เชื่อว่าคงมีใครหลายคนเคยตั้งคำถามว่า ทำไมต้องเรียนวิชาดาราศาสตร์ เรียนไปแล้วได้อะไร นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่? แต่จะมีครูสักกี่คนที่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และสามารถสอนให้เด็กเรียนรู้ดาราศาสตร์อย่างถูกต้อง เกิดความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะนำไปใช้ได้
แม้แต่อาจารย์สอนดาราศาสตร์บางท่านยังระบุว่า ไม่มั่นใจว่าตนเองจะมีศักยภาพเพียงพอในการถ่ายทอดเนื้อหาด้านดาราศาสตร์ให้กับเด็ก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า เพราะดาราศาสตร์เป็นพื้นฐานความรู้ความคิดทางวิทยาศาสตร์ ในการเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้บรรจุวิชาดาราศาสตร์ไว้ในสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งทุกคนที่อยู่ในสังคมต้องมีความรู้ทางด้านนี้พอสมควร โดยสามารถรับรู้ข่าวสารและเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเก่งหรือนำไปประกอบอาชีพ แต่อย่างน้อยที่สุดคือเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ นี่คือความสำคัญข้อหนึ่งของดาราศาสตร์ในการปูพื้นฐานเรื่องการเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อีกหนึ่งข้อที่สำคัญคือ เมื่อเกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติต่างๆ แล้วไม่ตกใจ รู้ว่าต้องทำอะไร และทำอย่างไร
“แต่ปัญหาหลักของการเรียนดาราศาสตร์ในประเทศไทยคือ บุคคลที่เรียนในเรื่องนี้หรือมีพื้นฐานทางด้านนี้น้อย จึงทำให้ครูที่รับผิดชอบในสาขาอื่นถูกดึงเข้ามาสอน เราจึงต้องเพิ่มพูนความรู้ให้กับครูให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ครูสื่อสารและถ่ายทอดสู่เด็กได้ ที่สำคัญการเรียนรู้ดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในเวลากลางคืน ขณะที่เด็กมีการเรียนในเวลากลางวัน ประเด็นคือทำอย่างไรให้เด็กนำความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนไปใช้ต่อในเวลากลางคืน เมื่อเขาไปพบสถานการณ์จริง”
ด้วยเหตุนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยสาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศช่วงชั้นที่ 4 เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ จนสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการอบรมในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร คือ ดาราศาสตร์ บรรยากาศ และธรณีวิทยา ซึ่งอาจารย์สุพจน์ วุฒิโสภณ ผู้อำนวยการสาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับครู โดยครูจะได้รับความรู้ทุกอย่างที่บรรจุในหลักสูตรทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อครูได้รับความรู้นี้แล้ว ครูจะมีความมั่นใจ เมื่อเด็กถามอะไร ครูก็จะสามารถตอบคำถามได้ครอบคลุมมากขึ้น เด็กของเราก็จะมีศักยภาพมากขึ้นตามไปด้วย ไม่เพียงเท่านั้นในการอบรมครั้งนี้ เราจะคัดเลือกครูผู้นำมาเพิ่มศักยภาพต่อจนสามารถร่วมเป็นวิทยากรกับ สสวท.เพื่อขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเรียนดาราศาสตร์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์หรือสื่อการสอน ซึ่งบางครั้งมีราคาแพง อาจารย์โศภิตา นักวิชาการสาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.บอกว่า ทางสาขาพยายามที่จะออกแบบสื่อการสอนที่ครูผู้สอนสามารถสร้างขึ้นได้เองและใช้วัสดุใกล้ๆ ตัว ยกตัวอย่าง “ทรงกลมท้องฟ้าจำลอง” เป็นการจำลองทรงกลมท้องฟ้าของเรา โดยใช้ฝาแก้วน้ำพลาสติกใสแทนทรงกลมท้องฟ้า ข้างในจะมีลูกปิงปองอยู่ตรงกลางใช้แทนโลก ส่วนแกนกลางจะใช้ตะเกียบแทนแกนหมุนของโลก และติดตุ๊กตาลงบนลูกปิงปองแทนผู้สังเกตที่ยืนอยู่บนโลก จากนั้นกำหนดเส้นศูนย์สูตรบนท้องฟ้า โดยใช้สติ๊กเกอร์ติดเป็นแนวแสดงตำแหน่งของเส้นศูนย์สูตร และเส้นสุริยวิถี โดยสื่อการสอนนี้ใช้อธิบายเกี่ยวกับแนวการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ปรากฏโดยการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไปตามตำแหน่งละติจูดของผู้สังเกต
“เมื่อครูประดิษฐ์สื่อได้แล้ว สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้สื่อ รู้ว่าสื่อนี้มีประโยชน์อย่างไร แล้วสามารถอธิบายอะไรได้บ้าง”
นับได้ว่า “ดาราศาสตร์” เป็นวิชาแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นให้เราเรียนรู้เพื่อเกิดความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ที่เราเฝ้ามองเห็น ค้นหา และหาคำตอบให้กับตัวเอง เช่น ฝนดาวตก ดาวหาง อุกกาบาต ข้างขึ้น ข้างแรม จันทรุปราคา สุริยุปราคา ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง การเกิดกลางวัน กลางคืน ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม หรือแม้กระทั่งเรื่องของฤดูกาล ล้วนเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ที่ส่งผลกระทบต่อตัวเราโดยตรง อีกด้านหนึ่งนั้นยังช่วยต่อเติมจินตนาการให้กว้างไกล นำไปสู่การเรียนรู้ต่อยอดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดเด็กและเยาวชนไทยต้องเรียนวิชาดาราศาสตร์
แม้แต่อาจารย์สอนดาราศาสตร์บางท่านยังระบุว่า ไม่มั่นใจว่าตนเองจะมีศักยภาพเพียงพอในการถ่ายทอดเนื้อหาด้านดาราศาสตร์ให้กับเด็ก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า เพราะดาราศาสตร์เป็นพื้นฐานความรู้ความคิดทางวิทยาศาสตร์ ในการเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้บรรจุวิชาดาราศาสตร์ไว้ในสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ซึ่งทุกคนที่อยู่ในสังคมต้องมีความรู้ทางด้านนี้พอสมควร โดยสามารถรับรู้ข่าวสารและเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเก่งหรือนำไปประกอบอาชีพ แต่อย่างน้อยที่สุดคือเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ นี่คือความสำคัญข้อหนึ่งของดาราศาสตร์ในการปูพื้นฐานเรื่องการเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อีกหนึ่งข้อที่สำคัญคือ เมื่อเกิดพิบัติภัยทางธรรมชาติต่างๆ แล้วไม่ตกใจ รู้ว่าต้องทำอะไร และทำอย่างไร
“แต่ปัญหาหลักของการเรียนดาราศาสตร์ในประเทศไทยคือ บุคคลที่เรียนในเรื่องนี้หรือมีพื้นฐานทางด้านนี้น้อย จึงทำให้ครูที่รับผิดชอบในสาขาอื่นถูกดึงเข้ามาสอน เราจึงต้องเพิ่มพูนความรู้ให้กับครูให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ครูสื่อสารและถ่ายทอดสู่เด็กได้ ที่สำคัญการเรียนรู้ดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในเวลากลางคืน ขณะที่เด็กมีการเรียนในเวลากลางวัน ประเด็นคือทำอย่างไรให้เด็กนำความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนไปใช้ต่อในเวลากลางคืน เมื่อเขาไปพบสถานการณ์จริง”
ด้วยเหตุนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยสาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศช่วงชั้นที่ 4 เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ จนสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับผู้เรียนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการอบรมในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร คือ ดาราศาสตร์ บรรยากาศ และธรณีวิทยา ซึ่งอาจารย์สุพจน์ วุฒิโสภณ ผู้อำนวยการสาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับครู โดยครูจะได้รับความรู้ทุกอย่างที่บรรจุในหลักสูตรทั้งรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อครูได้รับความรู้นี้แล้ว ครูจะมีความมั่นใจ เมื่อเด็กถามอะไร ครูก็จะสามารถตอบคำถามได้ครอบคลุมมากขึ้น เด็กของเราก็จะมีศักยภาพมากขึ้นตามไปด้วย ไม่เพียงเท่านั้นในการอบรมครั้งนี้ เราจะคัดเลือกครูผู้นำมาเพิ่มศักยภาพต่อจนสามารถร่วมเป็นวิทยากรกับ สสวท.เพื่อขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นๆ ทั่วประเทศอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเรียนดาราศาสตร์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์หรือสื่อการสอน ซึ่งบางครั้งมีราคาแพง อาจารย์โศภิตา นักวิชาการสาขาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ สสวท.บอกว่า ทางสาขาพยายามที่จะออกแบบสื่อการสอนที่ครูผู้สอนสามารถสร้างขึ้นได้เองและใช้วัสดุใกล้ๆ ตัว ยกตัวอย่าง “ทรงกลมท้องฟ้าจำลอง” เป็นการจำลองทรงกลมท้องฟ้าของเรา โดยใช้ฝาแก้วน้ำพลาสติกใสแทนทรงกลมท้องฟ้า ข้างในจะมีลูกปิงปองอยู่ตรงกลางใช้แทนโลก ส่วนแกนกลางจะใช้ตะเกียบแทนแกนหมุนของโลก และติดตุ๊กตาลงบนลูกปิงปองแทนผู้สังเกตที่ยืนอยู่บนโลก จากนั้นกำหนดเส้นศูนย์สูตรบนท้องฟ้า โดยใช้สติ๊กเกอร์ติดเป็นแนวแสดงตำแหน่งของเส้นศูนย์สูตร และเส้นสุริยวิถี โดยสื่อการสอนนี้ใช้อธิบายเกี่ยวกับแนวการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ปรากฏโดยการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนไปตามตำแหน่งละติจูดของผู้สังเกต
“เมื่อครูประดิษฐ์สื่อได้แล้ว สิ่งสำคัญคือ ครูจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้สื่อ รู้ว่าสื่อนี้มีประโยชน์อย่างไร แล้วสามารถอธิบายอะไรได้บ้าง”
นับได้ว่า “ดาราศาสตร์” เป็นวิชาแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นให้เราเรียนรู้เพื่อเกิดความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ที่เราเฝ้ามองเห็น ค้นหา และหาคำตอบให้กับตัวเอง เช่น ฝนดาวตก ดาวหาง อุกกาบาต ข้างขึ้น ข้างแรม จันทรุปราคา สุริยุปราคา ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง การเกิดกลางวัน กลางคืน ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม หรือแม้กระทั่งเรื่องของฤดูกาล ล้วนเป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ที่ส่งผลกระทบต่อตัวเราโดยตรง อีกด้านหนึ่งนั้นยังช่วยต่อเติมจินตนาการให้กว้างไกล นำไปสู่การเรียนรู้ต่อยอดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดเด็กและเยาวชนไทยต้องเรียนวิชาดาราศาสตร์