เครือข่ายผู้ป่วยฯ ส่งหนังสือถึง “หมอชลน่าน” ทวงถามความคืบหน้า กม.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข หลังชวดเข้าประชุมสภาสมัย 1
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เปิดเผยถึงการเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ว่า เดิมทีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ควรจะเสนอให้ทันต่อการประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่ขณะนี้เวลาล่วงเลยมากว่า 1 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และไม่มีการเรียกประชุมอีก คงเหลือความหวังเดียวคือการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแก่การประชุมสภาสมัยที่สองในช่วงเดือน ธ.ค. 2556 ซึ่งตนยังไม่หมดหวัง เพราะ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เคยรับปากเดินหน้าเรื่องนี้
นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า จากความไม่คืบหน้า ตนจึงทำหนังสือส่งตรง นพ.ชลน่าน เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร เพราะผู้ป่วยทุกคนยังมีความหวัง เนื่องจากหากมีกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องเอาผิดแพทย์ ไม่ต้องตรวจสอบว่าใครถูกใครผิด แต่จะมีกองทุนมาช่วยเหลือผู้เสียหายได้อย่างทันท่วงที ลดความหวั่นวิตกทั้งของแพทย์และคนไข้ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ได้ไปรับฟังคำพิพากษากรณีญาติผู้เสียชีวิตฟ้องร้องดำเนินคดีโรงพยาบาลสังกัด กทม.แห่งหนึ่ง เนื่องจากบุตรสาวเสียชีวิตท้องกลม โดยทั้งแม่และเด็กเสียชีวิต ซึ่งทางโรงพยาบาลให้เหตุผลว่าครรภ์เป็นพิษ แต่เมื่อมีการชันสูตรพบว่า ฝ่ายมารดาเสียชีวิตเพราะตับแตก และเด็กเสียชีวิตเพราะความบกพร่องของรกเด็ก แต่ที่ผ่านมาญาติผู้เสียชีวิตไม่ได้ต้องการฟ้องร้องดำเนินคดีกับทางแพทย์หรือโรงพยาบาลแต่อย่างใด ในทางกลับกันทางโรงพยาบาลกลับไม่ยอมหันหน้าพูดคุยกัน จนนำไปสู่การฟ้องร้อง แต่สุดท้ายศาลยกฟ้องด้วยเหตุผลว่า ไม่มีการทำละเมิด ซึ่งเมื่อศาลพิจารณาเช่นนี้ก็ต้องรับฟัง แม้ญาติผู้เสียชีวิตจะรู้สึกเสียใจกับกรณีที่เกิดขึ้นก็ตาม
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เปิดเผยถึงการเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ว่า เดิมทีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ควรจะเสนอให้ทันต่อการประชุมสภาผู้แทนราษฎร แต่ขณะนี้เวลาล่วงเลยมากว่า 1 เดือนแล้ว ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ และไม่มีการเรียกประชุมอีก คงเหลือความหวังเดียวคือการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแก่การประชุมสภาสมัยที่สองในช่วงเดือน ธ.ค. 2556 ซึ่งตนยังไม่หมดหวัง เพราะ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เคยรับปากเดินหน้าเรื่องนี้
นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า จากความไม่คืบหน้า ตนจึงทำหนังสือส่งตรง นพ.ชลน่าน เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อสอบถามถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร เพราะผู้ป่วยทุกคนยังมีความหวัง เนื่องจากหากมีกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดปัญหาการฟ้องร้องได้ โดยไม่ต้องเอาผิดแพทย์ ไม่ต้องตรวจสอบว่าใครถูกใครผิด แต่จะมีกองทุนมาช่วยเหลือผู้เสียหายได้อย่างทันท่วงที ลดความหวั่นวิตกทั้งของแพทย์และคนไข้ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ได้ไปรับฟังคำพิพากษากรณีญาติผู้เสียชีวิตฟ้องร้องดำเนินคดีโรงพยาบาลสังกัด กทม.แห่งหนึ่ง เนื่องจากบุตรสาวเสียชีวิตท้องกลม โดยทั้งแม่และเด็กเสียชีวิต ซึ่งทางโรงพยาบาลให้เหตุผลว่าครรภ์เป็นพิษ แต่เมื่อมีการชันสูตรพบว่า ฝ่ายมารดาเสียชีวิตเพราะตับแตก และเด็กเสียชีวิตเพราะความบกพร่องของรกเด็ก แต่ที่ผ่านมาญาติผู้เสียชีวิตไม่ได้ต้องการฟ้องร้องดำเนินคดีกับทางแพทย์หรือโรงพยาบาลแต่อย่างใด ในทางกลับกันทางโรงพยาบาลกลับไม่ยอมหันหน้าพูดคุยกัน จนนำไปสู่การฟ้องร้อง แต่สุดท้ายศาลยกฟ้องด้วยเหตุผลว่า ไม่มีการทำละเมิด ซึ่งเมื่อศาลพิจารณาเช่นนี้ก็ต้องรับฟัง แม้ญาติผู้เสียชีวิตจะรู้สึกเสียใจกับกรณีที่เกิดขึ้นก็ตาม