กรมควบคุมโรค เตือนระวังบริโภคเห็ดพิษถึงตาย ควรเลือกบริโภคเห็ดที่รู้จักและมั่นใจ หากลังเลสงสัยว่าเป็นเห็ดพิษควรงดการบริโภค ขณะนี้พบผู้ป่วยแล้ว 180 ราย แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต
วันนี้ (11 พ.ค.) นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะเข้าสู่ฤดูฝนมีฝนตกประปราย อากาศสลับร้อนสลับเย็น หากร่างกายปรับสภาพไม่ทันอาจทำให้ป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย ประชาชนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่าตากฝนควรมีร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัว และอากาศสลับร้อนสลับเย็น มีความชื้นนี้มักมีเห็ดตามธรรมชาติขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นโปรตีนที่ดีอย่างหนึ่ง แต่การบริโภคเห็ดตามธรรมชาติต้องระวังเห็ดที่เป็นพิษ รับประทานแล้วอาจเสียชีวิตได้
จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-25 เมษายน 2556 พบผู้ป่วยจากการบริโภคเห็ดพิษ 180 ราย จาก 32 จังหวัด แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต อาชีพที่ป่วยมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รองลงมาเป็นนักเรียน ส่วนภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ เชียงราย นครพนม ตาก จันทบุรีและภูเก็ต ตามลำดับ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการบริโภคเห็ดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนขอให้ผู้ปกครองแนะนำเด็กให้รู้ถึงความแตกต่างของเห็นที่รับประทานได้และเห็ดพิษ
ด้าน ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เดือนพฤษภาคมนี้ จะมีเห็ดป่าออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งเห็ดกินได้และเห็ดพิษ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้เก็บเห็ดป่าอาจไม่มีความรู้ดีพอที่จะแยกเห็ดกินได้และเห็ดพิษออกจากกัน ดังนั้นผู้บริโภคเห็ดควรต้องใช้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อ หากผู้บริโภคไปเก็บเห็ดมาบริโภคเอง ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อจะได้ไม่ไปเก็บเห็ดพิษมาบริโภค เห็ดพิษในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด ได้แก่ เห็ดระโงก เห็ดไข่ตายซาก เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดระโงกหิน เห็ดสมองวัว เห็ดรูประฆัง เห็ดเกล็ดดาว เห็ดขี้วัว เป็นต้น ซึ่งเห็ดพิษหลายชนิดจะคล้ายคลึงกับเห็ดที่รับประทานได้ดังนั้นจริง ขอแนะนำให้เลือกรับประทานเห็ดที่รู้จัก หากไม่แน่ใจ ลังเล สงสัยว่าจะเป็นเห็ดพิษขอให้งดการรับประทานเห็ดดังกล่าว เพราะยังไม่มีวิธีพิสูจน์ความเป็นพิษของเห็ดที่ได้ผลแม้นยำร้อยเปอร์เซ็นต์
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า หากพบผู้ป่วยรับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการป่วยขึ้น อาการของพิษ จะมีหลายอาการตามชนิดของเห็ดที่นำมารับประทาน เริ่มตั้งแต่มีอาการเมา ร่าเริง ประสาทหลอน เอะอะโวยวาย ชัก หมดสติ หรือ อาจมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย เป็นตะคริว เจ็บที่ท้อง บางรายรุนแรงจะพบตับถูกทำลาย คนป่วยจะมีไข้สูง ชัก ไม่รู้สึกตัว และอาจถึงตายภายใน 2-4 วัน หลังรับประทานเห็ดพิษ บางรายมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ใจสั่น หายใจหอบเหงื่อแตก เจ็บหน้าอก ชาตามตัว คลื่นเหียนอาเจียน ความดันสูง หรืออาจพบความดันต่ำก็ได้ ไม่ว่าจะมีอาการอย่างไร การปฐมพยาบาลที่สำคัญที่สุด คือ หากผู้ป่วยไม่หมดสติการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มากที่สุดและทำการดูดพิษโดยใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน(activated Charcoal) โดยดื่มแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาก่อน แล้วดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนอีกครั้ง การนำส่งพบแพทย์ต้องนำตัวอย่างเห็ดมาด้วย หรืออาหารที่เหลือ หากผู้ป่วยอาเจียนยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ และขอย้ำว่าหากไม่รู้จักเห็ดที่นำมารับประทานห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทร 1422
วันนี้ (11 พ.ค.) นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เปิดเผยว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะเข้าสู่ฤดูฝนมีฝนตกประปราย อากาศสลับร้อนสลับเย็น หากร่างกายปรับสภาพไม่ทันอาจทำให้ป่วยเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย ประชาชนควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่าตากฝนควรมีร่มหรือเสื้อกันฝนติดตัว และอากาศสลับร้อนสลับเย็น มีความชื้นนี้มักมีเห็ดตามธรรมชาติขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นโปรตีนที่ดีอย่างหนึ่ง แต่การบริโภคเห็ดตามธรรมชาติต้องระวังเห็ดที่เป็นพิษ รับประทานแล้วอาจเสียชีวิตได้
จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค ของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-25 เมษายน 2556 พบผู้ป่วยจากการบริโภคเห็ดพิษ 180 ราย จาก 32 จังหวัด แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต อาชีพที่ป่วยมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รองลงมาเป็นนักเรียน ส่วนภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 จังหวัดแรก ได้แก่ เชียงราย นครพนม ตาก จันทบุรีและภูเก็ต ตามลำดับ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการบริโภคเห็ดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนขอให้ผู้ปกครองแนะนำเด็กให้รู้ถึงความแตกต่างของเห็นที่รับประทานได้และเห็ดพิษ
ด้าน ดร.นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เดือนพฤษภาคมนี้ จะมีเห็ดป่าออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งเห็ดกินได้และเห็ดพิษ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้เก็บเห็ดป่าอาจไม่มีความรู้ดีพอที่จะแยกเห็ดกินได้และเห็ดพิษออกจากกัน ดังนั้นผู้บริโภคเห็ดควรต้องใช้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อ หากผู้บริโภคไปเก็บเห็ดมาบริโภคเอง ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อจะได้ไม่ไปเก็บเห็ดพิษมาบริโภค เห็ดพิษในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด ได้แก่ เห็ดระโงก เห็ดไข่ตายซาก เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดระโงกหิน เห็ดสมองวัว เห็ดรูประฆัง เห็ดเกล็ดดาว เห็ดขี้วัว เป็นต้น ซึ่งเห็ดพิษหลายชนิดจะคล้ายคลึงกับเห็ดที่รับประทานได้ดังนั้นจริง ขอแนะนำให้เลือกรับประทานเห็ดที่รู้จัก หากไม่แน่ใจ ลังเล สงสัยว่าจะเป็นเห็ดพิษขอให้งดการรับประทานเห็ดดังกล่าว เพราะยังไม่มีวิธีพิสูจน์ความเป็นพิษของเห็ดที่ได้ผลแม้นยำร้อยเปอร์เซ็นต์
อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า หากพบผู้ป่วยรับประทานเห็ดพิษและเกิดอาการป่วยขึ้น อาการของพิษ จะมีหลายอาการตามชนิดของเห็ดที่นำมารับประทาน เริ่มตั้งแต่มีอาการเมา ร่าเริง ประสาทหลอน เอะอะโวยวาย ชัก หมดสติ หรือ อาจมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย เป็นตะคริว เจ็บที่ท้อง บางรายรุนแรงจะพบตับถูกทำลาย คนป่วยจะมีไข้สูง ชัก ไม่รู้สึกตัว และอาจถึงตายภายใน 2-4 วัน หลังรับประทานเห็ดพิษ บางรายมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ใจสั่น หายใจหอบเหงื่อแตก เจ็บหน้าอก ชาตามตัว คลื่นเหียนอาเจียน ความดันสูง หรืออาจพบความดันต่ำก็ได้ ไม่ว่าจะมีอาการอย่างไร การปฐมพยาบาลที่สำคัญที่สุด คือ หากผู้ป่วยไม่หมดสติการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มากที่สุดและทำการดูดพิษโดยใช้น้ำอุ่นผสมผงถ่าน(activated Charcoal) โดยดื่มแก้วแรกให้ล้วงคอให้อาเจียนออกมาก่อน แล้วดื่มแก้วที่ 2 แล้วล้วงคอให้อาเจียนอีกครั้ง การนำส่งพบแพทย์ต้องนำตัวอย่างเห็ดมาด้วย หรืออาหารที่เหลือ หากผู้ป่วยอาเจียนยากให้ใช้เกลือแกง 3 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่นดื่ม จะทำให้อาเจียนง่ายขึ้น แต่วิธีนี้ห้ามใช้กับเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ และขอย้ำว่าหากไม่รู้จักเห็ดที่นำมารับประทานห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด หากมีข้อสงสัยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทร 1422