กทม.หารือกับ ผปก.เรือด่วนเจ้าพระยา แก้ผลกระทบการยกเลิกรถไฟฟ้าสถานีตากสิน โดยเตรียมปรับปรุงพื้นที่เป็นพื้นที่สีเขียว พร้อมสร้างทางเลื่อนยาวถึงสถานีสุรศักดิ์ พร้อมมีจุดรับนักท่องเที่ยวและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ฟุ้งสวยสุดใน กทม.
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางสุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ประธานกรรมการบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด และนาวาโทปริญญา รักวาทิน ผู้ประสานงานกลุ่มผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและโรงแรมย่านสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน (S6) ได้เข้าพบกับนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.เพื่อขอรับทราบถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่ เมื่อยกเลิกการให้บริการสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน
นายอมร กล่าวว่า การดำเนินงาน กทม.ไม่ได้กำหนดแนวทางเพียงลำพัง แต่มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานต่างๆ ถึงความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและความสะดวก รวมถึงการลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในย่านดังกล่าวให้ได้รับผลน้อยที่สุด โดยจะก่อสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติจากสถานีสะพานตากสิน ไปยังสถานีสุรศักดิ์ (S5) ระยะทาง 710 เมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทดแทนการยกเลิกสถานีรถไฟฟ้าให้เสร็จก่อน ถึงจะทำการรื้อย้ายสถานี ซึ่งรูปแบบของทางเลื่อนไฟฟ้าจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของถนนสาทร นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนจะจัดทำจุดรับนักท่องเที่ยวของโรงแรมและสถานประกอบการอื่นๆ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Library ส่วนพื้นที่ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าจะปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีสวนสาธารณะสำหรับประชาชน และสวนสาธารณะขนาดเล็กสำหรับสัตว์เลี้ยง สถานีจักรยานปันปั่น เป็นต้น เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มีความสวยที่สุดของกรุงเทพฯ
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า ในส่วนของการเดินเรือและปรับปรุงท่าเรือสาทรนั้น กทม.จะเชิญกรมเจ้าท่า และบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ร่วมหารือถึงแนวทางการปรับปรุงท่าเรือให้มีภูมิทัศน์สอดคล้องกับบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความสวยงามและมีความปลอดภัย อีกทั้งการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อความสะดวกในการเดินทาง รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ภายหลังจากรับฟังคำชี้แจง ตัวแทนผู้ประกอบการเดินเรือและสถานประกอบการแสดงความพอใจและเข้าใจถึงแนวทาง การพัฒนาเมืองของ กทม.อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจะติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง กทม.พร้อมที่จะรับฟังปัญหาและร่วมกันแก้ไขต่อไปโดยจะเริ่มดำเนินการภายในปลายปีนี้
วันนี้ (18 มิ.ย.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นางสุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ประธานกรรมการบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด และนาวาโทปริญญา รักวาทิน ผู้ประสานงานกลุ่มผู้ประกอบการการท่องเที่ยวและโรงแรมย่านสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน (S6) ได้เข้าพบกับนายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.เพื่อขอรับทราบถึงแนวทางการพัฒนาพื้นที่ เมื่อยกเลิกการให้บริการสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน
นายอมร กล่าวว่า การดำเนินงาน กทม.ไม่ได้กำหนดแนวทางเพียงลำพัง แต่มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานต่างๆ ถึงความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและความสะดวก รวมถึงการลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในย่านดังกล่าวให้ได้รับผลน้อยที่สุด โดยจะก่อสร้างทางเลื่อนอัตโนมัติจากสถานีสะพานตากสิน ไปยังสถานีสุรศักดิ์ (S5) ระยะทาง 710 เมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทดแทนการยกเลิกสถานีรถไฟฟ้าให้เสร็จก่อน ถึงจะทำการรื้อย้ายสถานี ซึ่งรูปแบบของทางเลื่อนไฟฟ้าจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของถนนสาทร นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนจะจัดทำจุดรับนักท่องเที่ยวของโรงแรมและสถานประกอบการอื่นๆ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Library ส่วนพื้นที่ใต้เส้นทางรถไฟฟ้าจะปรับปรุงให้เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีสวนสาธารณะสำหรับประชาชน และสวนสาธารณะขนาดเล็กสำหรับสัตว์เลี้ยง สถานีจักรยานปันปั่น เป็นต้น เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มีความสวยที่สุดของกรุงเทพฯ
รองผู้ว่าฯ กทม.กล่าวอีกว่า ในส่วนของการเดินเรือและปรับปรุงท่าเรือสาทรนั้น กทม.จะเชิญกรมเจ้าท่า และบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ร่วมหารือถึงแนวทางการปรับปรุงท่าเรือให้มีภูมิทัศน์สอดคล้องกับบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความสวยงามและมีความปลอดภัย อีกทั้งการพัฒนาระบบตั๋วร่วมเพื่อความสะดวกในการเดินทาง รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป
ทั้งนี้ภายหลังจากรับฟังคำชี้แจง ตัวแทนผู้ประกอบการเดินเรือและสถานประกอบการแสดงความพอใจและเข้าใจถึงแนวทาง การพัฒนาเมืองของ กทม.อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการจะติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่ง กทม.พร้อมที่จะรับฟังปัญหาและร่วมกันแก้ไขต่อไปโดยจะเริ่มดำเนินการภายในปลายปีนี้