กมธ.หนุน “ธรรมศาสตร์” ออกนอกระบบ เล็งเปลี่ยนชื่อกลับไปคล้ายชื่อเดิมคือ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” ด้านอธิการบดี มธ.อ้างศิษย์เก่าเห็นด้วย การเปลี่ยนชื่อไม่มีผลกระทบต่อจิตวิญญาณคน มธ.เตรียมทำความเข้าใจกับประชาชน
วันนี้ (24 เม.ย.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... ซึ่งมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) เป็นประธาน ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยหาก มธ.จะออกนอกระบบ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ โดยเสนอให้เพิ่มคำว่า “การเมือง” เข้าไป เป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” ซึ่งเหมือนกับชื่อเดิมคือ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” ซึ่งเป็นชื่อที่ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ตั้ง เพียงแต่ตัดคำว่า “วิชา” ออก โดยให้เหตุผลว่าชื่อธรรมศาสตร์และการเมือง สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นคนธรรมศาสตร์ ที่มักจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ช่วยสังคมสะท้อนปัญหา และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขในเวลาที่เกิดสถานการณ์ต่างๆ
ศ.ดร.สมคิด กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2477 แต่หลังจากคณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490 เห็นว่า มธ.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไป จึงเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ดังปัจจุบัน ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า การตัดคำว่าการเมืองออกไม่มีผลกระทบ เพราะคนธรรมศาสตร์ยังคงมีบทบาทในเรื่องการเมืองอยู่เสมอ และที่ผ่านมาศิษย์เก่า มธ.หลายคนก็อยากให้กลับไปใช้ชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
“ตัวผมก็ลังเลใจบ้าง เพราะชื่อเดิมคือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้ใช้ชื่อนี้เป็นเวลา 18 ปี ขณะที่ชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ใช้มาถึงปีที่ 61 หากจะเปลี่ยนจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ชัดเจนถึงประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แต่ภาพรวมผมเห็นด้วยว่าควรเปลี่ยนไปใช้ชื่อเดิม เพราะเหมือนกับเป็นชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ และยังเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่แสดงถึงความเป็นคนธรรมศาสตร์ได้ชัดเจน ซึ่งศิษย์เก่า มธ.ส่วนใหญ่ก็อยากให้เปลี่ยน” อธิการบดี มธ.กล่าวและว่า นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยังมีข้อเสนอให้ใส่คำว่าประชาธิปไตยไว้ใน พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฉบับใหม่ด้วย เพราะ มธ.เกิดจากความเป็นประชาธิปไตย แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับเดิมไม่มีคำนี้ ดังนั้น เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของ มธ.ที่ประชุมคณะกรรมาธิการจึงเสนอว่าควรเพิ่มคำนี้เข้าไปด้วย
วันนี้ (24 เม.ย.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ... ซึ่งมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) เป็นประธาน ว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก โดยในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยหาก มธ.จะออกนอกระบบ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ โดยเสนอให้เพิ่มคำว่า “การเมือง” เข้าไป เป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง” ซึ่งเหมือนกับชื่อเดิมคือ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” ซึ่งเป็นชื่อที่ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ตั้ง เพียงแต่ตัดคำว่า “วิชา” ออก โดยให้เหตุผลว่าชื่อธรรมศาสตร์และการเมือง สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นคนธรรมศาสตร์ ที่มักจะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ช่วยสังคมสะท้อนปัญหา และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขในเวลาที่เกิดสถานการณ์ต่างๆ
ศ.ดร.สมคิด กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2477 แต่หลังจากคณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2490 เห็นว่า มธ.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไป จึงเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ดังปัจจุบัน ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า การตัดคำว่าการเมืองออกไม่มีผลกระทบ เพราะคนธรรมศาสตร์ยังคงมีบทบาทในเรื่องการเมืองอยู่เสมอ และที่ผ่านมาศิษย์เก่า มธ.หลายคนก็อยากให้กลับไปใช้ชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
“ตัวผมก็ลังเลใจบ้าง เพราะชื่อเดิมคือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้ใช้ชื่อนี้เป็นเวลา 18 ปี ขณะที่ชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ใช้มาถึงปีที่ 61 หากจะเปลี่ยนจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ชัดเจนถึงประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แต่ภาพรวมผมเห็นด้วยว่าควรเปลี่ยนไปใช้ชื่อเดิม เพราะเหมือนกับเป็นชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ และยังเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่แสดงถึงความเป็นคนธรรมศาสตร์ได้ชัดเจน ซึ่งศิษย์เก่า มธ.ส่วนใหญ่ก็อยากให้เปลี่ยน” อธิการบดี มธ.กล่าวและว่า นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยังมีข้อเสนอให้ใส่คำว่าประชาธิปไตยไว้ใน พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฉบับใหม่ด้วย เพราะ มธ.เกิดจากความเป็นประชาธิปไตย แต่ใน พ.ร.บ.ฉบับเดิมไม่มีคำนี้ ดังนั้น เพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของ มธ.ที่ประชุมคณะกรรมาธิการจึงเสนอว่าควรเพิ่มคำนี้เข้าไปด้วย