กทม.เผยลดบีทีเอสเหลือ 10 บาท แบกรับภาระสำรองจ้างเดินรถจ่อเพิ่มบีอาร์ที 30 คันฝั่งธนบุรีย่านพุทธมณฑลสาย 1 รองรับการเดินทางของประชาชนห่วงติดปัญหาด้านพื้นที่สาธารณูปโภค
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ว่า เป็นการประชุมครั้งแรกตั้งแต่เข้ามาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.ในที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินงานรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งในส่วนเส้นทางสัมปทานของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส และเส้นทางของ กทม.ในส่วนต่อขยายสุขุมวิทและสายสีลมประจำเดือน พ.ค.- มิ.ย.ภายหลังที่บีทีเอสได้ปรับขึ้นค่าโดยสาร พบว่าจำนวนผู้โดยสารไม่ได้ลดน้อยลง ยังอยู่ที่ประมาณวันละ 770,000 เที่ยวคนต่อวัน ขณะที่ กทม.ได้ปรับลดค่าโดยสารในเส้นทางส่วนต่อขยายจาก 15 บาท เหลือ 10 บาทตามนโยบายผู้ว่าฯ กทม.พบว่ามีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ระหว่าง 170,000-220,000 เที่ยวคนต่อวัน
นายอมร กล่าวว่า ทั้งนี้ กทม.ได้สำรองเงินค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าให้บีทีเอส 647 ล้านบาท เพื่อสำรองจ่ายค่าจ้างเดินระบบในระยะ 18 เดือน ตามสัญญาจ้าง 30 ปี แต่เนื่องจากการปรับลดค่าโดยสารเหลือ 10 บาท ทำให้ กทม.แบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงต้องพิจารณาว่าจะสามารถสำรองจ่ายได้ในระยะ 12 เดือนหรือไม่ เพื่อไม่ให้กระทบกับการเดินรถทั้งระบบ ขณะเดียวกัน กทม.มีรายได้ทางตรงจากพื้นที่เชิงพาณิชย์ปีละ 80-90 ล้านบาท และทางอ้อมจากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะสามารถสำรองจ่ายค่าเดินรถได้ 14 เดือน
“ในที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานกฎหมายและคดี กทม.พิจารณาข้อกฎหมายในการยกเลิกสถานีสะพานตากสิน (S6) ว่ากระทบสัญญาสัมปทานหรือไม่ รวมทั้งสิทธิเนื่องจากบีทีเอสขาดรายได้จากสถานีดังกล่าว ซึ่งกทม.อาจต้องจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าจากสถานีสุรศักดิ์ (S5) ถึง สถานีกรุงธนบุรี (s7)” นายอมร กล่าว
นายอมร กล่าวต่อว่า สำหรับการลดราคารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที จาก 10 บาทเหลือ 5 บาท ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 16,000 คนต่อวัน เป็น 20,000 กว่าคนต่อวัน จึงได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง สำรวจว่าจำนวนรถเพียงพอหรือไม่ ซึ่งอาจต้องเพิ่มจำนวนรถจาก 25 คัน เป็น 30 คัน ส่วนแผนการเพิ่มเส้นทางที่เคยวางแผนไว้ได้ทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าของรัฐบาลเกือบทุกเส้น จึงมีแนวคิดจะเพิ่มเส้นทางในพื้นที่ฝั่งธนบุรี บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 1 แต่ยังติดปัญหากายภาพและสาธารณูปโภคในพื้นที่ จึงต้องพิจารณากันอีกครั้ง
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ว่า เป็นการประชุมครั้งแรกตั้งแต่เข้ามาดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าฯ กทม.ในที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินงานรถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งในส่วนเส้นทางสัมปทานของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส และเส้นทางของ กทม.ในส่วนต่อขยายสุขุมวิทและสายสีลมประจำเดือน พ.ค.- มิ.ย.ภายหลังที่บีทีเอสได้ปรับขึ้นค่าโดยสาร พบว่าจำนวนผู้โดยสารไม่ได้ลดน้อยลง ยังอยู่ที่ประมาณวันละ 770,000 เที่ยวคนต่อวัน ขณะที่ กทม.ได้ปรับลดค่าโดยสารในเส้นทางส่วนต่อขยายจาก 15 บาท เหลือ 10 บาทตามนโยบายผู้ว่าฯ กทม.พบว่ามีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อยู่ที่ระหว่าง 170,000-220,000 เที่ยวคนต่อวัน
นายอมร กล่าวว่า ทั้งนี้ กทม.ได้สำรองเงินค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าให้บีทีเอส 647 ล้านบาท เพื่อสำรองจ่ายค่าจ้างเดินระบบในระยะ 18 เดือน ตามสัญญาจ้าง 30 ปี แต่เนื่องจากการปรับลดค่าโดยสารเหลือ 10 บาท ทำให้ กทม.แบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงต้องพิจารณาว่าจะสามารถสำรองจ่ายได้ในระยะ 12 เดือนหรือไม่ เพื่อไม่ให้กระทบกับการเดินรถทั้งระบบ ขณะเดียวกัน กทม.มีรายได้ทางตรงจากพื้นที่เชิงพาณิชย์ปีละ 80-90 ล้านบาท และทางอ้อมจากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะสามารถสำรองจ่ายค่าเดินรถได้ 14 เดือน
“ในที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานกฎหมายและคดี กทม.พิจารณาข้อกฎหมายในการยกเลิกสถานีสะพานตากสิน (S6) ว่ากระทบสัญญาสัมปทานหรือไม่ รวมทั้งสิทธิเนื่องจากบีทีเอสขาดรายได้จากสถานีดังกล่าว ซึ่งกทม.อาจต้องจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าจากสถานีสุรศักดิ์ (S5) ถึง สถานีกรุงธนบุรี (s7)” นายอมร กล่าว
นายอมร กล่าวต่อว่า สำหรับการลดราคารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที จาก 10 บาทเหลือ 5 บาท ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 16,000 คนต่อวัน เป็น 20,000 กว่าคนต่อวัน จึงได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง สำรวจว่าจำนวนรถเพียงพอหรือไม่ ซึ่งอาจต้องเพิ่มจำนวนรถจาก 25 คัน เป็น 30 คัน ส่วนแผนการเพิ่มเส้นทางที่เคยวางแผนไว้ได้ทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าของรัฐบาลเกือบทุกเส้น จึงมีแนวคิดจะเพิ่มเส้นทางในพื้นที่ฝั่งธนบุรี บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 1 แต่ยังติดปัญหากายภาพและสาธารณูปโภคในพื้นที่ จึงต้องพิจารณากันอีกครั้ง