บางขุนเทียนโอดแบกรับน้ำเสียจาก กทม.แถมเจอปัญหากัดเซาะชายฝั่ง วอนหน่วยงานรัฐเร่งแก้ปัญหา หลังตกเป็นพื้นที่นอกสายตาของ กทม.มาตลอด เตรียมเสวนาแลกเปลี่ยนปัญหา 3 พ.ค.นี้
นายวรพล ดวงล้อมจันทร์ ผู้ประสานเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน เปิดเผยว่า ทะเลบางขุนเทียนมีชื่อเสียงเรื่องปูมากที่สุด ทั้งปูม้า ปูขาว ปูดำ และปูแสม เป็นชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์ แต่ทะเลบางขุนเทียนไม่ได้มีทะเลสวย น้ำใสเหมือนหาดอื่นๆ จึงทำให้ถูกละเลยจากภาครัฐให้กลายเป็นทะเลแห่งแรกที่รับน้ำเสียจากกรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียแล้วปล่อยลงทะเล แต่คนในพื้นที่ก็พยายามนำเสนอความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อประกาศให้สังคมภายนอกรู้ว่า บางขุนเทียนมีความสำคัญด้านแหล่งผลิตอาหารทะเลที่ขนส่งเข้ากรุงเทพฯได้ใกล้ที่สุด
“สิ่งที่ไม่ยุติธรรมสำหรับชุมชนคือ การตกเป็นพื้นที่ปล่อยน้ำเสีย การขาดการเหลียวแลในเรื่องการพัฒนาเส้นทางคมนาคม จะเข้าจะออกชายฝั่งใช้เวลานานกว่าครึ่งชั่วโมง บางครั้งคนสูงอายุป่วยก็เข้าออกลำบาก เพราะกว่าจะลงเรือ ขึ้นรถ สถานการณ์ยามคับขันก็ไม่สามารถออกเดินทางได้เร็ว ขณะที่ภัยจากภายนอก เช่น อุตสาหกรรมและระบบทุนที่พยายามแอบจับสัตว์น้ำ ด้วยเครื่องมือทันสมัยเข้ามาใกล้ชาวบางขุนเทียนมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรที่มีรายได้อย่างพอเพียงต้องสูญเสียอาชีพดั้งเดิม เพราะความไม่เข้มงวดของภาครัฐ ที่ไม่เคยมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยและไม่เคยใช้กฎหมายอย่างจริงจัง” นายวรพล กล่าว
น.ส.โสภิน จินดาโฉม ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้มีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเสียและกัดเซาะชายฝั่งทั้งหมด 6 ชุมชน เผชิญปัญหาน้ำเสีย การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาอุตสาหกรรมล่าสัตว์คุกคาม แม้ชาวบ้านร้องเรียนหน่วยงานหลายที่ก็ไม่เป็นผล คาดว่าจะมีการเสวนาแลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางแก้ไขกันอีกครั้งในวันที่ 3 พ.ค.นี้
นายวรพล ดวงล้อมจันทร์ ผู้ประสานเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน เปิดเผยว่า ทะเลบางขุนเทียนมีชื่อเสียงเรื่องปูมากที่สุด ทั้งปูม้า ปูขาว ปูดำ และปูแสม เป็นชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์ แต่ทะเลบางขุนเทียนไม่ได้มีทะเลสวย น้ำใสเหมือนหาดอื่นๆ จึงทำให้ถูกละเลยจากภาครัฐให้กลายเป็นทะเลแห่งแรกที่รับน้ำเสียจากกรุงเทพฯ และจังหวัดโดยรอบ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมและหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียแล้วปล่อยลงทะเล แต่คนในพื้นที่ก็พยายามนำเสนอความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อประกาศให้สังคมภายนอกรู้ว่า บางขุนเทียนมีความสำคัญด้านแหล่งผลิตอาหารทะเลที่ขนส่งเข้ากรุงเทพฯได้ใกล้ที่สุด
“สิ่งที่ไม่ยุติธรรมสำหรับชุมชนคือ การตกเป็นพื้นที่ปล่อยน้ำเสีย การขาดการเหลียวแลในเรื่องการพัฒนาเส้นทางคมนาคม จะเข้าจะออกชายฝั่งใช้เวลานานกว่าครึ่งชั่วโมง บางครั้งคนสูงอายุป่วยก็เข้าออกลำบาก เพราะกว่าจะลงเรือ ขึ้นรถ สถานการณ์ยามคับขันก็ไม่สามารถออกเดินทางได้เร็ว ขณะที่ภัยจากภายนอก เช่น อุตสาหกรรมและระบบทุนที่พยายามแอบจับสัตว์น้ำ ด้วยเครื่องมือทันสมัยเข้ามาใกล้ชาวบางขุนเทียนมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรที่มีรายได้อย่างพอเพียงต้องสูญเสียอาชีพดั้งเดิม เพราะความไม่เข้มงวดของภาครัฐ ที่ไม่เคยมีการดูแลเรื่องความปลอดภัยและไม่เคยใช้กฎหมายอย่างจริงจัง” นายวรพล กล่าว
น.ส.โสภิน จินดาโฉม ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้มีชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเสียและกัดเซาะชายฝั่งทั้งหมด 6 ชุมชน เผชิญปัญหาน้ำเสีย การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาอุตสาหกรรมล่าสัตว์คุกคาม แม้ชาวบ้านร้องเรียนหน่วยงานหลายที่ก็ไม่เป็นผล คาดว่าจะมีการเสวนาแลกเปลี่ยนปัญหาและแนวทางแก้ไขกันอีกครั้งในวันที่ 3 พ.ค.นี้