สธ.เตือนปีนี้ไข้เลือดออกระบาดหนักกว่าทุกปี ยอดป่วยพุ่ง 4.3 หมื่นราย ตาย 50 ราย เผยเป็นเชื้อเดงกี 3 ที่รุนแรงกว่าเชื้อชนิดอื่น เผยประสาน มท.ตั้งวอร์รูมทุกจังหวัด ย้ำมีไข้สูงเกิน 2 วันต้องพบแพทย์ทันที
วันนี้ (13 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ผู้ตรวจราชการกระทรวง และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อติดตามเฝ้าระวังปัญหาโรคไข้เลือดออก ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกยังน่าวิตก เนื่องจากตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-11 มิ.ย. พบผู้ป่วยสูง 43,609 ราย เสียชีวิต 50 ราย ขณะที่ปี 2555 ช่วงเวลาเดียวกัน พบผู้ป่วย 14,045 ราย เสียชีวิต 9 ราย ปี 2554 พบผู้ป่วย 16,569 ราย เสียชีวิต 12 ราย ปี 2553 พบผู้ป่วย 26,185 ราย เสียชีวิต 30 ราย และ ปี 2552 พบผู้ป่วย 17,138 ราย เสียชีวิต 16 ราย แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยปี 2556 เพิ่มขึ้นกว่าทุกปี มากกว่าปี 2555 ถึง 3 เท่า
“ขอเตือนว่าโรคไข้เลือดออกพบได้ในทุกกลุ่มอายุ จากเดิมที่พบเพียงเด็กเล็กเท่านั้น เนื่องจากผู้ใหญ่เมื่อป่วยมักหาซื้อยารับประทานเอง จนไม่รู้ตัวว่าอาจป่วยไข้เลือดออก พอรู้ตัวก็สายเกินไป สิ่งสำคัญหากรู้สึกว่ามีอาการไข้วันที่ 1-2 ประกอบกับมีอาการปากแดง จุดแดงขึ้นตามตัว แต่ไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูก หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบพบแพทย์ทันที” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สธ.จะประสานกับกระทรวงมหาดไทย ตั้งศูนย์เฝ้าระวังแก้ปัญหา (วอร์รูม) โรคไข้เลือดออกทุกจังหวัด จากที่มีอยู่ 20 จังหวัด เน้นทำงานในระดับอำเภอให้ปลอดโรคมากที่สุด พร้อมให้โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ.รพท.) เป็นพี่เลี้ยงให้โรงพยาบาลชุมชนในการเฝ้าระวังและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออก และให้ทุกโรงพยาบาลตั้งมุมไข้เลือดออก (คอนเนอร์เดงกี) รองรับผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษา นอกจากนี้ ให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้ยุงกัดผู้ป่วยไข้เลือดออกเพื่อแพร่เชื้อต่อด้วย และทุกโรงพยาบาลต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำขังทั้งหมด ส่วนชุมชนให้รณรงค์ฝึกเด็กนักเรียนเป็นอาสาสมัครกำจัดไข้เลือดออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในปีนี้เชื้อเดงกีชนิดใดพบมากที่สุด นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้นพบเป็นเชื้อเดงกี 3 จากทั้งหมดมี 4 ชนิด ซึ่งเดงกี 3 จัดเป็นเชื้อที่รุนแรงกว่าชนิดอื่นๆ ยิ่งหากได้รับเชื้อซ้ำอาการจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ทางที่ดีที่สุดต้องระมัดระวังอย่าให้ถูกยุงกัด หรือหากมีอาการไข้ ที่ไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูก ต้องรีบพบแพทย์ อย่ารอให้ไข้ลง เพราะอาจมีอากรช็อกและอันตรายถึงชีวิตได้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วิกฤตโรคไข้เลือดออกไทยถือว่าหนัก เพราะเมื่อเทียบกับสิงคโปร์พบผู้ป่วยเพียง 10,000 ราย เสียชีวิต 2 ราย แต่ไทยพบผู้เสียชีวิตมากกว่าถึง 5 เท่า ปัญหาคือ ผู้ป่วยพบแพทย์ช้า โดยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์หลัง 4 วัน ถึงร้อยละ 80 ทำให้ไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที จึงอยากให้ทุกพื้นที่ดูแลในระดับตำบล และอย่าให้ผู้ป่วยไข้สูงเกิน 2 วัน นอกจากนี้ จากการประชุมกรรมาธิการวุฒิสภาได้กำชับว่าควรมีการฉีดพ่นกำจัดยุงในบ้านด้วย แทนที่จะไปพ่นตามท่อระบายน้ำอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่ใดมีปัญหาไข้เลือดออกระบาดเกิน 21 วัน ซึ่งเป็นวงจรชีวิตของยุงถึง 3 ช่วงชีวิต ทางกรมฯ จะลงไปช่วยแก้ปัญหา ซึ่งขณะนี้พบว่า สงขลา เชียงใหม่ และเชียงราย ที่น่าเป็นห่วง
วันนี้ (13 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ผู้ตรวจราชการกระทรวง และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อติดตามเฝ้าระวังปัญหาโรคไข้เลือดออก ว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกยังน่าวิตก เนื่องจากตัวเลขผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 4 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-11 มิ.ย. พบผู้ป่วยสูง 43,609 ราย เสียชีวิต 50 ราย ขณะที่ปี 2555 ช่วงเวลาเดียวกัน พบผู้ป่วย 14,045 ราย เสียชีวิต 9 ราย ปี 2554 พบผู้ป่วย 16,569 ราย เสียชีวิต 12 ราย ปี 2553 พบผู้ป่วย 26,185 ราย เสียชีวิต 30 ราย และ ปี 2552 พบผู้ป่วย 17,138 ราย เสียชีวิต 16 ราย แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยปี 2556 เพิ่มขึ้นกว่าทุกปี มากกว่าปี 2555 ถึง 3 เท่า
“ขอเตือนว่าโรคไข้เลือดออกพบได้ในทุกกลุ่มอายุ จากเดิมที่พบเพียงเด็กเล็กเท่านั้น เนื่องจากผู้ใหญ่เมื่อป่วยมักหาซื้อยารับประทานเอง จนไม่รู้ตัวว่าอาจป่วยไข้เลือดออก พอรู้ตัวก็สายเกินไป สิ่งสำคัญหากรู้สึกว่ามีอาการไข้วันที่ 1-2 ประกอบกับมีอาการปากแดง จุดแดงขึ้นตามตัว แต่ไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูก หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบพบแพทย์ทันที” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สธ.จะประสานกับกระทรวงมหาดไทย ตั้งศูนย์เฝ้าระวังแก้ปัญหา (วอร์รูม) โรคไข้เลือดออกทุกจังหวัด จากที่มีอยู่ 20 จังหวัด เน้นทำงานในระดับอำเภอให้ปลอดโรคมากที่สุด พร้อมให้โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ.รพท.) เป็นพี่เลี้ยงให้โรงพยาบาลชุมชนในการเฝ้าระวังและส่งต่อผู้ป่วยไข้เลือดออก และให้ทุกโรงพยาบาลตั้งมุมไข้เลือดออก (คอนเนอร์เดงกี) รองรับผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษา นอกจากนี้ ให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้ยุงกัดผู้ป่วยไข้เลือดออกเพื่อแพร่เชื้อต่อด้วย และทุกโรงพยาบาลต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำขังทั้งหมด ส่วนชุมชนให้รณรงค์ฝึกเด็กนักเรียนเป็นอาสาสมัครกำจัดไข้เลือดออก
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในปีนี้เชื้อเดงกีชนิดใดพบมากที่สุด นพ.ณรงค์ กล่าวว่า เบื้องต้นพบเป็นเชื้อเดงกี 3 จากทั้งหมดมี 4 ชนิด ซึ่งเดงกี 3 จัดเป็นเชื้อที่รุนแรงกว่าชนิดอื่นๆ ยิ่งหากได้รับเชื้อซ้ำอาการจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ทางที่ดีที่สุดต้องระมัดระวังอย่าให้ถูกยุงกัด หรือหากมีอาการไข้ ที่ไม่มีอาการไอ หรือน้ำมูก ต้องรีบพบแพทย์ อย่ารอให้ไข้ลง เพราะอาจมีอากรช็อกและอันตรายถึงชีวิตได้
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า วิกฤตโรคไข้เลือดออกไทยถือว่าหนัก เพราะเมื่อเทียบกับสิงคโปร์พบผู้ป่วยเพียง 10,000 ราย เสียชีวิต 2 ราย แต่ไทยพบผู้เสียชีวิตมากกว่าถึง 5 เท่า ปัญหาคือ ผู้ป่วยพบแพทย์ช้า โดยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์หลัง 4 วัน ถึงร้อยละ 80 ทำให้ไม่สามารถรักษาได้ทันท่วงที จึงอยากให้ทุกพื้นที่ดูแลในระดับตำบล และอย่าให้ผู้ป่วยไข้สูงเกิน 2 วัน นอกจากนี้ จากการประชุมกรรมาธิการวุฒิสภาได้กำชับว่าควรมีการฉีดพ่นกำจัดยุงในบ้านด้วย แทนที่จะไปพ่นตามท่อระบายน้ำอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่ใดมีปัญหาไข้เลือดออกระบาดเกิน 21 วัน ซึ่งเป็นวงจรชีวิตของยุงถึง 3 ช่วงชีวิต ทางกรมฯ จะลงไปช่วยแก้ปัญหา ซึ่งขณะนี้พบว่า สงขลา เชียงใหม่ และเชียงราย ที่น่าเป็นห่วง