xs
xsm
sm
md
lg

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal Cancer)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


มะเร็งในลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ส่วนปลายของระบบทางเดินอาหาร พบมากเป็นอันดับสามของมะเร็งทุกชนิดและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
1. การได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องและทายาทสายตรง
2. มีประวัติพบเนื้องอก (Polyps) ในลำไส้ หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. ผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบเรื้อรัง
4. ประวัติการเจ็บป่วยเดิมเช่นเคยเป็นมะเร็งรังไข่, มดลูก, เต้านมมีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
5. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย
6. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
7. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
8. การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดงที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนานๆมากเกินไป
9. การรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและมีการตกค้างที่ลำไส้ มักพบสารพิษในอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง อาหารหมักดองสารเคมีจากผักที่ไม่สะอาด
10. ผู้ที่มีประวัติดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
11. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (มากกว่า 25 หรือมีรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)

อาการ
1. ท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกับท้องผูก
2. มีเลือดปนมาในอุจจาระ
3. มีเลือดออกทางทวารหนัก
4. อุจจาระมีขนาดเล็กหรือบางลง
5. อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อยๆ
6. ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
7. อาจคลำได้ก้อนในช่องท้องมักพบด้านขวาตอนล่าง
8. ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา

การตรวจหามะเร็งในระยะแรก
1. การตรวจหาเลือดในอุจจาระ 2 ครั้งต่อปี
2. การเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่โดยใส่แป้งเข้าทางทวารหนัก (Barium enema)
3. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT-Colonography)
4. การตรวจโดยการส่องกล้อง Singmoidscopy และ Colonoscopy
5. การตรวจเลือดดูระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง CEA

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
1. การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุด หลังจากแพทย์ได้พบว่า มีชิ้นเนื้อในลำไส้ใหญ่จากการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องทางทวารหนัก และมีความจำเป็นต้องผ่าตัด
2. การรักษาด้วยยาเคมี บำบัด (Chemotherapy)
3. การฉายแสง (รังสีรักษา)

การป้องกันการเกิดมะเร็ง
1. การค้นหามะเร็งควรเริ่มทำตั้งแต่อายุ 50 ปี ขึ้นไปในคนปกติ คนที่มีโอกาสเสี่ยงครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งควรทำการตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง

สรุป
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยการตรวจคัดกรองหรือระวังที่ดีและถูกต้องจะช่วยให้ตรวจพบรอบโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะแรกทำให้การรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นวิธีการตรวจที่ไวและจำเพาะที่สุด เป็นวิธีเดียวที่สามารถรักษาไปพร้อมๆกันได้

ข้อมูลโดย โรงพยาบาลธนบุรี
http://www.thonburihospital.com/2013/


(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)
กำลังโหลดความคิดเห็น