่วนสถาบันการศึกษาควรมีการสอดแทรกเนื้อหาให้นักศึกษารู้จักเลือกรับสื่อที่เหมาะสม
จากการประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ ที่ รร.บางกอกชฎา วันนี้ (11 ก.ค.) กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยข้อมูลงานวิจัยทางวัฒนธรรมจำนวน 12 เรื่องที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวธ.พบผลงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ม.เซ็นต์จอห์น โดยมีการสำรวจการเปิดรับสื่ออนาจารต่อพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบข้อมูลว่า มีนักศึกษามากกว่า ร้อยละ 80 มีการเปิดรับสื่ออนาจารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยดูจากสมาร์ทโฟน ผ่านโปรแกรมต่างๆ โดย ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น มีแนวโน้มเฉลี่ยอายุลดลงเรื่อยๆ เห็นได้จากข่าวสารทุกวันนี้ มีเด็กทำแท้งมากขึ้น และเฉลี่ยอายุลดลง สาเหตุหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ก็มาจากการรับสื่ออนาจารต่างๆ
ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า ตนได้เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 2555 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 600 คน พบว่า นักศึกษาเปิดรับสื่ออนาจารบนสมาร์ทโฟนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในโซเชียลมีเดีย อาทิ ยูทิวบ์ เฟซบุ๊ก มากถึงร้อยละ 80 โดยกลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะรู้จักเว็บไซต์อนาจาร 1-3 เว็บ จะดูที่หอพัก และบ้านเพื่อน
สำหรับช่วงอายุในการเปิดรับสื่ออนาจาร พบว่า นศ.ชายเริ่มรู้จักและสัมผัสสื่ออายุ 10-13 ปี นศ.หญิงช่วงอายุ 14-16 ปี ที่สำคัญระบุว่า เคยประกาศหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต ขณะที่วัตถุประสงค์ของการรับสื่ออนาจาร 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.เพื่อความบันเทิง เพื่อผ่อนคลายความเครียด และ 3.เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็น โดยเฉพาะศึกษาความรู้เรื่องเพศ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่า กลุ่มนักศึกษาวิชามนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์ เปิดรับสื่ออนาจารเพื่อความบันเทิง อยากรู้อยากเห็น ส่วนกลุ่มนักศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ แพทย์ เน้นบันเทิง หาความรู้เรื่องเพศ เป็นต้น
ผลการประมวลสัดส่วนการเกิดพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เคยเปิดรับสื่ออนาจารในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออนาจารสูงสุด แต่ปฏิเสธการรับสื่ออนาจารเมื่อเพื่อนชักชวน รองลงมา คือ พฤติกรรมชอบเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนต่างเพศ พฤติกรรมหมกมุ่นทางเพศและเคยซื้อบริการทางเพศ ที่สำคัญยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ชายกับชาย ร้อยละ 55 และหญิงกับหญิง ร้อยละ 66 นอกจากนี้ ยังพบพฤติกรรมทางเพศที่น่าสนใจที่เกี่ยวเนื่องกับการรับสื่ออนาจาร 3 ลำดับ ได้แก่ 1.เคยขายบริการทางเพศ 2.มั่นใจในความเป็นชายจริงหญิงแท้ และ 3.ควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางเพศได้ดีอีกด้วย ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง กลุ่มเรียนดี ระดับหัวกะทิ อาทิ นักศึกษาคณะแพทย์ และวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่มบริโภคสื่ออนาจารนี้เช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สื่ออนาจารมีผลต่อนักศึกษาทุกกลุ่ม” ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวว่า แนวทางการป้องกันนั้น รัฐบาลต้องปรับปรุงกฎหมายและบทลงโทษการประกอบธุรกิจสื่ออนาจารบนอินเทอร์เน็ต ส่วนสถาบันการศึกษาควรมีการสอดแทรกเนื้อหาให้นักศึกษารู้จักเลือกรับสื่อที่เหมาะสม