วงประชุมนโยบายสุขภาพต่างด้าว ตั้งคณะทำงานย่อยพิจารณาการเก็บเงินค่าประกันสุขภาพนักท่องเที่ยว เชื่อครอบคลุมถึง 80% ตามสถิติ ตม.แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเรียกเก็บเท่าไร ด้านแรงงานต่างด้าวเน้นตรวจสุขภาพก่อนเข้าไทยและให้ซื้อประกันสุขภาพเช่นกัน
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงการประชุมนโยบายพัฒนาระบบประกันสุขภาพต่างด้าว ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง เป็นต้น ว่า ในการดูแลปัญหาคนต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มนักท่องเที่ยว มักเข้าใช้บริการสถานพยาบาลกรณีเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูง จึงเห็นว่าควรให้มีการซื้อประกันสุขภาพนักท่องเที่ยว โดยบวกเพิ่มอยู่ในค่าการเดินทาง เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน รถไฟ เป็นต้น ที่ประชุมจึงตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย มี สธ. ก.คมนาคม ก.มหาดไทย และ ก.คลัง ร่วมศึกษาและพิจารณาวิธีเก็บเงิน อย่างไรก็ตาม ตามสถิติของสำนักงานตรวจคนเข้ามาเมือง (ตม.) แล้ว มาตรการนี้จะครอบคลุมนักท่องเที่ยวเพียง 80% เท่านั้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 2.กลุ่มแรงงานต่างด้าว หากไม่มีการดูแลสุขภาพที่ดีอาจเกิดปัญหาโรคระบาดขึ้นในประเทศไทย จะต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเดินทางเข้ามาทำงานในไทย และต้องมีการซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย มี ก.ต่างประเทศ ตม. สธ. ก.คลัง ก.ท่องเที่ยว และ ก.แรงงาน พิจารณาเรื่องนี้ และ 3.กลุ่มต่างด้าวประเภทเช้าไปเย็นกลับตามชายแดน กลุ่มนี้จะมีการตั้งกองทุนดูแลพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นไปจนถึงการช่วยพัฒนาให้ประเทศนั้นๆ มีระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาว
“สำหรับกลุ่มอื่นๆ เช่น นักศึกษาต่างชาติที่เดินทางเข้ามาศึกษาในไทยหลายปี ยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับนักท่องเที่ยว คือต้องมีการซื้อประกันสุขภาพเช่นกัน ส่วนจะเก็บค่าประกันสุขภาพนักท่องเที่ยวเท่าไรนั้น ยังต้องหารือกันก่อน และต้องหารือกับ ก.คลัง ด้วยว่าเมื่อเก็บเงินมาแล้วจะนำเงินมาเข้าสู่รูปแบบการบริการอย่างไร เพราะหากผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมาย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงการประชุมนโยบายพัฒนาระบบประกันสุขภาพต่างด้าว ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง เป็นต้น ว่า ในการดูแลปัญหาคนต่างด้าวเข้ามาในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มนักท่องเที่ยว มักเข้าใช้บริการสถานพยาบาลกรณีเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูง จึงเห็นว่าควรให้มีการซื้อประกันสุขภาพนักท่องเที่ยว โดยบวกเพิ่มอยู่ในค่าการเดินทาง เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน รถไฟ เป็นต้น ที่ประชุมจึงตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย มี สธ. ก.คมนาคม ก.มหาดไทย และ ก.คลัง ร่วมศึกษาและพิจารณาวิธีเก็บเงิน อย่างไรก็ตาม ตามสถิติของสำนักงานตรวจคนเข้ามาเมือง (ตม.) แล้ว มาตรการนี้จะครอบคลุมนักท่องเที่ยวเพียง 80% เท่านั้น
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 2.กลุ่มแรงงานต่างด้าว หากไม่มีการดูแลสุขภาพที่ดีอาจเกิดปัญหาโรคระบาดขึ้นในประเทศไทย จะต้องมีการตรวจสุขภาพก่อนเดินทางเข้ามาทำงานในไทย และต้องมีการซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อย มี ก.ต่างประเทศ ตม. สธ. ก.คลัง ก.ท่องเที่ยว และ ก.แรงงาน พิจารณาเรื่องนี้ และ 3.กลุ่มต่างด้าวประเภทเช้าไปเย็นกลับตามชายแดน กลุ่มนี้จะมีการตั้งกองทุนดูแลพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นมาตรการระยะสั้นไปจนถึงการช่วยพัฒนาให้ประเทศนั้นๆ มีระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาว
“สำหรับกลุ่มอื่นๆ เช่น นักศึกษาต่างชาติที่เดินทางเข้ามาศึกษาในไทยหลายปี ยังไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจน แต่คาดว่าน่าจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับนักท่องเที่ยว คือต้องมีการซื้อประกันสุขภาพเช่นกัน ส่วนจะเก็บค่าประกันสุขภาพนักท่องเที่ยวเท่าไรนั้น ยังต้องหารือกันก่อน และต้องหารือกับ ก.คลัง ด้วยว่าเมื่อเก็บเงินมาแล้วจะนำเงินมาเข้าสู่รูปแบบการบริการอย่างไร เพราะหากผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมาย” รมว.สาธารณสุข กล่าว