ฮือฮา! รพ.มีขยะติดเชื้อต้องทิ้งมากถึง 42,000 ตันต่อปี ส่งให้เอกชนกำจัดเกินกว่าครึ่ง เลือกกำจัดใน รพ.เอง 30% พบปัญหาลักลอบทิ้งที่สาธารณะ กรมอนามัยเร่งทำระบบเอกสารกำกับทั้ง รพ.ผู้ขนส่ง และผู้กำจัด
นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ ส่วนหนึ่งเกิดจากเตาเผาขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลบางแห่งไม่สามารถใช้การได้ ขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง และค่าเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนเตาเผาขยะติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีเพียง 13 แห่ง ก็เป็นเตาแบบเก่า ไม่สามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพ ขณะที่เตาเผาขยะติดเชื้อขนาดใหญ่ของเอกชนมีเพียง 4 แห่ง ส่งผลให้โรงพยาบาลจำนวนกว่า 800 แห่ง ส่วนใหญ่ส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนนำไปกำจัดถึงร้อยละ 56 เผาด้วยเตาเผาในโรงพยาบาลเองร้อยละ 30 ส่งให้ อปท.กำจัดร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 6 ทั้งนี้ พบว่าโรงพยาบาลมีแนวโน้มส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนนำไปกำจัดมากขึ้น
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า จากการสำรวจปริมาณขยะติดเชื้อโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2555 พบว่า มีขยะติดเชื้อประมาณ 42,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นสถานบริการของรัฐ 28,000 ตัน และสถานบริการของเอกชน 14,000 ตัน ซึ่งหากกำจัดไม่ถูกวิธี หรือลักลอบนำไปทิ้งที่สาธารณะ จะแพร่กระจายเชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิ เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ โรคบิด บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ และโรคเอดส์ กรมอนามัยจึงเร่งแก้ไขเรื่องนี้ โดยจัดการประชุมท้องถิ่นเพื่อควบคุมกำกับปริมาณขยะติดเชื้อ และพัฒนาระบบเอกสารกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ ทั้งโรงพยาบาลผู้ขนส่งและผู้กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งเริ่มอย่างเป็นระบบตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังเสนอให้จัดการขยะติดเชื้อ โดยการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำด้วย
“การจัดการขยะติดเชื้อต้องมีการกำกับและตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การเก็บ ขน จนถึงขั้นตอนการทำลาย ณ สถานที่กำจัดทำลายที่ถูกวิธี ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้องมีใบอนุญาตรับทำการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งใบอนุญาตรับทำการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและรายงานการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาขยะติดเชื้อซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.ณรงค์ สายวงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อในที่สาธารณะ ส่วนหนึ่งเกิดจากเตาเผาขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลบางแห่งไม่สามารถใช้การได้ ขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง และค่าเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนเตาเผาขยะติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีเพียง 13 แห่ง ก็เป็นเตาแบบเก่า ไม่สามารถเดินระบบได้เต็มประสิทธิภาพ ขณะที่เตาเผาขยะติดเชื้อขนาดใหญ่ของเอกชนมีเพียง 4 แห่ง ส่งผลให้โรงพยาบาลจำนวนกว่า 800 แห่ง ส่วนใหญ่ส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนนำไปกำจัดถึงร้อยละ 56 เผาด้วยเตาเผาในโรงพยาบาลเองร้อยละ 30 ส่งให้ อปท.กำจัดร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 6 ทั้งนี้ พบว่าโรงพยาบาลมีแนวโน้มส่งขยะติดเชื้อให้บริษัทเอกชนนำไปกำจัดมากขึ้น
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า จากการสำรวจปริมาณขยะติดเชื้อโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในปี 2555 พบว่า มีขยะติดเชื้อประมาณ 42,000 ตันต่อปี แบ่งเป็นสถานบริการของรัฐ 28,000 ตัน และสถานบริการของเอกชน 14,000 ตัน ซึ่งหากกำจัดไม่ถูกวิธี หรือลักลอบนำไปทิ้งที่สาธารณะ จะแพร่กระจายเชื้อโรคและส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เช่น โรคท้องร่วง โรคพยาธิ เชื้ออหิวาตกโรค ไทฟอยด์ โรคบิด บาดทะยัก ไวรัสตับอักเสบ และโรคเอดส์ กรมอนามัยจึงเร่งแก้ไขเรื่องนี้ โดยจัดการประชุมท้องถิ่นเพื่อควบคุมกำกับปริมาณขยะติดเชื้อ และพัฒนาระบบเอกสารกำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ ทั้งโรงพยาบาลผู้ขนส่งและผู้กำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งเริ่มอย่างเป็นระบบตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังเสนอให้จัดการขยะติดเชื้อ โดยการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำด้วย
“การจัดการขยะติดเชื้อต้องมีการกำกับและตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การเก็บ ขน จนถึงขั้นตอนการทำลาย ณ สถานที่กำจัดทำลายที่ถูกวิธี ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้องมีใบอนุญาตรับทำการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ ใบอนุญาตประกอบการขนส่งใบอนุญาตรับทำการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและรายงานการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาขยะติดเชื้อซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว