แพทย์เผยตัดเต้านมแบบ “แองเจลินา โจลี” ลดเสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ถึง 90% ส่วนการตัดรังไข่ป้องกันมะเร็งควรถึงวัยทองก่อน ย้ำตัดทั้งเต้านมและรังไข่ก็ยังเสี่ยงมะเร็งอื่นอีกเพียบ แนะข้อสังเกตมะเร็งแบบกรรมพันธุ์ที่ควรมาตรวจยีนส์บีอาร์ซีเอ ระบุผู้ชายเสี่ยงมะเร็งเต้านมน้อยแค่ 1 ใน 10 ของผู้หญิงที่เป็น แต่โอกาสลุกลามง่ายกว่า
วันนี้ (22 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวระหว่างการเสวนาหัวข้อ “การตรวจเพื่อทำนายมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ แนวทางการดูแลรักษา: บทเรียนจากแองเจลินา โจลี” ว่า มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากที่สุดในโลก ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา สำหรับอุบัติการณ์ในประเทศไทยแต่ละปีพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 20 รายต่อ 100,000 แสนประชากร โดย กทม.เป็นจังหวัดที่มีอุบัติการณ์มากที่สุด ขณะที่ผู้ป่วยรายใหม่พบจำนวน 10,000 รายต่อปี
ผศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนหนึ่งเกิดจากโรคมะเร็งพันธุกรรม ซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือ การกลายพันธุ์ของยีนส์ที่ชื่อ บีอาร์ซีเอ1 และ บีอาร์ซีเอ2 อย่างกรณีของแองเจลินา โจลี ที่ตัดสินใจตัดเต้านม เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมนั้น เมื่อดูประวัติครอบครัวแล้วพบว่า มารดาและยายเคยป่วยมะเร็งเต้านมและเสียชีวิตด้วยมะเร็งรังไข่เมื่ออายุ ไม่เกิน 50 ปี ซึ่งถือว่าอายุยังน้อยกว่าคนทั่วไปในการเกิดมะเร็ง โดยตัวของโจลีนั้นเมื่อทำการตรวจยีนส์เพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมนั้น ก็พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนส์ บีอาร์ซีเอ1 จึงทำการตัดเต้านมทิ้งตามที่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม การที่สมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว หรือหากเป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม ก็ไม่ได้หมายความว่าเกิดมาแล้วจะเป็นมะเร็งเลย เพียงแค่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไป หากรู้ได้ไวก็จะช่วยให้เฝ้าระวังได้มากขึ้น เร็วขึ้น เมื่อเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นก็จะรักษาได้ดีกว่า
ผศ.นพ.มานพ กล่าวอีกว่า การจะมาตรวจยีนเหมือนกรณีของโจลีนั้น เราจะตรวจเมื่อสงสัยว่าเป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจริงๆ ซึ่งมีข้อสังเกตคือ มีสมาชิก 2 คนขึ้นไปในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันหรือมะเร็งที่เกี่ยวข้องกัน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ เป็นต้น เป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย เป็นมะเร็งหลายตำแหน่งในอวัยวะเดียวกัน หรืออวัยวะที่เป็นคู่ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและทำนายการเกิดมะเร็งในอนาคต ทั้งนี้ มะเร็งพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของบีอาร์ซีเอ1 คนไข้ส่วนใหญ่จะไม่รู้สาเหตุ แต่จากข้อมูลของต่างประเทศพบว่า คนทั่วไปประมาณ 1 ใน 500 มีการกลายพันธุ์ของยีนส์อยู่แล้ว ส่วนประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียมีการกลายพันธุ์น้อยกว่า อย่างในประเทศไทยพบว่า 4 ครอบครัว ใน 60 ครอบครัว จะมีการกลายพันธุ์ของบีอาร์ซีเอ1
“การผ่าเต้านมออกไปก่อนเกิดมะเร็งเต้านมแบบโจลีนั้น ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงได้ถึง 90% แต่ก็ยังอาจเกิดมะเร็งในเนื้อเยื่อเต้านมที่หลบซ่อนอยู่ใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อได้เช่นกัน แต่ในช่วงชีวิตอาจเกิดได้น้อยเพียง 5% เท่านั้น แต่การจะตัดเต้านมทิ้งหรือไม่อยู่ที่การตัดสินใจของเจ้าตัวหลังได้รับฟังการอธิบายจากแพทย์แล้ว เพราะการตัดเต้านมทิ้งอาจส่งผลกระทบตามมาในเรื่องของจิตใจ เช่น สูญเสียความมั่นใจในตัวเองหรือความเป็นผู้หญิงไป ทั้งนี้ หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมจริงการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง หากระยะเริ่มต้นอาจเลือกการผ่าตัดสงวนเต้าได้ ส่วนระยะลุกลามอาจต้องตัดทั้งหมด แต่หากตรวจไม่พบก็ควรตรวจคัดกรองตามปกติ” ผศ.นพ.มานพ กล่าว
ผศ.นพ.มานพ กล่าวด้วยว่า สำหรับมะเร็งเต้านมในผู้ชายนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมากคือพบได้เพียง 1 ใน 10 ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมเท่านั้น ซึ่งถือว่าโชคร้ายกว่าเพราะมักจะเข้าใจว่าผู้ชายไม่เป็นทำให้โรคลุกลามได้ง่ายกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม ผู้ชายควรหมั่นตรวจคลำสัวเกตเต้านมตัวเองด้วย หากพบก้อนเนื้อก็ควรไปพบแพทย์
รศ.พญ.พรพิมพ์ กอแพร่พงศ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมนั้น หากตรวจคลำด้วยตัวเองแล้วพบก้อน ส่วนมากจะเป็นก้อนที่ใหญ่แล้วประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีโอกาสกระจายหรือผ่านเข้าไปยังเส้นเลือดหรือหลอดเลือดได้ การตรวจคัดกรองที่ดีคือการตรวจด้วยเครื่องมือที่มีความละเอียดสูง สามารถหาก้อนเจอตั้งแต่ยังมีขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ เมื่อทำการรักษาก็จะง่ายขึ้น ที่แนะนำคือควรตรวจด้วยแมมโมแกรมทุก 2 ปี อัลตราซาวนด์ ทุก 6 เดือน และตรวจเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ทุก 2 ปี สลับกันไป ซึ่งการตรวจด้วยแมมโมแกรมและ MRI นั้น ควรตรวจภายหลังมีประจำเดือน 10-20 วัน เพราะการตรวจระหว่างมีประจำเดือนอาจเกิดอาการเจ็บได้ และมีสิ่งรบกวนการอ่านภาพ
ผศ.พญ.สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า แม้จะตัดเต้านมออกไปเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม แต่โอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ก็ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองแล้วและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ รวมถึงมีประวัติในกลุ่มเสี่ยงก็แนะนำว่าสามารถตัดรังไข่ออกได้เลย แต่ถ้ายังไม่เข้าวัยทองอย่าง เช่น แองเจลินา โจลี จะต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะวัยทองก่อนวัย ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจตัดรังไข่ต้องประเมินก่อนว่า อยู่ในภาวะเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน โดยในคนที่มียีนส์บีอาร์ซีเอ1 และบีอาร์ซีเอ2 จะเสี่ยงมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ยังไม่มีวิธีไหนที่ดีในระยะแรกเริ่ม จึงต้องคิดให้มากๆ ก่อนตัดรังไข่ เพราะแม้จะไม่เป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อรังไข่ แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดอื่นในช่องท้องได้
วันนี้ (22 พ.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวระหว่างการเสวนาหัวข้อ “การตรวจเพื่อทำนายมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ แนวทางการดูแลรักษา: บทเรียนจากแองเจลินา โจลี” ว่า มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้หญิงมากที่สุดในโลก ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา สำหรับอุบัติการณ์ในประเทศไทยแต่ละปีพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 20 รายต่อ 100,000 แสนประชากร โดย กทม.เป็นจังหวัดที่มีอุบัติการณ์มากที่สุด ขณะที่ผู้ป่วยรายใหม่พบจำนวน 10,000 รายต่อปี
ผศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนหนึ่งเกิดจากโรคมะเร็งพันธุกรรม ซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือ การกลายพันธุ์ของยีนส์ที่ชื่อ บีอาร์ซีเอ1 และ บีอาร์ซีเอ2 อย่างกรณีของแองเจลินา โจลี ที่ตัดสินใจตัดเต้านม เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมนั้น เมื่อดูประวัติครอบครัวแล้วพบว่า มารดาและยายเคยป่วยมะเร็งเต้านมและเสียชีวิตด้วยมะเร็งรังไข่เมื่ออายุ ไม่เกิน 50 ปี ซึ่งถือว่าอายุยังน้อยกว่าคนทั่วไปในการเกิดมะเร็ง โดยตัวของโจลีนั้นเมื่อทำการตรวจยีนส์เพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมนั้น ก็พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนส์ บีอาร์ซีเอ1 จึงทำการตัดเต้านมทิ้งตามที่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม การที่สมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว หรือหากเป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม ก็ไม่ได้หมายความว่าเกิดมาแล้วจะเป็นมะเร็งเลย เพียงแค่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไป หากรู้ได้ไวก็จะช่วยให้เฝ้าระวังได้มากขึ้น เร็วขึ้น เมื่อเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้นก็จะรักษาได้ดีกว่า
ผศ.นพ.มานพ กล่าวอีกว่า การจะมาตรวจยีนเหมือนกรณีของโจลีนั้น เราจะตรวจเมื่อสงสัยว่าเป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจริงๆ ซึ่งมีข้อสังเกตคือ มีสมาชิก 2 คนขึ้นไปในครอบครัวเป็นมะเร็งชนิดเดียวกันหรือมะเร็งที่เกี่ยวข้องกัน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ เป็นต้น เป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย เป็นมะเร็งหลายตำแหน่งในอวัยวะเดียวกัน หรืออวัยวะที่เป็นคู่ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและทำนายการเกิดมะเร็งในอนาคต ทั้งนี้ มะเร็งพันธุกรรมที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของบีอาร์ซีเอ1 คนไข้ส่วนใหญ่จะไม่รู้สาเหตุ แต่จากข้อมูลของต่างประเทศพบว่า คนทั่วไปประมาณ 1 ใน 500 มีการกลายพันธุ์ของยีนส์อยู่แล้ว ส่วนประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียมีการกลายพันธุ์น้อยกว่า อย่างในประเทศไทยพบว่า 4 ครอบครัว ใน 60 ครอบครัว จะมีการกลายพันธุ์ของบีอาร์ซีเอ1
“การผ่าเต้านมออกไปก่อนเกิดมะเร็งเต้านมแบบโจลีนั้น ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงได้ถึง 90% แต่ก็ยังอาจเกิดมะเร็งในเนื้อเยื่อเต้านมที่หลบซ่อนอยู่ใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อได้เช่นกัน แต่ในช่วงชีวิตอาจเกิดได้น้อยเพียง 5% เท่านั้น แต่การจะตัดเต้านมทิ้งหรือไม่อยู่ที่การตัดสินใจของเจ้าตัวหลังได้รับฟังการอธิบายจากแพทย์แล้ว เพราะการตัดเต้านมทิ้งอาจส่งผลกระทบตามมาในเรื่องของจิตใจ เช่น สูญเสียความมั่นใจในตัวเองหรือความเป็นผู้หญิงไป ทั้งนี้ หากพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมจริงการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง หากระยะเริ่มต้นอาจเลือกการผ่าตัดสงวนเต้าได้ ส่วนระยะลุกลามอาจต้องตัดทั้งหมด แต่หากตรวจไม่พบก็ควรตรวจคัดกรองตามปกติ” ผศ.นพ.มานพ กล่าว
ผศ.นพ.มานพ กล่าวด้วยว่า สำหรับมะเร็งเต้านมในผู้ชายนั้นเกิดขึ้นได้น้อยมากคือพบได้เพียง 1 ใน 10 ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมเท่านั้น ซึ่งถือว่าโชคร้ายกว่าเพราะมักจะเข้าใจว่าผู้ชายไม่เป็นทำให้โรคลุกลามได้ง่ายกว่าผู้หญิง อย่างไรก็ตาม ผู้ชายควรหมั่นตรวจคลำสัวเกตเต้านมตัวเองด้วย หากพบก้อนเนื้อก็ควรไปพบแพทย์
รศ.พญ.พรพิมพ์ กอแพร่พงศ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมนั้น หากตรวจคลำด้วยตัวเองแล้วพบก้อน ส่วนมากจะเป็นก้อนที่ใหญ่แล้วประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีโอกาสกระจายหรือผ่านเข้าไปยังเส้นเลือดหรือหลอดเลือดได้ การตรวจคัดกรองที่ดีคือการตรวจด้วยเครื่องมือที่มีความละเอียดสูง สามารถหาก้อนเจอตั้งแต่ยังมีขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ เมื่อทำการรักษาก็จะง่ายขึ้น ที่แนะนำคือควรตรวจด้วยแมมโมแกรมทุก 2 ปี อัลตราซาวนด์ ทุก 6 เดือน และตรวจเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ทุก 2 ปี สลับกันไป ซึ่งการตรวจด้วยแมมโมแกรมและ MRI นั้น ควรตรวจภายหลังมีประจำเดือน 10-20 วัน เพราะการตรวจระหว่างมีประจำเดือนอาจเกิดอาการเจ็บได้ และมีสิ่งรบกวนการอ่านภาพ
ผศ.พญ.สุวนิตย์ ธีระศักดิ์วิชยา ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า แม้จะตัดเต้านมออกไปเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม แต่โอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ก็ยังคงมีอยู่ ทั้งนี้ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองแล้วและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ รวมถึงมีประวัติในกลุ่มเสี่ยงก็แนะนำว่าสามารถตัดรังไข่ออกได้เลย แต่ถ้ายังไม่เข้าวัยทองอย่าง เช่น แองเจลินา โจลี จะต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะวัยทองก่อนวัย ซึ่งก่อนที่จะตัดสินใจตัดรังไข่ต้องประเมินก่อนว่า อยู่ในภาวะเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน โดยในคนที่มียีนส์บีอาร์ซีเอ1 และบีอาร์ซีเอ2 จะเสี่ยงมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่ยังไม่มีวิธีไหนที่ดีในระยะแรกเริ่ม จึงต้องคิดให้มากๆ ก่อนตัดรังไข่ เพราะแม้จะไม่เป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งท่อรังไข่ แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งชนิดอื่นในช่องท้องได้