“สุขุมพันธุ์” ยันลดแน่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส 10 บาทตลอดสายในส่วนต่อขยายของกทม.ทั้งสายสีลม-สุขุมวิท ประเดิม 10 บาทแรกเหมาทุกสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง 17 พ.ค.นี้
วันนี้ (25 เม.ย.) เวลา 10:00 น. : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯกทม. นายมานิต เชอภิโชค รองปลัดกทม. และคณะลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษม ณ บริเวณสถานีบางหว้า (S12) บริเวณแยกถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนเพชรเกษม โดยมี นายธนา วิชัยสาร ผู้อำนวยการ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวบรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการ
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษมปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 2 สถานี คือ สถานีโพธิ์นิมิตร (S9) และสถานีตลาดพูล (S10) เมื่อเดือน ม.ค. และ ก.พ. 2556 ส่วน 2 สถานีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ได้แก่ สถานีวุฒากาศ (S11) และสถานีบางหว้า (S12) โดยงานโครงสร้างและสถาปัตยกรรมแล้วเสร็จประมาณ 68% และ 74% ตามลำดับ โดยรวมทั้งโครงการฯ มีความคืบหน้าทั้งหมดประมาณ 72% ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ของรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายช่วง ตากสิน - เพชรเกษมของกทม. นั้น กทม.ได้ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีทุกภาคส่วน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การก่อสร้างสถานีบางหว้า (S12) แล้วเสร็จล่าช้ากว่ากำหนดด้วยสาเหตุหลายประการ อาทิ สถานีบางหว้า (S12) และสถานีวุฒากาศ (S11) อยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทำให้ไม่สามารถทำการก่อสร้างได้ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ของรฟม. ที่ก่อสร้างทางวิ่งในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงสร้างหลังคาของสถานีบางหว้า (S12) จึงทำให้ต้องมีการปรับแบบใหม่เพื่อให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสามารถข้ามโครงสร้างหลังคาของสถานีบางหว้า (S12) ไปได้ รวมทั้งต้องทำการก่อสร้างแบบคู่ขนานกันไป ซึ่งกทม. ต้องให้การก่อสร้างทางวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงสร้างหลังคาของสถานีบางหว้า (S12) แล้วเสร็จก่อน เพื่อความปลอดภัยในการนำรถไฟฟ้าเข้ามาวิ่งทดสอบ โดยประสานให้ รฟม. เร่งรัดการก่อสร้างทางวิ่งในส่วนดังกล่าวให้แล้วเสร็จวันที่ 1 ส.ค. 2556 เพื่อให้พร้อมสำหรับการทดสอบเดินรถไฟฟ้าและสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในวันที่ 5 ธ.ค. 2556
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS เหลือ 10 บาท ในส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท อ่อนนุช-แบริ่ง จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 17 พ.ค. 2556 และส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษม จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2556 เป็นต้นไปพร้อมกับเปิดให้บริการประชาชนในส่วนต่อขยายสายสีลม 5.3 กิโลเมตร (ตากสิน-เพชรเกษม) ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2556 รวมทั้งการจัดโครงการเด็กยิ้มได้ หัวปลอดภัย ซึ่งกทม. จะแจกหมวกนิรภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก.จำนวน 120,450 ใบ ให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครรวม 437 แห่ง โดยแบ่งเป็นหมวกขนาดเล็ก 115,752 ใบ และหมวกขนาดผู้ใหญ่ 4,698 ใบ ซึ่งจะเริ่มส่งมอบให้โรงเรียนต่างๆ ได้ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. - 10 ม.ย. 2556 เช่นกัน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวบีทีเอสวขอขึ้นค่าโดยสารด้วยว่า กทม.สามารถกำหนดค่าโดยสารในระบบ BTS ได้เอง เฉพาะส่วนต่อขยายที่เป็นของกทม.ลงทุนเอง คือ ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีอ่อนนุช(E9) ถึงสถานีแบริ่ง(E14) และ ส่วนต่อขยายสายสีลม ตั้งแต่สถานีกรุงธนฯ(S7) ถึงสถานีบางหว้า(S12) ส่วนที่ BTS เตรียมปรับขึ้นราคาโดยสารเป็นสิทธิ์ของ BTS ที่จะขึ้นราคาค่าโดยสาร ซึ่งก่อนหน้านั้น กทม.เองได้ขอความร่วมมือมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามในอนาคตอีก 17 ปีข้างหน้า หลังหมดสัญญาสัมปทาน BTS จะตกเป็นทรัพย์สินของ กทม. ซึ่งจะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง ดังนั้นขอยืนยันว่าสิ่งที่กทม.ดำเนินการว่าจ้าง BTS เดินรถไฟฟ้า 30 ปี เป็นความถูกต้อง
วันนี้ (25 เม.ย.) เวลา 10:00 น. : ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วย นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯกทม. นายมานิต เชอภิโชค รองปลัดกทม. และคณะลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษม ณ บริเวณสถานีบางหว้า (S12) บริเวณแยกถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนเพชรเกษม โดยมี นายธนา วิชัยสาร ผู้อำนวยการ สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กล่าวบรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการ
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษมปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 2 สถานี คือ สถานีโพธิ์นิมิตร (S9) และสถานีตลาดพูล (S10) เมื่อเดือน ม.ค. และ ก.พ. 2556 ส่วน 2 สถานีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ได้แก่ สถานีวุฒากาศ (S11) และสถานีบางหว้า (S12) โดยงานโครงสร้างและสถาปัตยกรรมแล้วเสร็จประมาณ 68% และ 74% ตามลำดับ โดยรวมทั้งโครงการฯ มีความคืบหน้าทั้งหมดประมาณ 72% ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ของรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) ร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายช่วง ตากสิน - เพชรเกษมของกทม. นั้น กทม.ได้ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีทุกภาคส่วน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การก่อสร้างสถานีบางหว้า (S12) แล้วเสร็จล่าช้ากว่ากำหนดด้วยสาเหตุหลายประการ อาทิ สถานีบางหว้า (S12) และสถานีวุฒากาศ (S11) อยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2554 ทำให้ไม่สามารถทำการก่อสร้างได้ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ของรฟม. ที่ก่อสร้างทางวิ่งในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงสร้างหลังคาของสถานีบางหว้า (S12) จึงทำให้ต้องมีการปรับแบบใหม่เพื่อให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสามารถข้ามโครงสร้างหลังคาของสถานีบางหว้า (S12) ไปได้ รวมทั้งต้องทำการก่อสร้างแบบคู่ขนานกันไป ซึ่งกทม. ต้องให้การก่อสร้างทางวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในส่วนที่ซ้อนทับกับโครงสร้างหลังคาของสถานีบางหว้า (S12) แล้วเสร็จก่อน เพื่อความปลอดภัยในการนำรถไฟฟ้าเข้ามาวิ่งทดสอบ โดยประสานให้ รฟม. เร่งรัดการก่อสร้างทางวิ่งในส่วนดังกล่าวให้แล้วเสร็จวันที่ 1 ส.ค. 2556 เพื่อให้พร้อมสำหรับการทดสอบเดินรถไฟฟ้าและสามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในวันที่ 5 ธ.ค. 2556
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า ส่วนการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS เหลือ 10 บาท ในส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท อ่อนนุช-แบริ่ง จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 17 พ.ค. 2556 และส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงตากสิน-เพชรเกษม จะเริ่มเก็บค่าโดยสาร 10 บาท ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2556 เป็นต้นไปพร้อมกับเปิดให้บริการประชาชนในส่วนต่อขยายสายสีลม 5.3 กิโลเมตร (ตากสิน-เพชรเกษม) ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2556 รวมทั้งการจัดโครงการเด็กยิ้มได้ หัวปลอดภัย ซึ่งกทม. จะแจกหมวกนิรภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก.จำนวน 120,450 ใบ ให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครรวม 437 แห่ง โดยแบ่งเป็นหมวกขนาดเล็ก 115,752 ใบ และหมวกขนาดผู้ใหญ่ 4,698 ใบ ซึ่งจะเริ่มส่งมอบให้โรงเรียนต่างๆ ได้ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. - 10 ม.ย. 2556 เช่นกัน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวบีทีเอสวขอขึ้นค่าโดยสารด้วยว่า กทม.สามารถกำหนดค่าโดยสารในระบบ BTS ได้เอง เฉพาะส่วนต่อขยายที่เป็นของกทม.ลงทุนเอง คือ ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีอ่อนนุช(E9) ถึงสถานีแบริ่ง(E14) และ ส่วนต่อขยายสายสีลม ตั้งแต่สถานีกรุงธนฯ(S7) ถึงสถานีบางหว้า(S12) ส่วนที่ BTS เตรียมปรับขึ้นราคาโดยสารเป็นสิทธิ์ของ BTS ที่จะขึ้นราคาค่าโดยสาร ซึ่งก่อนหน้านั้น กทม.เองได้ขอความร่วมมือมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามในอนาคตอีก 17 ปีข้างหน้า หลังหมดสัญญาสัมปทาน BTS จะตกเป็นทรัพย์สินของ กทม. ซึ่งจะสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้เอง ดังนั้นขอยืนยันว่าสิ่งที่กทม.ดำเนินการว่าจ้าง BTS เดินรถไฟฟ้า 30 ปี เป็นความถูกต้อง