ต่างด้าวยังเมินซื้อบัตรประกันสุขภาพจาก สธ.มีคนซื้อแค่ 1.8 หมื่นคน จาก 2 ล้านคน ตกขายออกแค่ 2% “หมอประดิษฐ” วอนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกระตุ้น หลังพบต่างด้าวเบ่งบานมีลูกหลานไร้สัญชาติแล้วเกือบ 5 แสนราย
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว ว่า สธ.ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวและครอบครัวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมกว่า 2 ล้านคน โดยการขายบัตรประกันสุขภาพ และตรวจสุขภาพ พบว่า จากการขายบัตรประกันสุขภาพรอบแรกในช่วง 15 ม.ค.-14 เม.ย.2556 มีต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพน้อยมากเพียง 18,413 คน หรือประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น จะต้องเร่งขอความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันกระตุ้นเรื่องนี้ หากต่างด้าวไม่เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล อาจเกิดปัญหาการป้องกันควบคุมโรคยากขึ้น และไม่สามารถวางแผนการคุมกำเนิดของต่างด้าวได้ เพราะจากข้อมูลในปี 2547-2552 พบว่า มีต่างด้าวตั้งครรภ์และคลอดบุตรในไทยปีละ 10,000-20,000 คน คาดว่าขณะนี้ไทยมีเด็กไร้สัญชาติราว 400,000-500,000 คนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการอุ้มแบกภาระค่ารักษาของโรงพยาบาลอีกด้วย
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า การขายบัตรประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม จะมีค่าตรวจร่างกาย ค่าประกันสุขภาพ และค่าส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่คุ้มครอง 3 เดือนระหว่างรอสิทธิประกันสังคม 2.กลุ่มนอกระบบประกันสังคม ได้แก่ แรงงานภาคเกษตร ประมง รับใช้ตามบ้านเรือน ครอบครัวของผู้ใช้แรงงาน จะมีค่าตรวจสุขภาพและต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพ และ 3.เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จะต้องซื้อในราคา 365 บาทต่อปี บัตรประกันสุขภาพนี้ จะทำให้ต่างด้าวได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่แตกต่างจากคนไทย ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐาน การส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ การวางแผนครอบครัว เมื่อป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามที่ประกันไว้จนหายขาด ซึ่งโรงพยาบาลในพื้นที่จะมีล่ามช่วยในการสื่อสารกับแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้ได้รับบริการอย่างสะดวกและใกล้ที่ทำงาน เมื่อบัตรหมดอายุสามารถซื้อต่อได้อีก และได้รับสิทธิทันที ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมถึงการปรับเพิ่มค่าประกันสุขภาพ เพื่อให้ครอบคลุมยาต้านไวรัสเอดส์ต่อไป
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว ว่า สธ.ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวและครอบครัวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมกว่า 2 ล้านคน โดยการขายบัตรประกันสุขภาพ และตรวจสุขภาพ พบว่า จากการขายบัตรประกันสุขภาพรอบแรกในช่วง 15 ม.ค.-14 เม.ย.2556 มีต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพน้อยมากเพียง 18,413 คน หรือประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น จะต้องเร่งขอความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันกระตุ้นเรื่องนี้ หากต่างด้าวไม่เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล อาจเกิดปัญหาการป้องกันควบคุมโรคยากขึ้น และไม่สามารถวางแผนการคุมกำเนิดของต่างด้าวได้ เพราะจากข้อมูลในปี 2547-2552 พบว่า มีต่างด้าวตั้งครรภ์และคลอดบุตรในไทยปีละ 10,000-20,000 คน คาดว่าขณะนี้ไทยมีเด็กไร้สัญชาติราว 400,000-500,000 คนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการอุ้มแบกภาระค่ารักษาของโรงพยาบาลอีกด้วย
ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า การขายบัตรประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม จะมีค่าตรวจร่างกาย ค่าประกันสุขภาพ และค่าส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่คุ้มครอง 3 เดือนระหว่างรอสิทธิประกันสังคม 2.กลุ่มนอกระบบประกันสังคม ได้แก่ แรงงานภาคเกษตร ประมง รับใช้ตามบ้านเรือน ครอบครัวของผู้ใช้แรงงาน จะมีค่าตรวจสุขภาพและต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพ และ 3.เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จะต้องซื้อในราคา 365 บาทต่อปี บัตรประกันสุขภาพนี้ จะทำให้ต่างด้าวได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่แตกต่างจากคนไทย ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐาน การส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ การวางแผนครอบครัว เมื่อป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามที่ประกันไว้จนหายขาด ซึ่งโรงพยาบาลในพื้นที่จะมีล่ามช่วยในการสื่อสารกับแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้ได้รับบริการอย่างสะดวกและใกล้ที่ทำงาน เมื่อบัตรหมดอายุสามารถซื้อต่อได้อีก และได้รับสิทธิทันที ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมถึงการปรับเพิ่มค่าประกันสุขภาพ เพื่อให้ครอบคลุมยาต้านไวรัสเอดส์ต่อไป