ผู้จัดการค่ายสร้างสุข ปั๊มหลักสูตรหลากหลายรูปแบบพัฒนาคนรุ่นใหม่รู้วิถีชุมชน
น.ส.วีรินทร์วดี สุนทรหงส์ ผู้จัดการโครงการค่ายอาสาพัฒนา สร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิโกมลคีมทอง กล่าวว่า จากการที่มูลนิธิฯและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำหลักสูตรงานค่ายอาสา มาแล้วจำนวน 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2549 ภายใต้ชื่อ ค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (ค่ายสร้างสุข) พบว่า โครงการได้สร้างเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจิตอาสาให้แก่สังคมเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมมากกว่า 100 โครงการ ทั้งในระยะสั้นและยาว มีประเด็นปัญหาที่ครอบคลุมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในระดับย่อยด้านสุขภาวะในชุมชน สิ่งแวดล้อม การรณรงค์ ด้านการศึกษาอย่างเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ปัญหา
คนไร้ถิ่นอาศัยในเมืองหลวง
การทำค่ายแบบครูโกมลฯ หลักคือต้องไม่ใช่ค่ายที่มีจุดมุ่งหมายที่การสร้างวัตถุ หรือมุ่งให้ชุมชนในลักษณะการอุปการะเพียงอย่างเดียว แต่ตัวเยาวชนเองต้องไปฝังตัวร่วมกับชุมชนก่อน เก็บข้อมูลสังเกตความเป็นไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เรียนรู้ข้อเท็จจริงก่อน ก่อนจะต้องมองโจทย์ให้ออกว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการนั้นคืออะไร มีกระบวนการใดที่จะคลี่คลายเรื่องเหล่านั้นได้บ้าง ซึ่งการออกค่ายจะไปหนุนเสริมในส่วนนั้น ส่วนแบบฝึกหัดของเยาวชนค่ายอาสาฯ ได้ฝึกให้กลุ่มเป้าหมาย ลงพื้นที่จริงก่อนเพื่อหาข้อมูลเบื้องต้น รู้เป้าหมาย วัตถุประสงค์ก่อนจะริเริ่มโครงการ พร้อมกับมีโจทย์ของตัวเองแล้วว่าจะทำอะไร ไปเพื่อใคร
“หลักสูตรที่เราได้จัดทำขึ้น ไม่มีสูตรตายตัว เช่น จะไปบอกว่าที่ใดต้องการแปลงเพาะเห็ดเพื่อความมั่นคงทางอาหาร หรือจะหาที่เก็บน้ำเพราะขาดแคลนเป็นประจำ ไปคิดแทนเช่นนั้นคงไม่ได้ ตัวอย่างบางกลุ่มเคยไปสร้างศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนทั้งที่เขาไม่ต้องการ ไม่นานมันก็ถูกทิ้งร้าง เป็นต้น ดังนั้นอย่าไปคิดแทน เรื่องเหล่านี้มันเริ่มจากข้อมูลจริงก่อน ไม่ใช่ทำตามใจ เมื่อชุมชนมองว่าสิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เขาต้องการ จะเกิดขั้นตอนของการพัฒนาต่อไปให้คงอยู่ สิ่งเหล่านี้มันอยู่ในชุมชนตลอดเราผ่านเข้าไปเพื่อเรียนรู้ในพื้นที่ ได้ร่วมมือกับชุมชน ถ่ายโอนความรู้ระหว่างกัน ทั้งความรู้ในระบบที่ร่ำเรียนมา หรือเรื่องวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ วิถีที่ยังคงนำพาชุมชนให้ดำรงอยู่ได้” น.ส.วีรินทร์วดี กล่าว
น.ส.วีรินทร์วดี สุนทรหงส์ ผู้จัดการโครงการค่ายอาสาพัฒนา สร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิโกมลคีมทอง กล่าวว่า จากการที่มูลนิธิฯและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำหลักสูตรงานค่ายอาสา มาแล้วจำนวน 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2549 ภายใต้ชื่อ ค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (ค่ายสร้างสุข) พบว่า โครงการได้สร้างเมล็ดพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กจิตอาสาให้แก่สังคมเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับสังคมมากกว่า 100 โครงการ ทั้งในระยะสั้นและยาว มีประเด็นปัญหาที่ครอบคลุมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในระดับย่อยด้านสุขภาวะในชุมชน สิ่งแวดล้อม การรณรงค์ ด้านการศึกษาอย่างเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ปัญหา
คนไร้ถิ่นอาศัยในเมืองหลวง
การทำค่ายแบบครูโกมลฯ หลักคือต้องไม่ใช่ค่ายที่มีจุดมุ่งหมายที่การสร้างวัตถุ หรือมุ่งให้ชุมชนในลักษณะการอุปการะเพียงอย่างเดียว แต่ตัวเยาวชนเองต้องไปฝังตัวร่วมกับชุมชนก่อน เก็บข้อมูลสังเกตความเป็นไปในสิ่งที่เกิดขึ้น เรียนรู้ข้อเท็จจริงก่อน ก่อนจะต้องมองโจทย์ให้ออกว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการนั้นคืออะไร มีกระบวนการใดที่จะคลี่คลายเรื่องเหล่านั้นได้บ้าง ซึ่งการออกค่ายจะไปหนุนเสริมในส่วนนั้น ส่วนแบบฝึกหัดของเยาวชนค่ายอาสาฯ ได้ฝึกให้กลุ่มเป้าหมาย ลงพื้นที่จริงก่อนเพื่อหาข้อมูลเบื้องต้น รู้เป้าหมาย วัตถุประสงค์ก่อนจะริเริ่มโครงการ พร้อมกับมีโจทย์ของตัวเองแล้วว่าจะทำอะไร ไปเพื่อใคร
“หลักสูตรที่เราได้จัดทำขึ้น ไม่มีสูตรตายตัว เช่น จะไปบอกว่าที่ใดต้องการแปลงเพาะเห็ดเพื่อความมั่นคงทางอาหาร หรือจะหาที่เก็บน้ำเพราะขาดแคลนเป็นประจำ ไปคิดแทนเช่นนั้นคงไม่ได้ ตัวอย่างบางกลุ่มเคยไปสร้างศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนทั้งที่เขาไม่ต้องการ ไม่นานมันก็ถูกทิ้งร้าง เป็นต้น ดังนั้นอย่าไปคิดแทน เรื่องเหล่านี้มันเริ่มจากข้อมูลจริงก่อน ไม่ใช่ทำตามใจ เมื่อชุมชนมองว่าสิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เขาต้องการ จะเกิดขั้นตอนของการพัฒนาต่อไปให้คงอยู่ สิ่งเหล่านี้มันอยู่ในชุมชนตลอดเราผ่านเข้าไปเพื่อเรียนรู้ในพื้นที่ ได้ร่วมมือกับชุมชน ถ่ายโอนความรู้ระหว่างกัน ทั้งความรู้ในระบบที่ร่ำเรียนมา หรือเรื่องวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ วิถีที่ยังคงนำพาชุมชนให้ดำรงอยู่ได้” น.ส.วีรินทร์วดี กล่าว